สังคมในอนาคตไม่สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ

สังคมต้องการคนรู้ลึก หรือต้องการคนตื้นเขินกันแน่ ?

บังเอิญเห็นลิงก์จาก twitter อันนี้ครับ เป็นสิ่งที่นักวิจัยต้องดิ้นรนในประเทศที่ไม่สนใจความรู้กันแล้ว น่าเศร้าเหมือนกัน
http://rescom.trf.or.th/display/show_colum_print.php?id_colum=760

วันก่อนไปคุยๆเสวนาจิปาถะที่ SIU ครับ พอถึงเรื่องนักวิชาการและนักปรัชญาส่วนใหญ่เราจะอ้างคนในอดีตทั้งสิ้น พอผมป้อนคำถามว่า ในปัจจุบันเราชื่นชอบใครในฐานะนักวิชาการรุ่นใหม่บ้าง ปรากฏว่าตอบได้น้อยมากครับ ผมเองก็ยังนึกได้ไม่กี่คน ( ถ้าเป็นนักวิชาการการเมืองบางคนนึกถึงคุณ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ หรือแม้แต่ คุณกล้า สมุทวณิช ที่ใช้นามปากกา บุญชิต ฟักมี ใน facebook ด้วยซ้ำ?? )

พอย้อนมาดูถึงการหาข้อมูลในปัจจุบัน ตอนนี้ถ้าเราต้องการข้อมูลอ้างอิงนั้น แน่นอนว่าแหล่งแรกๆคือการเซิร์ท wikipedia นั่นเอง ดังนั้นการฟังและ “รับข้อมูลไหลไปตามนักวิชาการ” ที่เราชื่นชมในสมัยก่อน ซึ่งเค้าสามารถจำข้อมูลได้ลึกซึ้งนั้นอาจทำได้ยากในยุคนี้ นั่นเป็นเพราะนักวิชาการคนนั้น พูดไม่กี่ประโยคเมื่อต้องการการอ้างอิง คนธรรมดาก็สามารถหามาได้อย่างง่ายดายนั่นเอง ทำให้ element ของนักวิชาการต่างๆนั้นถูกแยกย่อยลงอย่างมาก

นอกจากนี้ กิจกรรมที่เยอะแยะมากมายในปัจจบัน ยังทำให้คนที่รู้ลึกในเรื่องไม่กี่เรื่องในสมัยก่อนนั้น ไม่ค่อยได้รับการยอมรับมากเมื่อเทียบกับคนที่รู้หลากหลายเรื่อง พูดอย่างเป็นรูปธรรมคือ คนที่รู้หลากหลายแต่ตื้นเขินนั้นจะมีสภาพสังคมที่กว้างกว่าคนที่รู้ลึกในปัจจุบัน ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นเรื่องดนตรีครับ คนทั่วไปไม่ได้รู้จักนักดนตรีที่เก่งระดับปรมาจารณ์เหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว แต่เรารู้จักนักดนตรีที่เคยออกทีวีและเล่นเพลงได้เพราะ+บุคลิกดีกันมากกว่า และคนที่รู้ลึกจริงๆถ้าดูง่ายๆใน twitter นั้นจะมี follower น้อยเพราะคนไม่ค่อยรู้จักครับ ผิดกับคนที่รู้ผิวเผินแต่มีเวลาเล่น ( ผมก็คนหนึ่งล่ะ ผิวเผินหลายเรื่อง 😛 )

แม้แต่สภาพแวดล้อมเองก็ยังสนับสนุนให้คนรู้ไม่ลึกด้วยเช่นกัน วัฒนธรรม”แดกด่วน”นั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน การถ่ายรูปเป็นศิลปที่เข้าถึงได้ง่ายที่สุดโดยไม่ต้องฝึกฝนมากมายเมื่อมีกล้องดิจิตอล ถ้าคุณถ่ายรูปไม่เก่ง แต่ถ่ายไปสักหมื่นรูป คุณอาจมีภาพที่สวยศิลประดับช่างภาพชื่อดังๆในอดีตได้เช่นกัน มีปลั๊กอินที่ทำให้สวยแบบด่วนๆมากมายใน iPhone หรือแม้แต่การประกวดดนตรีในขณะนี้ยังมี “Airband” นั่นคือการ ทำท่าเล่นดนตรีประกอบเพลง โดยไม่ต้องเล่นดนตรีจริง ไม่ต้องฝึกและใช้ทักษะทางดนตรี เพียงใช้ท่าทางการแสดงเท่านั้นครับ

ผมเองอยากให้พวกเรากลับมาค้นหาผู้ที่รู้ลึกและให้ความสำคัญกับพวกเขากันอีกครั้ง สังคมที่มีแต่สิ่งฉาบฉวยนั้นอาจเป็นสิ่งรุ่งเรื่องในระยะเวลาไม่นานก่อนที่จะเสียสมดุลไป

เรื่องน่าสนใจ
โศกนาฏกรรมของ Geek และจุดจบของสาวก