Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 4 : ทดสอบ ขึ้นเชียงใหม่

Ford Focus 2.0 TDCi รวมโพสทั้งหมด

Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 1 : รถครอบครัวสำหรับ Geek
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 2 : เรื่องวุ่นๆก่อนจะรับรถ
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 3 : วันออกรถใหม่
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 4 : ขึ้นเชียงใหม่

ขอบคุณท่านจ๋ง @Warong ที่ช่วย edit โพสนี้ครับ แหม wordpress ก็มีบัคใช้ได้เลยนะเนี่ย 😛

ก่อนขึ้นเชียงใหม่เรามาลองดู usability ของ Ford Focus 2.0 TDCi กันครับ ปกติรถยุโรปและอเมริกันจะมี usability ที่ต่ำกว่ารถญี่ปุ่นอยู่ หมายความว่าใช้ยากกว่านั่นเอง ปกติผมเองใช้รถเป็นประจำอยู่อีกสองคันจึงสามารถที่จะเปรียบเทียบได้ครับ คันแรกคือ Mitsubishi Lancer CEDIA SEI (รุ่นท็อป)และอีกคันคือ BMW 318i E46 รุ่น Executive (ตาเหยี่ยว) ส่วนรถที่เคยใช้คันแรกคือ Lancer GLX e-car วางเครื่อง Mivec 4G-92 ซึ่งเป็นรถที่ผมชอบเบาะนั่งที่สุดเท่าที่เคยขับมา

ford focus 2.0 tdci powershift กับต้นกล้วย

Ford focus 2.0 tdci powershift กับต้นกล้วย

Ford Focus 2.0 TDCi กับน้อง Lancer E-Car อายุ 17 ปีของผม ขนาดต่างกันมากทีเดียว แต่ปรัชญาเหมือนกัน

Ford Focus 2.0 TDCi กับน้อง Lancer E-Car อายุ 17 ปีของผม ขนาดต่างกันมากทีเดียว แต่ปรัชญาเหมือนกัน

บรรยากาศในห้องโดยสารยามกลางคืนเมื่อเปิดประตูเข้าไป

บรรยากาศในห้องโดยสารยามกลางคืนเมื่อเปิดประตูเข้าไป

Ford Focus TDCi กับไฟในห้องโดยสารตอนกลางคืนเมื่อปิดประตูและไฟส่องสว่างดับ

Ford Focus TDCi กับไฟในห้องโดยสารตอนกลางคืนเมื่อปิดประตูและไฟส่องสว่างดับ

ford-focus-tdci-light-3p class=”wp-caption-text”>Ford Focus TDCi กับไฟในห้องโดยสารตอนกลางคืนอีกมุมหนึ่ง

Ford Focus 2.0 TDCi Power Shift

หมายเลขตัวถัง PE163ENK91NK00017
Engine Number DA000276

แน่นอนว่า Ford Focus 2.0 TDCi คันนี้ถูกวิจัยและพัฒนาในศูนย์ที่เยอรมันจึงรับฟิลลิ่ง”แข็งแกร่ง”ของเยอรมันมามากครับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักของที่เปิดประตู น้ำหนักคันเร่งและพวงมาลัยในครั้งแรกที่ลองขับนั้นมีระดับเดียวกับ BMW และเมื่อเข้าไปนั่งจะพบว่าที่นั่งอยู่สูงกว่า BMW และเตี้ยกว่า Lancer ส่วนความรู้สึกในการวางแขนกับที่เท้าแขนทั้งตรงกลางและด้านข้างพบว่าแข็งกว่า BMW เล็กน้อยที่วางแขนตรงกลางสามารถยืดมารับแขนได้ แต่แข็งเหมือนเอาหนังมาหุ้มพลาสติก อย่างไรก็ตามความรู้สึกด้านความแข็งแกร่งนั้นเกือบเทียบได้กับ BMW และคุณแม่บอกผมว่าเมื่อกลับไปขับ Lancer Cedia นั้นรู้สึกว่าเบาโหวงไปเลยทีเดียว รวมทั้งฟิลลิ่งในการปิดกระจกก็รู้สึกว่ามีสักหลาดกดกระจกไว้เป็นอย่างดี สำหรับกลิ่นของรถใหม่นั้นกลับเหมือนรถญี่ปุ่นใหม่มากกว่ารถเยอรมัน เพราะว่าไม่ได้ใช้หนังแท้นั่นเอง และ BMW นั้นมีการวิจัยกลิ่นโดยวิศวกรมาแล้วครับ ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่าเมื่อหลับตาและมีรถ BMW ใหม่ๆขับผ่านไปช้าๆนั้นจะรู้ได้ทันทีว่าเป็น BMW ! สำหรับการตกแต่งภายในนั้นก็เป็นสไตล์เยอรมันเช่นกันทั้งปุ่มหมุนเปิดไฟและการเดินหนังกับลายไม้ที่ด้านหน้า รวมทั้งเมื่อเปิดไฟยามค่ำคืนไฟคอนโซลก็จะออกสีส้มแดงสวยงามให้อารมณ์ BMW อยู่บ้างด้วยครับ แต่การตกแต่งภายในที่ผมเห็นว่าไม่สวยมีอยู่สองจุดคือ พวงมาลัยที่รูปทรงเก่าไปกับวิทยุที่ดูเหมือน mini component ราคาถูก (แต่ตอนกลางคืนไฟสวยดีกว่าตอนกลางวันเยอะครับ)

วิทยุซีดีเชนเจอร์เล่น mp3 ได้หกแผ่น จากภาพกำลังใส่แผ่น Michael Jackson mp3 ที่ซื้อมาจาก 7-11 แต่อัดมาห่วยมาก

วิทยุซีดีเชนเจอร์เล่น mp3 ได้หกแผ่น จากภาพกำลังใส่แผ่น Michael Jackson mp3 ที่ซื้อมาจาก 7-11 แต่อัดมาห่วยมาก

ไฟที่วิทยุตอนกลางคืนเปลี่ยนเป็นสีแดง ดูดีกว่ากลางวันเยอะ

ไฟที่วิทยุตอนกลางคืนเปลี่ยนเป็นสีแดง ดูดีกว่ากลางวันเยอะ

สีขาวๆรูปหกเหลี่ยมที่มุมขวานั่นเป็นช่องต่อเครื่องเล่น mp3 ภายนอก ( AUX แบบ Analog ธรรมดา )

สีขาวๆรูปหกเหลี่ยมทางขวาในที่เก็บของด้านหน้าคือช่องต่อเครื่องเล่น mp3 ภายนอก ( AUX แบบ minijack ธรรมดา )

Tweeter ลำโพงเสียงแหลมติดตั้งในตำแหน่งเสาเอ ให้มิติเสียงที่ดี แต่ผมต้องลดเสียงแหลมลงสองสเต็ปเวลาฟัง

Tweeter ลำโพงเสียงแหลมติดตั้งในตำแหน่งเสาเอ ให้มิติเสียงที่ดี แต่ผมต้องลดเสียงแหลมลงสองสเต็ปเวลาฟัง

ในส่วนของปุ่ม control แอร์นั้นทำได้สวยดีมาก มีปุ่ม Auto แยกอุณหภูมิซ้ายขวาให้ด้วย จากการทดลองปรับแยกพบว่าสามารถปรับอุณหภูมิแยกส่วนแตกต่างกันได้ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียสครับ และถ้าปรับอุ่นมากก็จะมีลมร้อนแยกช่องออกมาได้ซะด้วย(ลมเย็นช่องซ้าย ลมร้อนช่องขวาก็สามารถทำได้นะ)

ระบบ air แยกส่วนซ้ายขวาของ focus-tdci ดีไซน์ได้ดีและใช้งานง่าย

ระบบ air แยกส่วนซ้ายขวาของ focus-tdci ดีไซน์ได้ดีและใช้งานง่าย

แอร์ด้านหลังเป็นช่องกลมเชยแต่ใช้ง่ายและให้ลมเย็น

แอร์ด้านหลังเป็นช่องกลมเชยแต่ใช้ง่ายและให้ลมเย็น

ford-focus-tdci-airbag

สัญลักษณ์ Airbag ฝั่งคนขับอยู่ตรงนี้ แต่ผมดูรอยต่อของแผงคอนโซลแล้วยังงงๆอยู่ว่าเวลาพองมันจะออกมายังไง?

สำหรับรูปทรงของคอนโซลกลางนั้นค่อนข้างใหญ่ ถ้าคนอ้วนอาจจะมีปัญหาขาถูกเบียดได้ครับทำให้ต้องถอยเก้าอี้มาทางด้านหลังมากขึ้น รถคันนี้มีขนาดเท่าๆกับ CEDIA และ BMW 318i พอดีครับ

ตอนก่อนจะถอย เซลล์เสนอว่ามี option ที่ศูนย์ให้ร้านเครื่องเสียงมาติดให้ถึงที่เองเป็นเครื่องเสียง DVD TV +Navigator ยี่ห้อ ZULEX F-310 โดยจะติดตั้งแทนวิทยุเดิมได้ลงตัวพอดีโดยไม่ต้องตัดต่ออะไรเลย แถมยังควบคุมจากก้านพวงมาลัยได้เหมือนเดิมซะด้วยครับ สำหรับราคาก็สูงนิดหน่อยเพราะมันทำมาสำหรับ Ford Focus โดยเฉพาะ โดยราคา 2หมื่นขึ้นไป จะได้ทั้ง DVD TV จอใหญ่ กล้องส่องเวลาถอยหลังและระบบรับโทรศัพท์ Bluetooth แต่ถ้าเพิ่มกล่อง GPS สำหรับ Navigation ราคาจะพุ่งขึ้นไปอีกสองหมื่นแพงมาก อย่างไรก็ตามผมเองเป็นคนฟังเพลงเป็นหลักครับประกอบกับได้อ่านรีวิวที่ www.fordclub.net/ZULEX ว่า interface ของ ZULEX F-310 มันใช้ยากเล็กน้อยและตังค์หมด 😛 เลยไม่ได้สนใจติดเพิ่มเติม สำหรับคนอยากเท่ก็ติดได้ไม่ว่ากันนะครับ

ด้านการใช้รถเนื่องจากผมเป็นคนที่ชอบศึกษาเรื่องรถ (Geek) ดังนั้นเมื่อเริ่มใช้รถก็จะศึกษาก่อนอย่างรวดเร็วทำให้ใช้งานไม่ค่อยผิดพลาด เพราะฉนั้นในกรณีศึกษาเรื่องความง่ายในการใช้งานผมจึงใช้คุณแม่เป็น Reference แทนดีกว่าครับ 😛 สำหรับด้าน Usability หรือความใช้ง่ายของรถนั้นสามารถวิเคราะห์เทคนิคการออกแบบได้สองกรณีครับคือ

Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส: Usability

1. ฟอร์ด โฟกัส: การออกแบบให้รถมีลักษณะเฉพาะ ผู้ใช้เกิดความเคยชินเมื่อเปลี่ยนรถใหม่ก็อยากได้ยี่ห้อเดิม

กรณีนี้ตำแหน่งก้านไฟเลี้ยวและที่ปัดน้ำฝนจะเห็นได้ชัดที่สุดครับ รถยุโรปและอเมริกันที่มีพวงมาลัยซ้ายจะทำก้านไฟเลี้ยวไว้ด้านซ้ายที่ปัดน้ำฝนไว้ด้านขวาเช่นเดียวกับฟอร์ดคันนี้ และยังทำปุ่มหมุนเปิดไฟไว้ด้านเดียวกับ BMW อีกด้วยทำให้คุณพ่อซึ่งขับ BMW เป็นประจำสามารถเปลี่ยนมาขับคันนี้ได้ง่ายเช่นกัน ในส่วนของเกียร์นั้นก็มีลักษณะคล้ายกับ BMW เป็นอย่างมาก ครับ

แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือรถคันนี้ไม่มีสามปุ่มนี้เลย : นั่นคือปุ่มเปิดฝากระโปรงหลัง ปุ่มเปิดฝาถังน้ำมัน และปุ่มเปิดฝากระโปรงหน้า ! ทำให้ผู้ใช้ครั้งแรกจะงงกันนิดหน่อยครับเพราะว่า การเปิดฝากระโปรงหลังและฝาถังน้ำมันสามารถเปิดได้โดยตรงทันทีถ้าประตูฝั่งคนขับนั้นไม่ได้ล็อก ครับ สำหรับฝาถังน้ำมันเด็กปั๊มก็คงจะชินเพราะเหมือน BMW แต่ถ้าเป็นฝาประโปรงหลังคนใช้ครั้งแรกจะต้องจำตำแหน่งของสวิตช์ที่อยู่เหนือป้ายทะเบียนหลัง และฝากระโปรงหน้านั้นจะเปิดได้ต้องหมุน Emblem Logo Ford ที่กระจังหน้าและใช้กุญแจเปิดครับ นั่นหมายความว่าจะเปิดฝากระโปรงหน้าได้ต้องดับเครื่องยนต์ก่อนนั่นเอง

ปุ่มกดเปิดฝากระโปรงหลังของ Ford Focus TDCi  จะเปิดได้ต่อเมื่อกดจากรีโมทหรือประตูถุกปลดล็อก

ปุ่มกดเปิดฝากระโปรงหลังของ Ford Focus TDCi จะเปิดได้ต่อเมื่อกดจากรีโมทหรือประตูถุกปลดล็อก

แต่ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นการควบคุมวิทยุที่ก้านขนาดใหญ่หลังพวงมาลัยด้านซ้ายมือนั้นต้องใช้เวลาเรียนรู้พอสมควร แต่เมื่อใช้ได้แล้วก็จะพบว่ามันทำให้เพื่อนๆในรถงงได้ครับว่าเราเพิ่มลดเปลี่ยนเพลงเปลี่ยนแผ่นได้ยังไง 😛

2. ฟอร์ด โฟกัส: การออกแบบที่เป็นมาตรฐานที่เหมือนรถทั่วๆไป

เช่นการปรับเลื่อนเกียร์ออโต้ก็เป็นแบบปกติรถญี่ปุ่นครับคือ ตำแหน่ง N และ D สามารถเลื่อนได้โดยไม่ต้องเหยียบเบรคเหมือน BMW แต่การจอดรถดับเครื่องต้องเข้าที่ตำแหน่ง P เหมือนรถสมัยใหม่ถึงจะดึงกุญแจออกได้ ในกรณีที่ต้องการจอดรถขวางและเข้า N ก็ให้ใช้กุญแจเสียบเพื่อกดปุ่มปลดล็อกตำแหน่ง P ที่หัวเกียร์เหมือนรถญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆคันอื่น แต่การเสียบกุญแจปลดล็อกต้องกดให้ตรงตำแหน่งซึ่งต้องใช้ความตั้งใจนิดนึงนะครับ ถ้าเปรียบเทียบคือ CEDIA ใช้ง่ายสุดๆ แต่ก็เคยมีเคสอุบัติเหตุรถเบียดเจ้าของเสียชีวิตไปแล้วเช่นกัน ส่วน BMW นั้นเวลาจอดไม่สามารถปลดล็อกจากตำแหน่ง P ได้เลย ( อาจเป็นข้อดีทำให้เวลาเข้าห้าง พนง.ต้องกุลีกุจอหาที่จอดรถให้ 😛 ) อย่างไรก็ตามที่โคนก้านเกียร์นั้นไม่มีไฟแสดงตำแหน่งว่าเข้าเกียร์ใดอยู่ ทำให้ต้องมองไฟแสดงตำแหน่งที่แผงหน้าปัดเท่านั้นซึ่งเล็กนิดนึงครับ ส่งผลให้แม่ผมงงกับตำแหน่งเกียร์ในช่วงแรกมากเพราะติดนิสัยต้องมองที่ก้านเกียร์ด้านล่างเวลาเข้าเกียร์แต่ก็น่าจะทำให้ปลอดภัยขึ้นเพราะไม่ต้องละสายตาลงต่ำมากไป

ในส่วนของก้านไฟเลีี้ยวนั้นออกแบบให้มีสองระดับเหมือนรถทั่วๆไปเช่นกัน แต่ในระดับแรกคือแตะก้านไฟเลี้ยวลงเฉยๆ(ไม่ต้องให้ถึงตำแหน่งล็อก) หนึ่งที ไฟเลี้ยวจะกระพริบสามทีโดยอัตโนมัติซึ่งเป้นการออกแบบที่เพียงพอต่อการใช้เปลี่ยนเลนนั่นเองครับ แต่อย่างไรก็ตามเสียงสัญญาณไฟเลี้ยวนั้นจัดว่าเบาเกินไปสำหรับคนใช้รถ ประกอบกับตำแหน่งสัญญาณไฟเลี้ยวที่อยู่บนแผงหน้าปัดนั้นมีขนาดเล็กและไม่ค่อยเด่นทำให้ผมกับคุณแม่ลืมปิดไฟเลี้ยวอยู่บ่อยครั้งบนท้องถนนโดยเฉพาะเวลาที่ฟังวิทยุอยู่

3. ฟอร์ด โฟกัส: ส่วนของการออกแบบ Usability ที่ไม่ค่อยดี

ที่เห็นน่าจะมีอยู่สองตำแหน่งครับคือ สวิตช์เปิดไฟหน้าที่ใช้ปุ่มหมุน โดย ปกติตำแหน่งหมุนสุดด้านซ้ายน่าจะเป็นตำแหน่ง ปิดไฟ โดยสมบูรณ์ทุกดวง แต่กลายเป็นตำแหน่งไฟสำหรับจอดรถแทน (ไฟสำหรับจอดรถกลางคืนคือ ไฟหรีและไฟท้ายติดแต่ไฟในรถไม่ติด) ทำให้คุณแม่ผมบิดกดปุ่มปิดไฟเกินตำแหน่ง”ปิด”เป็นประจำผลคือเปิดไฟทิ้งไว้นั่นเอง และเมื่อต้องการจะเปิดไฟตัดหมอกหน้า และหลัง จะต้องดึงปุ่มหมุนนี้ออกมา 1 ล็อก และ 2 ล็อกตามลำดับ ซึ่งกว่าจะหาวิธีเปิดได้ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร และวิธีเปิดนั่นทำให้ถ้าคุณแม่ต้องการเปิดไฟตัดหมอกหน้าอย่างเดียวอาจดึงเลย 2 ล็อกจนเปิดไฟตัดหมอกหลังไปด้วยได้ครับ นอกจากนั้นก็ยังไม่สามารถเปิดไฟตัดหมอกหลังอย่างเดียวโดยไม่เปิดไฟตัดหมอกหน้าได้ด้วย (แน่นอนว่าผมไม่มีปัญหากับตรงนี้เพราะเป็น GEEK นั่นเอง)

ในส่วนของปุ่มควบคุมเซ็นทรัลล็อกของประตูทุกบานรวมทั้งฝาถังน้ำมันและกระโปรงหลังโดย official แล้วคือปุ่มกดล็อกข้างประตูคนขับนั่นเอง ซึ่งมีอยู่ที่เดียวและเสมือนทำหน้าที่เยอะมากครับ และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ค่อยเด่นอีกด้วย เพราะเมื่อล็อกเข้าไปแล้วไม่มีแถบสีแดงหรืออะไรที่ระบุว่าล็อคนอกจากผู้ใช้ต้องเคยชินเองว่ามันจะบุ๋มเข้าไป แต่ระบบล็อคอัตโนมัติเมื่อรถเริ่มเคลื่อนที่ก็ทำงานได้ดีครับ

สุดท้ายเป็นระบบกุญแจ ที่ผมได้มาเป็นกุญแจแบบมีดพับซึ่งเท่กว่า BMW ซะอีก และกุญแจแบบธรรมดาอันนึง รวมแล้วสองอัน เจ้าหน้าที่บอกผมว่ากุญแจแบบมีดพับนี้มีราคาถึงห้าพันบาท และมีปุ่มปิดประตู เปิดประตู และเปิดฝากระโปรงหลังตามลำดับครับ จากการทดลองถ้าอยู่ในรถแล้วกดกุญแจปิดประตู้ จากนั้นเปิดประตูตัว immobilizer จะร้องเสียงดังสนั่นเลยทีเดียว แต่จุดที่ไม่ดีอยู่ที่ไม่มีไฟคอนเฟิร์มการล็อคประตูของรถเวลากดกุญแจครับ ทำให้ต้องไปดึงประตูคอนเฟิร์มกันอีกทีเพราะไม่แน่ใจว่าสัญญาณถึงหรือเปล่านั่นเอง ในขณะที่เมื่อเปิดล็อกกับมีไฟคอนเฟิร์มเป็นไฟเลี้ยวติดยาวๆหนึ่งทีทั้งๆที่ตอนเปิดล็อกเรามักจะต้องเข้ามาที่ตัวรถอยู่แล้ว ไม่ต้องมีไฟก็ได้ ผมเองก็ไม่รู้ว่าคนดีไซน์จุดนี้คิดไว้ยังไง

ทดสอบ Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ขึ้นเชียงใหม่

ทีนี้ก็เริ่มออกเดินทางไปเชียงใหม่กับ Ford Focus 2.0 TDCi กันได้ครับ การเดินทางยามค่ำคืนครั้งนี้โดนสายฝนเกือบตลอดทาง

โฟกัส TDCi กทม-นครสวรรค์

สายฝนกระหน่ำไม่ลืมหูลืมตา แถมคุณแม่ผมรับช่วงขับก่อนด้วย แถวๆพอเลยช่วงนวนครช่วงที่ต้องชิดซ้ายออกนครสวรรค์มีน้ำท่วมขังอยู่ Focus TDCi ก็ลุยน้ำด้วยความเร็วสูงผ่านมาได้ดีครับ น่าจะเป็นที่แผงปิดช่วงล่างนั้นกันน้ำปะทะเข้าเครื่องยนต์ได้ดี (รุ่นก่อนไมเนอร์เชนจ์มีปัญหาเรื่องลุยน้ำแล้วเครื่องดับกันมาก) ตัวรถมีการซีลด้านใต้ดีทำให้เสียงน้ำไม่ลอดเข้ามามากนัก ส่วนเสียงเครื่องยนต์ในช่วงฝนตกจะไม่ค่อยได้ยินเลยครับ เพราะที่หลังคารถไม่ได้ซีลไว้ ( BMW ซีลหลังคาด้วย) ทำให้ได้ยินเสียงเม็ดฝนกราวเหมือนรถญี่ปุ่นทั่วไป ไฟส่องสว่างด้านหน้าในตำแหน่งไฟต่ำนั้นดีมากเพราะรูปทรงตัวสะท้อนแสงกลมดี ไฟตัดหมอกก็ใช้ได้ดี ส่วนไฟสูงแม่บอก “เฉยๆนะ ไม่เห็นความแตกต่างเท่าไหร่เลย”

ไฟส่องสว่างด้านหน้าดีมาก เพราะรูปทรงของตัวกระจายแสงดี

ไฟส่องสว่างด้านหน้าดีมาก เพราะรูปทรงของตัวกระจายแสงดี

ในส่วนของการปัดน้ำฝนทำได้ดีปานกลางอาจเป็นเพราะยางที่ติดมาจากฟิลิฟปินส์ค่อนข้างนานแล้ว ปกติโหมดฉีดน้ำการปัดจะเป็น ฉีดและตามด้วยปัดสามครั้งครับ แต่หลังจากนั้นนิ่งไปอีกสัก 4 วินาทีจะมีแถมปัดมาอีกทีด้วย (กันน้ำย้อยลงมานั่นเอง) คือรู้ใจคนขับดีจัง 🙂 แต่ครั้งแรกๆที่ใช้จะงงกับการปัดแถมครั้งสุดท้ายทำให้นึกว่าปิดสวิทช์ที่ปัดน้ำฝนผิดครับ

ที่ปัดน้ำฝนเล็กข้างใหญ่ข้างเน้นปัดกระจกด้านหน้าคนขับมากกว่าคนนั่ง

ที่ปัดน้ำฝนเล็กข้างใหญ่ข้างเน้นปัดกระจกด้านหน้าคนขับมากกว่าคนนั่ง

โฟกัส TDCi นครสวรรค์-ตาก

ช่วงนครสวรรค์ถึงตากถนนไม่ค่อยดี ทำให้ผมรู้สึกว่า Focus TDCi นั้นมีช่วงล่างที่แข็งพอสมควรทีเดียว ประกอบกับเบาะก็ค่อนข้างแข็งเพื่อส่งความรู้สึกจากพื้นขึ้นมาที่คนขับด้วยครับดังนั้นการใส่ล้อขอบ 16 นิ้วถึงแม้จะดูไม่เต็มเท่าไหร่แต่ในการใช้งานจริงน่าจะเหมาะสมสุดแล้วครับ ผมเลยทดลองปูที่นั่งด้วยผ้าห่มก็พบว่านอนสบายขึ้นมาก อืม..แสดงว่าจริงๆแล้วที่แข็งไปหน่อยน่าจะเป็นเบาะใหม่นี่ต่างหาก แต่จะโทษรถก็ไม่น่าถูกเพราะถนนช่วงนี้แย่กว่าทุกครั้งที่เคยขับมาจริงๆ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลหมดงบประมาณในการซ่อมแซมอย่างแท้จริง 😛

ford-focus-tdci-test-00

หยุดพักรถทานข้าวต้มที่ร้านโคราชาที่เดิมเหมือนทุกครั้งที่เดินทาง

ถ้าเปรียบเทียบคาดว่าช่วงล่าง CEDIA จะนุ่มกว่ารวมทั้งเบาะก็นุ่มกว่าครับ แต่ CEDIA ก็ไม่ได้ให้ความมั่นใจเวลาถลาบนถนนขรุขระยามฝนตกเท่ากับ Focus TDCi ด้วยเช่นกัน ส่วน BMW 318i ยังนับว่าเป็นรถที่มีช่วงล่างที่มีความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเยี่ยมที่ทำให้ผู้ที่เคยใช้เสพติดได้ คือ BMW จะรู้สึกว่ารถมีความหนักและหน่วงความสะเทือนไว้ได้ด้วย ในขณะที่ Focus TDCi ให้ความรู้สึกเบากว่าแต่ให้ความมั่นใจได้มากเช่นกัน อย่างไรก็ตามถ้าเราขับ BMW ก็คงไม่สบายใจแน่ๆถ้าเจอถนนขรุขระครับ เพราะช่วงล่างอลูมิเนียมนั่นค่า Maintenance แพงหูฉี่ทีเดียว

ford-focus-tdci-mileage

ผลงานการขับของคุณแม่ผม หารออกมาตก 20.83 กิโลเมตรต่อลิตร !

โฟกัส TDCi ตาก-ลำปาง

ช่วงตากถึงลำปางเป็นช่วงทางตรงยาวซะเป็นส่วนใหญ่ ช่วง นี้ความสามารถด้านสมรรถนะที่แท้จริงของรถก็เป็นที่ประจักษ์ครับ ! จากความแน่นของช่วงล่างทำให้การขับของผมที่ความเร็วสูงคุณแม่ผมไม่ได้ปริปาก บ่นออกมาเลย ปกติถ้าเป็น CEDIA พอขับที่ 130 km/h คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าเร็วแล้ว แต่นี่ 160km/h คุณแม่ก็ยังเฉยอยู่ครับ ! อัตราเร่งของรถนั้นดีมากเมื่อกดคันเร่งจะรู้สึกถึงคลื่นพลังที่อัดแน่นรอขับ เคลื่อนเราไปข้างหน้า แต่ด้วยรอบที่ต่ำทำให้รู้สึกเหมือนเครื่องยนต์ไม่ต้องเค้นมาก คนขับไม่เครียดคนนั่งก็ไม่เครียดด้วย อย่างไรก็ตามอัตราเร่งที่ดีก็ทำให้ผมไม่สามารถเพลิดเพลินกับมันได้นานเพราะ เร่งแล้วก็จะเข้าสู่ความเร็วสูงเกินกฎหมายกำหนดอย่างรวดเร็ว ที่ความเร็วสูงพวงมาลัยก็ยังมีน้ำหนักดีมากถึงแม้จะสั่นจากเครื่องยนต์ในขณะ ที่เร่งเครื่องบ้าง เสียงเครื่องยนต์ก็ไม่ดังเหมือน CEDIA โอ้ว สนุกจริงๆรถคันนี้ ( ตลอดการขับให้คุณแม่นั่งผมไม่สามารถกดคันเร่งเกิน 1/4 ของความลึกได้เลยเพราะกลัวคุณแม่ตกใจ เลยไม่มีการคิกดาวน์เกิดขึ้นเลย )

โฟกัส TDCi ลำปาง-เชียงใหม่

ช่วงนี้เป็นช่วงขึ้นเขาซึ่งคุณแม่เริ่มง่วงหลับไป โอกาสมาถึงแล้ว 😛 การขับรถคันนี้ในทางคดโค้งมันช่างวิเศษจริงๆเลยยยยย กดคันเร่งครึ่งหนึ่งรถก็พุ่งขึ้นเข้าไปอย่างรวดเร็วเหมือนตัวเบา การเข้าโค้งหลบรถบรรทุกทำได้คล่องแคล่วและตัวถังก็ยังแข็งโป๊กไม่มีการบิด การส่ายหรือเข้าสู่ภาวะที่ทำให้แม่ผมตื่นได้เลยครับ ! เรียกได้ว่าไม่มีใครแซงผมได้แน่นอนครับสำหรับพื้นที่บนเขาอย่างงี้ กดคันเร่งเพียงครึ่งเดียวก็สวนรถเบนซินดีเซลที่วิ่งซ่าๆบนดอยขุนตาลได้ทุก คันไม่เว้นแม้แต่ BMW 525i หรือ เอ่อ…วีโก้ ยางและช่วงล่างของ Focus ทั้งหน้าหลังทำงานสอดประสานกันได้ดีมากและไม่มีเสียงรบกวน ( ถ้าตั้งใจจะทำให้เกิดเสียงยางคุณแม่คงกระเด็นหลุดจากเก้าอี้ได้ ) พวงมาลัยแม่นยำมาก เกียร์ตัดต่อส่งกำลังได้อย่างนุ่มนวลและมีประสิทธิภาพเยี่ยมมาก ขนาดของรถกำลังดีสำหรับถนนแบบนี้ โอ้วว I Love My Car !! 😀 ( ช่วงนี้ลืมสิ่งที่เคยตำหนิรถมาหมดแล้วครับเพราะมันส์มาก )

โฟกัส TDCi @เชียงใหม่

ford-focus-tdci-test-01

ยามเช้ามืดที่เชียงใหม่ แวะล้างหน้าล้างตาก่อนไปใส่บาตร

ford-focus-tdci-test-02

บรรยากาศเชียงใหม่ยามเช้าเห็นดอยสุเทพด้านหน้า

ford-focus-tdci-side

หลังใส่บาตรก็มาจบทริปที่โรงแรม ด้านข้างรถเปื้อนโคลนกับฝุ่นดังรูป

ford-focus-tdci-2

ฟอร์ด โฟกัส ณ อ.สันทราย

ford-focus-tdci-dirty2

ด้านข้างของรถเวลามีรอยเปื้อนโคลนจากการขับนานๆเป็นตามรูปครับ

ford-focus-tdci-dirty

ด้านหลังของรถเวลามีรอยเปื้อนโคลนจากการขับนานๆเป็นตามรูปครับ

ford-focus-tdci-test-03

ผมขับต่อจากคุณแม่โดยขับประมาณ140 อัดขึ้นเขาที่ลำปางทำให้มาถึงเชียงใหม่ ด้วยการกินน้ำมันรวม 18.87 กิโลลิตร

Ford Focus 2.0 TDCi กับเบาะนั่ง

สำหรับตำแหน่งที่นั่งนั้นสามารถปรับได้ทุกทิศทางด้วยระบบไฟฟ้าด้านคนขับครับ เสียดายที่ไม่มีระบบ memory ผมกับแม่ซึ่งผลัดกันขับเลยต้องตั้งใหม่ทั้งเบาะทั้งกระจกมองข้างกันอุตลุด ( แหม คันอื่นเค้าก็มี Memory กันหมดแล้ว ) แต่คุณแม่ถูกใจตัวปรับ Support ดุนหลังมากครับ ส่วนพวงมาลัยนั้นก็ปรับสูงต่ำเข้าออกได้ทุกทิศทางเช่นเดียวกัน ถ้าให้เวลากับการปรับตั้งทั้งหมดสักนิดก็จะได้ตำแหน่งนั่งขับที่ดีทีเดียว ครับ แต่ผมเองติดเบาะสปอร์ตของ Lancer E-Car มานานเลยรู้สึกว่าเบาะของ FOCUS มันก็ยังสูงไปนิดหน่อยสำหรับการเซ็ทตำแหน่งสปอร์ต แต่การใช้งานธรรมดาก็โอเคครับ

เบาะหนังปรับด้วยไฟฟ้าทุกทิศทางเฉพาะด้านคนขับของ FOCUS 2.0 TDCi สามารถจับปุ่มรูปเบาะบิดไปมาได้เลย

เบาะหนังปรับด้วยไฟฟ้าทุกทิศทางเฉพาะด้านคนขับของ FOCUS 2.0 TDCi สามารถจับปุ่มรูปเบาะบิดไปมาได้เลย

ที่ปรับ Support หนุนกระดูกสันหลัง ถุกใจคุณแม่

ที่ปรับ Support หนุนกระดูกสันหลัง ถุกใจคุณแม่

Ford Focus 2.0 TDCi กับระบบขับเคลื่อน

สำหรับสิ่งที่โดดเด่นของระบบขับเคลื่อนของรถคันนี้คือ เครื่องยนต์ดีเซลดูราทอร์ค 2.0 ที่พัฒนาเพื่อใช้ร่วมกับเปอร์โยต์และซีตรองนั่นเอง เครื่องยนต์ตัวนี้มีแรงบิดสูงถึง 320 NM และมีกำลังแฝงเมื่อกดคันเร่งมิดเพิ่มเป็น 340 NM ได้อีก 8 วินาทีอีกด้วย สำหรับระบบเกียร์นั้นใช้ เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ Power Shift แบบ Dual Clutch ที่พัฒนาโดย GETRAG Ford Transmission Gmbh สำหรับรายละเอียดด้านเทคนิคและที่มาแนะนำให้ดูคุณ Jimmy รีวิวไว้ดีละเอียดแล้วครับ ผมจะพูดในประเด็นความรู้สึกและข้อสันนิษฐานในการใช้งานละกันครับ สำหรับความรู้สึกโดยทั่วไปของรถคันนี้ก็คือ รถเก๋งดีเซลที่มีการเปลียนเกียร์ที่ ราบเรียบมาก มีอัตราเร่งในการใช้งานปกติที่ดีในรอบต่ำทำให้เครื่องยนต์ไม่ต้องเค้นมากและ ไม่จำเป็นต้องคิกดาวน์มาก แต่เมื่อกดคันเร่งลึกเครื่องยนต์จะส่งเสียงดังกว่าเดิมออกมาแต่คุณก็จะอยู่ ในอัตราเร่งที่เหมาะสมกับเสียงเครื่องยนต์พอดี เพื่อนผมที่เชียงใหม่ถึงกับหงายหลังหัวกระแทกเบาะเมื่อผมกดคันเร่งลึกลง แต่ผมยังไม่กล้าเหยียบจมมิดอยู่ดีครับเพราะรู้สึกว่ารถยังรันอินอยู่ 😛

Gear Power Shift Dual Clutch แบบเดียวกับที่ใช้ใน Volvo รุ่นใหม่ หาภาพมาโดย immy

Gear Power Shift Dual Clutch แบบเดียวกับที่ใช้ใน Volvo รุ่นใหม่ หาภาพมาโดย Jimmy

ในเรื่องของเกียร์ Power Shift Dual Clutch ( หรือผมเรียกว่า ระบบเกียร์ธรรมดาที่เปลี่ยนโดยอัตโนมัติ) ที่หลายๆคนกังวลกัน ผมเองในวันออกรถได้ถามช่างที่ศูนย์ฟอร์ดรัตนาธิเบตรพบว่าช่างให้คำตอบว่า”ผม ซ่อมได้ครับ เรียนมาแล้ว” จึงไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ ในด้านการใช้งาน เกียร์ตัวนี้มีอัตราการเปลี่ยนเกียร์ที่ถี่และสมูทแต่ไม่ใช่เกียร์ที่ขยัน เปลี่ยนบ่อยๆตามความเร็วนะครับ เพราะว่าการเปลี่ยนเกียร์ที่สังเกตได้ขึ้นอยู่กับ “ความเร็วของรถในขณะนั้น” มากกว่า “ความลึกของคันเร่งที่กด” หมายความว่าถ้าเราขับไม่ถึง 80 km/h รถจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเกียร์ 6 ซึ่งเป็นเกียร์สุดท้ายได้(แสดงว่าเป็นเกียร์ที่เน้นสมรรถณะมากกว่าความประหยัด) ในขณะที่รถเกียร์อัตโนมัติทั่วไปเพียงขับไปแค่ 40-50 พอผ่อนคันเร่งรถก็เข้าเกียร์สูงสุดให้ซะแล้ว น่าจะเกิดจากการพยายามรักษารอบให้อยู่แถวๆแรงบิดสูงสุดที่ 2000 รอบตลอดเวลาครับ ทำให้การเปลี่ยนเกียร์ซึ่งเป็นต้นเหตุของความสึกหรอนั้นกลับน้อยกว่าเกียร์ อัตโนมัติในรถเบนซินทั่วไปซะอีก ส่วนในเรื่องของการ maintenance คาดว่าคงมีการเปลี่ยนชุดคลัตช์กันบ้างเช่นเดียวกับรถเกียร์ธรรมดา แต่ถ้าเกียร์พังคงมีราคาโหดเท่าๆกับเกียร์อัตโนมัติทั่วไปเท่านั้นเอง 😛 ( เกียร์ CVT ของ CEDIA นั้นลูกละ 220,000 บาท !) อย่างไรก็ตามตามความรู้สึกผม มันน่าจะพังยากถ้าเราขับปกติในชีวิตประจำวันเพราะเกียร์ออกแบบมาให้สามารถ ที่จะรับแรงบิดสูงได้มากกว่าแรงบิดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเยอะ

คุณแม่สามารถขับรถคนนี้ได้อย่างนิ่มนวลสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเครื่องยนต์หรือเกียร์แต่อย่างใด

คุณแม่สามารถขับรถคนนี้ได้อย่างนิ่มนวลสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเครื่องยนต์หรือเกียร์แต่อย่างใด

สำหรับ Feeling ในการผ่อนคันเร่งของเกียร์ตัวนี้จะหน่วง Engine Brake เล็กน้อยซึ่งผู้ที่ใช้รถเกียร์อัตโนมัติมานานอาจไม่ค่อยชิน แต่สำหรับคุณแม่ผมซึ่งมักมีนิสัย “ขับไปเบรคไป” กลับเหมาะกับเกียร์ของรถคันนี้มากครับเพราะทำให้ลดการใช้เบรคในกระแสจราจรลง ได้มาก ส่วนคุณพ่อจะบ่นว่าราคาขนาดนี้แล้วทำไมไม่มี Cruise Control ให้ แถมตอนถอนคันเร่งก็ลดความเร็วอีก เพราะคุณพ่อติด Cruise Control เวลาขับ BMW นั่นเอง เมื่อคุยกับทางผู้จัดการศูนย์ก็พบว่าเครื่องกับเกียร์รุ่นนี้ไม่ได้วางแผน ให้มี Cruise Control ตั้งแต่แรกครับ ส่วนผมน่ะหรอ ? ชอบ Engine Brake อยู่แล้วครับ

Ford Focus 2.0 TDCi กับการขนของ

ลองทดสอบพับเบาะดูครับ รถคันนี้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผมเพราะต้องยกเปียโนไฟฟ้าพร้อมตู้แอมป์และอุปกรณ์ไปเล่นดนตรีตามที่ ต่างๆบ่อยๆ การพับเบาะได้หลายรูปแบบนั้นทำให้ผมชอบใจจริงๆ ( CEDIA กับ BMW 318i นั้นพับเบาะไม่ได้ ) อย่างไรก็ตามขออภัยที่ยังไม่ได้แกะพลาสติกเบาะนะครับ 😀 เรียงลำดับความเล็กไปใหญ่ของ Trunk ด้านหลังคือ BMW เล็กสุด(เพราะระบบขับเคลื่อนล้อหลังกินที่) ตามด้วย CEDIA และ FOCUS ใหญ่สุด

การยกฝากระโปรงใช้โช๊คอัพเช่นเดียวกับ BMW ในขณะที่ CEDIA มีก้านยกเข้าไปด้านใน

การยกฝากระโปรงใช้โช๊คอัพเช่นเดียวกับ BMW ไม่กินเนื้อที่ในห้องเก็บสัมภาระ ในขณะที่ CEDIA มีก้านยกเข้าไปด้านใน

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อยังไม่ถูกพับ

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อยังไม่ถูกพับ

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อพับเบาะแยกส่วนด้านขวา

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อพับเบาะแยกส่วนด้านขวา

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อพับเบาะทั้งสองดัาน

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อพับเบาะทั้งสองดัาน

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อยกเบาะหลังหมุนไปทางด้านหน้าจะพบว่าสามารถใส่ของที่มีความสูงอย่าง จักรยานได้

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อยกเบาะหลังหมุนไปทางด้านหน้าจะพบว่าสามารถใส่ของที่มีความสูงอย่าง จักรยานได้

คราวนี้เบาะทั้งสองสามารถพับได้ราบสุดๆและเปิดช่องต่อกับกระโปรงหลัง ขนาดใหญ่ไว้ได้

คราวนี้เบาะทั้งสองสามารถพับได้ราบสุดๆและเปิดช่องต่อกับกระโปรง หลังขนาดใหญ่ไว้ได้

มุมมองจากด้านหลังของ Ford Focus เมื่อพับเบาะ

มุมมองจากด้านหลังของ Ford Focus เมื่อพับเบาะ

ซูมเข้ามาใกล้กับที่เก็บของด้านหลังเมื่อพับเบาะนั้นกว้างขนาดเลี้ยง สุนัขได้ มีจุดติที่ที่ด้านหลังของเบาะไม่มีอะไรหุ้ม เป็นเหล็กพ่นสีเฉยๆ

ซูมเข้ามาใกล้กับที่เก็บของด้านหลังเมื่อพับเบาะนั้นกว้างขนาด เลี้ยงสุนัขได้ มีจุดติที่ด้านหลังของเบาะไม่มีอะไรหุ้ม เป็นเหล็กพ่นสีเฉยๆ

Ford Focus 2.0 TDCi ไฟส่องสว่างภายใน

ford-focus-tdci-light4

ไฟส่องสว่างสำหรับแต่งหน้า มีทั้งฝั่งผู้โดยสารและคนขับ ออกแบบให้ปิดเองเมื่อพับกระจกขึ้นไป

ford-focus-tdci-light2

ไฟอ่านหนังสือเปิดได้สองฝั่ง

ford-focus-tdci-light3

ไฟส่องสว่างสำหรับห้องโดยสาร มีเฉพาะด้านหน้านะครับ ด้านหลังมืดหน่อย

Ford Focus 2.0 TDCi กับการเติมน้ำมัน

สำหรับปั๊มในกทม การบอกให้เดิมดีเซลเด็กปั๊มจะชินและไม่น่าห่วงเรื่องเติมผิดครับ บางคนก็สนใจรถเรามากกว่าคันอื่น แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดต้องดูแลนิดหน่อย ถ้าหัวจ่ายดีเซลกับเบนซินอยู่ติดกันแล้วเด็กเหม่อก็จะผิดได้ ทางศูนย์แนะนำให้ซื้อสติกเกอร์ดีเซลมาติดด้านนอกฝาถังเลยซึ่งผมรู้สึกว่ายังไม่ค่อยสวย ต้องตามหาสต๊ิกเกอร์อีกพักนึง ในส่วนของน้ำมันเชื่อเพลิงที่เติมจะเติมอะไรก็ได้ครับ แต่ที่น่าเติมที่สุดคือ เชลล์ V-Power Diesel กับ บางจาก EURO4 ซึ่งบางจากเป็นเจ้าเดียวที่มี EURO4 ครับ

ford-focus-tdci-euro4-2

โฟกัส TDCi กำลังรอเติม B5 EURO4 ที่บางจากซึ่งราคาถูกที่สุด

ford-focus-tdci-euro4

ถ้าไปต่างจังหวัดให้ดูแลเด็กปั๊มด้วยครับ เพราะรถเล็กยังไม่ค่อยมีเครื่องดีเซล

ford-focus-tdci-bangjaak

ราคาน้ำมันที่เชียงใหม่ ณ วันที่ไป ดีเซล B5 ถูกที่สุดอยู่แล้วครับ

Ford Focus 2.0 TDCi กับการ maintenance

เรื่องที่ทุกคนกังวลใจเกี่ยวกับฟอร์ดน่าจะเป็นการ maintenance ซึ่งผมเองก็กำลังหาข้อมูลอยู่ครับ ในส่วนของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องผมคิดว่าศูนย์ไหนก็น่าจะเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นในเรื่องการซ่อมก็น่าจะเป็นศูนย์พระรามสามที่บ้านแฟนผมอยู่ใกล้พอดีครับ บางกระแสก็ว่าเป็นศูนย์พระรามสองหรือศูนย์ในเครือมหานคร น้ำมันเครื่องของฟอร์ดนั้นเปลี่ยนทุก 15,000 กิโลเมตร จากข้อมูลศูนย์รัตนาธิเบตร์มีน้ำมันเครื่องให้เลือกสองเกรดครับคือกึ่งสังเคราะห์และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์โดยทางเจ้าหน้าที่บอกว่ามีค่าเปลี่ยนประมาณพันกว่าบาทจนถึงสองพันกว่าบาทขึ้นกับเกรดน้ำมันเครื่องที่เลือก ผมคาดว่ารถคันนี้น่าจะมีค่าบำรุงรักษาที่แพงกว่ารถญี่ปุ่นทั่วไปสัก 20% ซึ่งก็ยังถูกว่า BMW มาก อย่างไรก็ตามสำหรับระยะ 15,000 และ 30,000 กิโลแรกมีคูปองเปลี่ยนน้ำมันเครื่องฟรีให้อยู่ครับ

สำหรับเรื่องการรับประกัน รถคันนี้รับประกันสามปีหรือหนึ่งแสนห้าพันกิโลอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ซึ่งเป็นการรับประกันจากการใช้งานทั่วไปไม่รวมอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองเช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป และทางเซลล์เสนอแผนการยืดระยะรับประกันเป็นห้าปีซึ่งต้องจ่ายด้วยเงินจำนวนหนึ่งครับ ผมสามารถมีเวลาตัดสินใจได้หลายเดือนจึงยังพิจารณาอยู่ โดยแผนนี้ระหว่างรถเกียร์ ธรรมดากับ Power Shift นั้นเท่ากันอยู่ นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ซื้อคูปอง maintenance ล่วงหน้าด้วย เป็นพวกเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ จากการคำนวนแล้วประหยัดได้ 15% แต่เนื่องจากต้องจ่ายเงินก่อน ผมจึงไม่ได้สนใจครับ

รวมๆแล้วสิ่งที่ผมกังวลนั้นน่าจะมีเพียงเกียร์ Power Shift ซึ่งมีครั้งแรกในไทยเท่านั้น แต่จากการใช้งานแล้วด้วยความรู้สึกส่วนตัวมันน่าจะเสียไม่ง่ายนักครับเพราะการตัดต่อกำลังของมันนุ่มนวล เปลี่ยนเกียร์ไม่มากและเกียร์ถูกออกแบบมาให้รับแรงบิดได้มากกว่าที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน ถ้าเกิดเสียจริงๆผมจะขอเข้ามาร่วมวิเคราะห์ด้วยนะครับ 😛 อย่างไรสามารถติดตามบล็อกนี้ในตอนที่ห้าจนกว่าจะครบหมื่นห้าพันกิโลว่าจะมีประเด็นอะไรเกี่ยวกับการ Maintenance บ้างหรือไม่นะครับ

สรุปตามความคิดของผม คนไทยน่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงที่มากเกินไปนิดหน่อยครับ ถ้าเราไม่ได้ใช้รถยี่ห้อที่หายากและมาบุกตลาดครั้งแรกในไทยจริงๆล่ะก็ ปัญหาของการ Maintenance น่าจะทำให้เราเสียเวลาและเสีย Cost ต่างกันไม่มากจนเกินไป แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรถหลายรายก็ได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดความกลัวใน”ความเป็นไปได้ที่น้อยนิด”ครับ แต่ผู้ที่ขยันหาข้อมูลและรถที่มีคอมมิวนิตี้เหนียวแน่นก็น่าจะผ่านไปได้ด้วยดีเพราะทุกคนช่วยกันนั่นเอง ส่วนแนวคิดของผมก็คือ เราใช้รถเป็นเวลา 95% และอาจจะต้องซ่อมและมีปัญหา 5% เราก็ไม่น่าจะต้องเอาเวลา 95% มาเป็นกังวลแทน 5% นั้นไปด้วยครับ เลือกรถที่ขับได้สนุกตลอดเวลา 95% และถ้าเกิดปัญหาก็ค่อยไปซีเรียสกับเวลา 5% นั่นทีเดียวดีกว่าครับ 😀

follow @ipattt
follow @ipattt