NTC Eng website and intranet new design

โครงการทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษและ Re-Design Intranet ใหม่ของ กทช ของไทเกอร์ไอเดียครับ อันนี้เป็น Revision 1 ออกแบบโดยคุณเม่น

เว็บไซต์ภาษาอังกฤษ กทช.

เว็บไซต์ กทช ดีไซน์ minimalism
เว็บไซต์ กทช ดีไซน์ minimalism
อันนี้กระป๋องด้านบนเอามาจาก ads ของ กทชตามรถไฟฟ้า แต่ที่ประชุมบอกเหมือนกาละมัง
อันนี้กระป๋องด้านบนเอามาจาก ads ของ กทชตามรถไฟฟ้า แต่ที่ประชุมบอกเหมือนกาละมัง
เว็บไซต์ที่ดี ต้องมีหน้าผู้บริหารอยู่หน้าแรก
เว็บไซต์ที่ดี ต้องมีหน้าผู้บริหารอยู่หน้าแรก 😛

NTC website Revision 2

เนื่องจากตัว N ที่คุณเม่นพยายามทำให้นึกถึง ‘ก’ ของ กทช มันลึกซึ้งไปหน่อย ผู้บริหารงงจึงเปลี่ยนกลับมาเป็นตัว N ปกติครับ

เว็บภาษาอังกฤษ Revision2
เว็บภาษาอังกฤษ Revision2

สำหรับเว็บข้างต้น ผมใช้เวลาอธิบายยาวนานมากถึงคำว่า “เนียน” โดยเปิดเทียบกับเว็บ กทช ต่างประเทศหลายเว็บ และอภิปรายชี้นำว่าถ้าทางนี้ยอมใช้เว็บที่ minimalism ( นิยมการลดทอน? ) ล่ะก็จะเป็นต้นแบบของเว็บราชการสมัยใหม่เลยเชียว ผมพูดดักๆในที่ประชุมไว้ประมาณว่า คนสมัยใหม่ นิยมเว็บที่เรียบง่ายอย่างนี้และไม่จำเป็นต้องมีการแบ่งส่วนข้อมูลด้วยกรอบ เราต้องคิดนอกกรอบ ฯลฯ ซึ่งที่ประชุมก็ไม่กล้าเป็นคนสมัยเก่าครับเลยถือว่ายอมรับ

อินทราเน็ท สำหรับใช้ภายใน กทช

อินทราเน็ท สำหรับใช้ภายใน ลูกค้าต้องการ dashboard
อินทราเน็ท สำหรับใช้ภายใน ลูกค้าต้องการ dashboard

อันนี้เป็นการดีไซน์ให้เข้ากับเลย์เอาท์ของกรมอุตฯเหมืองแร่เดิม เพราะต้องนำไปจับกับ Mambo ที่ @joomlacorner เคยไปเทรนคนของ กทช ไว้เมื่อนานมาแล้วครับ ปัญหาคือต้องนำ Banner side bar ด้านข้างมาใช้เหมือนเดิมทำให้เว็บดูไม่ค่อยปิ๊งเท่าไหร่ (ลองปิด banner ด้านขวาทั้งแถบดูสิครับ จะรู้สึกว่าเว็บดู clean ขึ้น ) และด้วยระบบที่ยืดหยุ่น ทำให้สามารถเปลี่ยนสีเว็บได้ตามใจชอบผู้บริหารครับ และยังปรับขนาดฟ้อนท์ได้ด้วย แต่น้อง @sexdrum บอกว่าระบบนี้มันมีมานานแล้วนะ

ntc-intranet-red
ntc-intranet-red
ntc-intranet-purple
ntc-intranet-purple
ntc-intranet-green
ntc-intranet-green
ntc-intranet-brown
ntc-intranet-brown
ntc-intranet-blue
ntc-intranet-blue

สิ่งสำคัญหลังการประชุมเรื่องดีไซน์ก็คือ ให้ Print หน้าเว็บที่ประชุมกันไปออกมาเลย และถ้ามีการแก้ไขตรงไหนก็วงและเขียนไว้ จากนั้นก๊อปปี้สีแจกจ่ายให้ทุกฝ่ายหลังประชุมเสร็จครับ เพราะมิเช่นนั้นในการประชุมครั้งต่อไปจะทำให้ลืมประเด็นที่แก้ไขหรือลืมว่าเรา approve ไปอย่างไร ตัวอย่างง่ายๆคือ ในการประชุมครั้งแรก ที่ประชุมสรุปว่าให้ดีไซน์เลย์เอาท์คล้ายเว็บเก่าเพื่อที่ User จะได้คุ้นเคยและไม่เสียเวลาเรียนรู้ แต่พอประชุมครั้งต่อมาท่านหัวหน้าโพล่งขึ้นมาก่อนเลยว่า ทำไมดีไซน์เหมือนของเก่าจัง อย่างงี้จะทำใหม่ทำไม?

อย่างไรก็ตาม กทช เองก็มีโครงการที่จะนำ websphere+Oracle มาใช้ ดังนั้นไม่แน่ใจว่าดีไซน์นี้จะอยู่ได้นานเท่าไหร่เช่นกันครับ แต่ถ้าทำเสร็จได้ภายในระยะที่กำหนด ผมคิดว่านี่จะเป็นเว็บราชการที่ถูกและเสร็จเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์เลย ( ภาวนาให้เป็นเช่นนั้น เพราะถ้าถูกและเสร็จช้าจะขาดทุนยับเยินครับ )

การแปลเอกสารและ content เว็บภาษาอังกฤษ

ในส่วนของทีมงานแปลเอกสารต่างๆซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกันนั้น ได้ให้น้องวิทย์ @simplywit มาเป็น project manager ด้วยครับ น้องวิทย์เคยทำงานในบริษัทรับแปลเว็บมาก่อน (ตลาดบริษัทรับแปลเว็บเป็นอีกตลาดที่ใหญ่พอสมควรในไทย) สำหรับโปรเจ็คนี้ TIGERiDEA ทำงานร่วมกับทีมแปลและอาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯโดยการแปลนั้นต้องใช้คนที่เคยแปลในสายเทคโนโลยีและกฏหมายซึ่งเป็นสายที่หาได้ไม่ง่ายนักและค่าตัวแพงมาก ( ราคาแปลหน้าละมากกว่า 1,500 บาท ราคาต้นทุน ) ในครั้งแรกใน TOR ระบุเพียงการแปลข้อมูลทั่วไปแต่ทางลูกค้าเอาข้อมูลเชิงกฎหมายและสนธิสัญญาซึ่งยากกว่ามาให้ ทำให้ทางทีมต้องต่อรองเรียบเรียงต้นฉบับใหม่ ผลการเจรจาก็ได้รับการยอมรับด้วยดีในที่ประชุม