ยุคสมัยแห่งการลงมือปฎิบัติ มาถึงแล้ว

ช่วงนี้มีกิจกรรม หลายอย่างที่ชาว Online ได้จัดขึ้นมา เพราะว่าการรวมพลัง Online นั้นทำได้ไม่ยากครับ เพียงมีความคิดดีๆ รวบรวมกลุ่มก้อนขึ้นมาและทำงาน ส่วนตัวผมคิดว่าเราหมดยุคกับการ”ด่า”เพียงอย่างเดียวแล้ว เพราะถ้าคุณเห็นว่าอะไรไม่ดี แค่ลุกขึ้นมาหาพวกแล้วทำให้เกิดขึ้นจริงก็เป็นไปได้ไม่ยาก เพราะ Social Media นั้นมีแนวโน้มที่จะสนใจหรือ “Like” สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นอยู่แล้วจึงเป็นแรงดึงดูดให้ทำได้ง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

…ในสังคมของปุถุชน ความไม่เข้าใจผู้อื่นหรือไม่อยากเข้าใจผู้อื่นมันช่วยผลิตอาหารป้อนอัตตา เพราะมันเปิดโอกาสให้เราได้ด่าทอคนตามใจชอบ เพราะฉะนั้นเมื่อสังคมมีจริตในความคิดเชิงลบ มีจริตในเรื่องที่จะด่าทอ การด่าผู้อื่นเพื่อให้ตนเองรู้สึกสูงส่งจึงเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นอาหารป้อนอัตตา ซึ่งก็เหมือนอาหารทางกายคือต้องกินเป็นประจำ

ตราบใดที่คนเรายังไม่หลุดพ้น จากวงวัฏแบบนั้น มันก็จำเป็นต้องหาคนชั่วมาให้ตนเองประณาม เมื่อประณามเสร็จแล้วก็รู้สึกดี หนึ่ง รู้สึกว่าตนเองสูงส่ง สอง รู้สึกตนเองไม่ต้องแก้ไขตัวเองเพราะมีคนชั่วกว่าตนเองเยอะแยะ อันนี้เป็นจริตของมนุษย์จำนวนมาก

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จาก ฟังเสียงอาตมาและฆราวาส แนะนำโดย @warong

Social Acitivity ต่างคน ต่างทำ ขอให้ทำ
Social Acitivity ต่างคน ต่างทำ ขอให้ทำ

ผมเองอยู่ในธุรกิจ IT ก็คิดว่าโลกมาถึงยุค Open Source และเราเองก็สามารถที่จะ “Open Source ความดี” ออกไปเพื่อต่อยอดกันได้ง่ายๆ ( ถ้าสำเร็จก้าวต่อไปคือพิจารณาเรื่อง ติดดี 😛 )

แนวความคิดของผมซึ่งคิดว่าน่าจะใกล้เคียงกับคุณ MK ( แต่อาจจะไม่ได้ลงลึกขนาดบทความนี้ ) นั่นคือ เราควรจะจับกลุ่มกันตามแนวคิดหรือกิจกรรมที่คล้ายๆกันขึ้นมา จากนั้นรวมกลุ่มเป็นทางการ มีการคิดวิสัยทัศน์ แผนดำเนินงานขึ้นมา หรืออาจมีเหรัญญิกก็ได้ มีการทำให้กลุ่มสามารถ Survive ได้จนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์

แน่นอนครับว่าแต่ละคนนั้นมี”ต้นทุนทางสังคม”ที่ต่างกัน บางคนช่วยมาก บางคนช่วยน้อย บางคนช่วยคอมเม้นท์อย่างสร้างสรรค์ บางคนสร้างภาพ(แต่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนนะ) บางคนปิดทองหลังพระ บางคนได้ผลประโยชน์ บางคนช่วยด้านจิตใจ บางคนได้ทางด้านรูปธรรม ซึ่งทุกคนทำงานของตนเองไปไม่เป็นไร เพียงจับกลุ่มกัน และเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มกันได้ ผมเชื่อว่าประเทศน่าจะดีขึ้นทั้งในความเป็นจริงและอย่างน้อยถ้าไม่สำเร็จเราก็ยังเรียนรู้ภาคปฎิบัติทางสังคม อันเป็นโมเดลย่อยๆถึงการต่อยอดเรียนรู้โมเดลระดับประเทศได้ ( ผมได้สรุปแนวคิดไว้ใน youtube ที่พูดในงาน #twt4th )

และเมื่อนั้น คำถามโลกแตกเช่น “ทำไมรัฐฯทำงานช้า” “ทำไมตำรวจถึงเป็นอย่างงี้” “ทำไมถึงตัดต้นไม้เขาใหญ่” “ทำไมเอกชนถึงพยายามแย่งสัมปทาน” “ทำไมทำอะไรต้องมีผลประโยชน์ทับซ้อน” “ทำไมคอรับชั่นกันเยอะ” “ทำไมนักการเมืองถึงเป็นอย่างงี้” “ทำไมถึงปล่อยปละละเลย….” ฯลฯ จะได้ข้อสรุปและพบคำตอบในทุกข้อ ซึ่งคำตอบนั้นก็คือ เป็นเพราะตัวเราเป็นแบบนี้แต่เราดันไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (แต่มัวเรียกร้องให้คนอื่นเปลี่ยน) นั่นเองครับ


Social Media มีแนวโน้มชื่นชอบในสิ่งที่กลุ่มของเราทำเพื่อสังคม

กลุ่มที่จะสร้างสรรค์นั้นสามารถทำได้หลากหลายมาก เช่นกลุ่มชอบขี่จักรยานก็สามารถที่จะมีกิจกรรมพัฒนาเพื่อกรุงเทพฯได้ กลุ่มชอบออกค่าย ตจว. ด้วยพลังของ Social Media นั้นจะช่วยค้นหาความเป็นอยู่ที่แท้จริงของสังคมชนบท แม้แต่ “กลุ่มคิดลบ” ผมเชื่อว่าถ้าได้รวมกลุ่มจริงๆ มีการจัดกิจกรรม มันจะออกมาสร้างสรรค์ได้อย่างแตกต่างเช่นเดียวกันครับ ไม่เช่นนั้นกลุ่มจะไม่สามารถทำงานไปได้ในระยะยาวเพราะไม่มีเหตผลสนับสนุนเพียงพอ

ยุคสมัยแห่งการลงมือปฎิบัติมาถึงแล้ว คุณล่ะมีกลุ่มหรือยัง ?

กลยุทธ์นั้นสำคัญน้อยกว่าการลงมือปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม : Tom Peters

ตัวอย่างกลุ่มที่มีในปัจจุบัน

ใครมีกลุ่มไหนอีก แจ้งผมได้นะครับ
Ignite Thailand++ งานเพื่อจุดประกายความคิด
เครือข่ายพลเมืองเน็ต | Thai Netizen Network
อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย
#twt4TH ระดมสมองทวิตเตอร์แก้วิกฤติชาติ
ร่วม”ดับไฟในใจคน” รณรงค์ไม่โพสกระตุ้นความโกรธความเกลียดชัง
พรรคพลังบวก
Thai Young Philanthropist Network
ประเทศไทยกลับมาสดใส ดีกว่าเดิม
รวมพลังทุกเครือข่าย ช่วยกันทำความสะอาดและฟื้นฟูกรุงเทพฯ

น่าสนใจ
http://mashable.com/2010/06/11/social-media-contests-non-profit/