คุยกับคุณ มนตรี จันทวงศ์ เรื่องปัญหาการบริหารน้ำในเขื่อน

ขอ short note ไว้ที่นี่ครับ เคยคุยตั้งแต่ 15 พย 2554

ได้มีโอกาสนั่งเสวนาที่เชียงใหม่กับ คุณมนตรี จันทวงศ์ ซึ่งเป้นสมาชิกของมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ?ศึกษาเรื่องน้ำมานานหลายสิบปี?ต้องขอขอบคุณ @warong ที่ทำให้เกิดการเสวนาไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

สำหรับการคุยกันนั้นมี @booruball ซึ่งเป็นวิศวกรจาก กฟผ. อยู่ด้วย ในขณะที่คุณมนตรีเอง เคยทำกิจกรรมที่ตั้งคำถามต่อ กฟผ. ไปแล้วหลายครั้ง ทำให้การคุยกันได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ดี ส่วนคุณ @warong เองก็เคยไปฟังเสวนามาแล้ว เรามุ่งที่จะมองสาเหตของปัญหากันจริงๆโดยไม่ได้พยายามผลักความรับผิดชอบไปที่รัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง เพียงแต่ผมเองยังมีความรู้น้อยไปนิดทำให้การสนทนาอาจไม่ถึงกับดึงประโยชน์และข้อสรุปออกมาได้

http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n6_06112011_01

การบริหารน้ำในเขื่อนมีสองเรื่องใหญ่

– ระดับการเมือง
– การทำงานในระดับหน่วยงาน

ประเด็นการจัดการน้ำในเขื่อน

– ในความเป็นจริง ถ้ารักษาระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ให้ได้ในระดับน้ำตาย เขื่อนจะสามารถเก็บน้ำไว้ได้จนถึงสิ้นเดือน กันยายน น้ำจะเต็มพอดี และถ้ารวมทั้งหมด เขื่อนทั้งสองเขื่อนจะระบายน้ำแค่ 1000+ ล้าน ลบ.ม. เท่านั้นจะทำให้ความรุนแรงเบาลง แต่ปีนี้ (2011) ปล่อยถึง 5000 ล้าน (ครึ่งหนึ่งของน้ำทุ่ง) ซึ่งทำให้สถานการแย่ลงอย่างที่ทราบกันดี

– แล้วทำไม เขื่อนถึงเก็บน้ำไว้ไม่ปล่อย?

1. การพยากรณ์อากาศโดยกรมอุตุนิยมวิทยามีการบอกว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเจอพายุเพียง 1 ลูก (จากเดิมที่เฉลี่ย 3 ลูก) และการพยากรณ์ไม่ได้ระบุเป็น range ซึี่งก็คือไม่มี worst case สรุปคือการพยากรณ์ผิดพลาดจริง

กรมอุตุพยากรณ์ > ส่วนอุทกวิทยา(ภายใต้กรมชล) เป็นปริมาณน้ำ > กรมชลแปลเป็นน้ำท่า

ชุดคำอธิบายที่ขัดแย้ง คือน้ำเต็มเขื่อนอยู่แล้วแต่กลับปล่อยไม่ได้ในช่วงเดือน มิย.เป็นต้นไป ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการล่วงหน้าเดือนต่อเดือน

ในเดือนสิงหาคม มีสัญญาณแล้วว่าจะเกิดวิกฤต แต่ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่มีใครพูดถึง ส่วนบริษัท TEAM พูดได้เพราะมีคนศึกษามานานแล้ว ตั้งแต่เรื่อง Jaika ส่วนวิธีการบริหารจัดการ คือบางไทรต้องมีน้ำ 3200-3500 ผ่านมาเท่านั้น และปีนี้คันกั้นน้ำขาดเยอะมาก คุมไม่ได้ เช่นประตูน้ำบางโฉมศรีไม่แน่ใจว่าคันเก่า พัง หรือมีคนเจาะซึ่งเป็นเรื่องการเมือง

2. เราไม่เคยมีการจัดการน้ำในสภาวะวิกฤติ ทั้งที่ผลการพยากรณ์พายุน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทุกปีทางคณะกรรมก็ควรมีการเตรียมแผนรองรับอย่างน้อยคือในกรณีพายุมาในค่าเฉลี่ย 3 ลูกต่อปี ในความเป็นจริงแล้วคนจากกรมชลฯ นั้นทราบเรื่องน้ำทีมามากกว่าแผนในช่วงเดือนมิย.แล้วอย่างแน่นอน แต่ไม่มีมาตรการในการผลักดันการดำเนินการ แน่นอนมีประชาชนบางคนก็ทราบเรื่องนี้แล้วด้วยเช่นกัน แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ และนอกจากนี้ยังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลพอดีด้วย

คุณมนตรีบอกว่า ขณะนี้เราไม่มีระบบมอนิเตอร์น้ำในเขื่อนแบบวันต่อวันถึงแม้จะไม่ผลัดรัฐบาลแต่ยังมีการบริหารแยกส่วน ปัญหาก็ยังเป็นเหมือนกัน

-ถ้าไม่มีเขื่อน น้ำจะไม่ท่วม?

ประโยคข้างต้นผิดตรรกะ เพราะเรามีเขื่อนไปแล้ว จึงต้องมองภายใต้กรอบของการมีเขื่อน

ว่าแต่เขื่อนเป็นหนึ่งในสาเหตของน้ำท่วมด้วยหรือไม่?

เขื่อนในประเทศไทย มีจุดประสงค์ในการสร้างขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ดังนั้นคือไม่สามารถทำหน้าที่บัฟเฟอร์น้ำได้เต็มที่ เพราะเขื่อนมีระดับ “น้ำตาย” ซึ่งคือระดับน้ำที่ไม่สามารถปล่อยให้ต่ำกว่านี้ได้อีกแล้วเนื่องจากท่อสำหรับนำน้าออกมาผลิตกระแสไฟฟ้าต้องอยู่ในระดับสูงพอสมควรเพื่อเพิ่มความเร็วในการตกกระทบใบพัดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยระดับท่อส่งน้ำเข้าผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ระดับน้ำตายของเขื่อนภูมิพล 3800 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนสิริกิติ์ประมาณ 6000 ล้าน ลบ.ม. ดังนั้นถ้าจะบอกว่าเขื่อนไม่ได้สร้างมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมก็ยังพอพูดได้ และเขื่อนมีส่วนทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น

– วาทกรรมน้ำท่วม ยังพ่ายแพ้วาทกรรมความมั่นคงทางพลังงานอยู่

ถ้าถึงฤดูแล้ง แล้วเราสามารถเก็บน้ำรวมกันสองเขื่อนแค่ 7-8000 ปัญหาน้ำเต็มเขื่อนจนต้องปล่อยจะน้อยลงมาก หรืออาจจะไม่มีปัญหาจากปริมาณน้ำจากเขื่อนเลย แต่เราก็ไม่ทำอย่างนั้นเพราะจะมีความเสี่ยงทางความมั่นคงทางพลังงาน สำหรับวาทกรรมความมั่นคงทางพลังงานคือ กฟผ. ยืนยันว่า ยังไม่เคยเกิด Blackout ในประเทศไทยเลย (ในขณะที่ผมเคยไป ภูฎาน ไฟดับทุกวัน วันละประมาณสอง-สามครั้งครับ)

สำหรับเหตผลของ กฟผ.จะบอกว่า แม้เขื่อนจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงเล้กน้อย แต่น้ำจากเขื่อนใช้สำหรับรับ peak ของกระแสไฟฟ้าที่มาทุกวันอยู่แล้ว

แต่คุณมนตรีตั้งคำถามคือ กฟผ ซื้อไฟฟ้าจากเอกชนคือการซื้อ”ความพร้อมจ่าย”ในช่วง peak ได้อยู่แล้วหรือไม่? ความจริง กฟผ. ต้องการประหยัดต้นทุนจึงเลือกใช้เขื่อนหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้การจ่ายไฟตามปริมาณที่ใช้จริงนั้นข้อมูลยังเป็นความลับอยู่ ทำให้ไม่รู้ว่าการซื้อไฟเอกชนครอบคลุม peak หรือไม่ ดังนั้นคำอธิบายตรงนี้จรึงไม่มี คุณมนตรีจึงแนะนำว่า กฟผ. น่าจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นที่ว่าปัญหาของเรื่องข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆในประเทศไทย ถูกผูกขาดโดยผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง

กลุ่มผู้ที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วม

มีข้อเสนอมานานแล้วการบริหารในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาต้องมีองค์กรใหม่ โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานเหล่านี้ และต้วแทนประชาชนจากบล็อกเก็บน้ำ ต้องศึกษาความเป็นธรรมของการ
จัดการและการชดเชย ดูพื้นที่ลุ่มน้ำถึงเขื่อน และเปิดเผยข้อมูลออกมา

  • ผังเมือง
  • กทม.
  • จังหวัด
  • คมนาคม
  • กรมชลประทาน

ดูประเทศเนเธอแลนด์ซึ่งเป็นแม่แบบการอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล องค์กรน้ำนั้นอยู่พ้นอำนาจการเมือง

ปัญหาของ กทม.

คำถาม: ทำไมระบบระบายน้ำไม่ทำงาน คือไม่ปล่อยน้ำให้ถึงจุดระบายน้ำตั้งแต่ยังระบายได้

คำตอบคือ กทม ไม่ดึงน้ำ แต่ใช้ยุทธศาสตร์รอน้ำ และไม่เคยเปลี่ยนเลย เป็นเรื่องทางการเมืองมากเพราะ กทม กับรัฐบาลนั้นมาจากคนละพรรค ความจริงข้อเสนอระบบระบายน้ำร่วมกันมีการพูดตั้งแต่ 2540 ดังนั้นปัญหานี้มาจากปัญหาการเป็นเอกเทศของ กทม.

โจทย์กิติรัตน์่เหมือนเดิมคือ กทม นิคม ต้องไม่ท่วม และอนาคตเราจะเห็นเขื่อนกับโครงการผันน้ำเต็มไปหมดซึ่งการลงทุนใหญ่แก้ปัญหาได้แต่อาจมีปัญหาอื่นๆตามมา

ความจริงโจทย์เหมือนเดิม ทุกคนน่าจะได้ร่วมกันตอบมากกว่าที่จะให้ใครคนใดคนหนึ่งหรือ กทม. ตอบ