เสวนา Introduction to facebook ที่คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตร

หลังจากที่วิศวกรอย่างผมไปพรีเซ้นท์ที่คณะนิเทศศาสตร์,อักษรศาสตร์ มาแล้ว คราวนี้ถึงคิวของคณะสังคมศาสตร์ด้วยครับ คราวหน้าหวังว่าจะเป็นคณะนิติศาสตร์นะครับ 🙂

บรรยากาศการเสวนา มีนิสิตที่เรียนจิตวิทยาเข้าฟังเยอะมาก
บรรยากาศการเสวนา มีนิสิตที่เรียนจิตวิทยาเข้าฟังเยอะมาก
กำลังเสวนา facebook ภาพโดย @bitterissweet
กำลังเสวนา facebook ภาพโดย @bitterissweet
ถ่ายกับวิทยากรอีกสองท่าน อาจารย์และนิสิตเกษตร
ถ่ายกับวิทยากรอีกสองท่าน อาจารย์และนิสิตเกษตร

เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากผู้เสวนา ซึ่งเป็นคุณหมอ ( นพ.กัมปนาท ซึ่งเป็นวิทยากรบ่อยตามสื่อต่างๆและวิทยุ ) และน้องภูมิซึ่งอยู่ปีสี่คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ และผมซึ่งเป็นคนทำงานครับ โดยผมเองเสนอตัวในการเสวนาแบบมอง Social Tools แบบ Positive ในขณะที่อีกสองท่านจะมองแบบ Privacy และ Negative อยู่บ้าง

ทุกคนมักจะมีจุดเริ่มต้นการเล่น facebook ที่ต่างกัน คนที่เล่นเมื่อปีสองปีที่ผ่านมาบางคนเล่นเพราะเพื่อนกดดัน บางคนเล่นเพราะการเมือง ( คนไทยเล่น facebook สูงขึ้นถึง 320% ในรอบปีที่ผ่านมา ) ส่วนผมเองเล่นด้วยโมเดลเดียวกับที่ facebook เกิดตอนแรกเลย นั่นคือเล่นเพราะอยากเป็นเพื่อนกับกลุ่มนักร้อง LOVEiS ที่ผมไป backup มาครับ นักร้องที่พี่บอยได้ชักชวนมาเหล่านี้มักฐานะดีและจบนอกเลยมีกลุ่มสังคม facebook อยู่แล้วครับ พูดง่ายๆคือผมเล่นเพราะอยากร่วมสังคมไฮโซนั่นเอง 😛 และแนวทางนี้ก็มาเปลี่ยนไปตอนที่ facebook ได้เปิดตัวเองออกสู่โลกภายนอก

การเสวนาค่อนข้างสนุกดีโดยที่ผมเห็นเป็นประเด็นคือ คุณหมออธิบายว่า Social Network อาจทำให้คนสำคัญตัวเองผิดในแง่การได้รับการยกย่องในสังคมที่ตนเองกำหนดเอง และสิ่งเหล่านั้นเป็นภาพลวงตาที่ไม่เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง และด้านจิตวิทยาการติดพัน Facebook ในขณะที่คุณภูมินั้นทดลองไม่เล่น facebook และพบสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยนกัน แต่ก็พบว่าชีวิตยังดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติดี ในขณะที่ทั้งคุณหมอ คุณภูมิ และผม เห็นตรงกัน (นอกรอบ) อย่างน่าประหลาดว่า manager.co.th คือเจ้าพ่อแห่ง Social Media ยุคแรกๆของไทย

สิ่งที่ผมสรุปแก่น้องๆคือ เราต้องรู้ว่า value ของคนเราในแต่ละช่วงอายุนั้นไม่เหมือนกัน ในสมัยเรียนเราอาจต้องการเพื่อนและสังคมแต่ไม่ได้ต้องการเป็นผู้มีอิทธิพลใดๆ พอเริ่มทำงานก็ต้องการสังคมอีกแบบ พอกลายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้บริหารก็ต้องการสังคมอีกแบบ การทำงานต่างสายอาชีพก็มีสังคมคนละแบบ ดังนั้นการนำผู้ที่มีความต้องการต่างกัน (โดยมากวิทยากรมักอาวุโส ) มาให้คำแนะนำเด็กในเรื่องการใช้สังคมออนไลน์จึงมักทำให้เกิดการไม่ match value ของช่องว่างระหว่างวัยวุฒิและคุณวุฒิ อย่างไรก็ตามผมเองก็อยากให้นิสิตนักศึกษาและคุณครูตั้งคำถามว่าชีวิตเราในปัจจุบันต้องการอะไร และสิ่งที่เราใช้เวลากับมัน ตอบสนองตรงนั้นด้วยคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่เพียงพอหรือมากเกินไปหรือไม่ ?

โครงการเสวนา เรื่อง ?FB 101 (Introduction to Facebook) : อย่างนี้ต้องกด Like!?

วันพุธที่ 12 มกราคม 2554 เวลา 13.00 น.?16.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร 3 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยากรมีทั้งหมด 3 ท่าน
1. นายแพทย์ กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์อิสระประจำโรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลมนารมย์
2. คุณพัชร เกิดศิริ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดออนไลน์ บริษัทไทเกอร์ไอเดีย
3. คุณ ภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยงานวิจัยในเรื่องเกี่ยวกับสื่อออนไลน์