ทำไมต้องเขียนบล็อก

ทำไมต้องเขียนบล็อก ? Why Blog ?

คำตอบก็คือ ในยุคของ Digital Asset เหตุผลที่จะไม่เขียนบล็อกนั้นมีน้อยกว่ามากครับ

เพื่อนๆผมหลายคนเก่งกาจจบดอกเตอร์และทำงานระดับ Consult ข้ามชาติแต่เมื่อผมพยายามโน้มน้าวให้พวกเค้าสละเวลาอันมีค่าเป็นเงินเป็นทองมาเพื่อเปิดเผยข้อมูลสู่โลกกว้างกลับไม่ค่อยสนใจกันบ้างเลย

“ชั้นไม่ชอบให้คนอื่นรู้เรื่องของชั้นนี่นา กลัวมันไม่ปลอดภัยน่ะ”
เพื่อนผู้หญิงที่เคยมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีจากการถูกผู้ชายโรคจิตโทรมาคุกคามรายหนึ่งบอกผม

“ความรู้และไอเดียของเรา จะเปิดเผยได้ไงล่ะ เดี๋ยวคนก็เลียนแบบสิ”
เพื่อนที่เริ่มทำธุรกิจคนหนึ่งบอก

“ขี้เกียจนะ เห็นมันไร้สาระ เอาเวลาไปศึกษาหาความรู้อื่นๆดีกว่า”
เพื่อนทีเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งบอก

“ขืนตามเทคโนโลยีแบบนี้แย่พอดี ช่วงนี้ต้องดูแลครอบครัว”
เพื่อนที่แต่งงานและเพิ่งมีลูกบอก

สิ่งที่ผมจะบอกความจริงก็คือ การเขียนบล็อกของผมสร้างรายได้ให้ TiGERiDEA และ วงดนตรีของผมไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาท ไม่มีคำว่าเสียเวลาสำหรับผมอีกแน่นอนสำหรับการเขียนบล็อกครับ

คนยุคเว็บ 1.0

รุ่นของผม (รหัส 38) ในช่วงจบถือว่าเป็นรุ่นช่วงเปลี่ยนผ่านของเว็บ 2.0 พอดี ในยุคของเว็บ 1.0 เพื่อนๆจะเคยชินต่อการอ่านข่าวสารทางเดียวจากเว็บใหญ่ๆทั้งหลาย ต่างจากรุ่นน้องๆพอจบออกมากลับมีทั้งเว็บบอร์ดและคอมมิวนิตีี้อื่นให้เล่นและติดต่อกันอย่างมากมาย พวกเพื่อนๆรุ่นผมเวลาไปทำงานบริษัทใหญ่ๆกันช่วงแรกก็จะจับกลุ่มนินทาเจ้านายกันอย่างสนุกสนาน หัวข้อก็เช่น “เจ้านายใช้ Microsoft Office ไม่เป็น เราต้องไปทำพรีเซ้นท์ให้ล่ะ” หรือ “หัวหน้าไม่รู้จักวิธีการส่งเมล์อย่างมีประสิทธิภาพกันเลย” ฯลฯ ขณะที่พวกเราภูมิใจกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารแบบกลุ่มที่สุดเท่นั่นคือ yahoogroups และก็คงไม่มีใครคาดคิดว่าตัวเองจะล้าสมัยได้เลย

แต่พอเวลาต่อมาอีกสิบปี หลายๆคนก้าวขึ้นสู่ระดับผู้บริหาร ทุกคนใช้เวลาเพื่อประชุมและตอบอีเมล์ที่โยนกันไปมาระหว่างบริษัทและลูกค้า หลายคนรู้สึกโทรศัพท์และอีเมล์เริ่มคุกคามจึงกลับเริ่มเฉยชาและแสดงท่าทีทำให้คนอื่นรู้ว่าเค้าไม่ได้ถูก commit ด้วยอีเมล์นะ การเช็คเมล์แบบ Active เริ่มลดน้อยลงจนไม่รู้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีของ gmail ไปถึงไหนแล้ว โทรศัพท์ก็ใช้ก็มีหลายเครื่องและกลับติดต่อยากขึ้นเรื่อยๆเหมือนสมัยที่พวกเรายังไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้ ผมสังเกตว่ามีเพื่อนหลายๆคนได้ล่องหนไปจากโลก และพอเจอกันก็งงว่าคนนู้นคนนี้แต่งงานแล้วมีลูกแล้ว ส่วนคนที่จัดว่าหน้าตาดีของรุ่นก็มักมีแนวโน้มจะติดต่อทาง online ได้ยากขึ้นอาจเป็นเพราะเค้าเองมีชื่อเสียงในโลกจริงๆมากกว่าก็เป็นได้ พอถึงปัจจุบันเพื่อนผมกว่า 60% ไม่รู้จัก twitter กับ firefox ซะแล้ว หลายคนไม่เข้าใจทฤษฎี open source และกำลังดำเนินพฤติกรรมไปในทางที่ลูกน้องของตัวเองก็คงจะเริ่มนินทากันว่าเจ้านายเราหัวโบราณอีกคำรบหนึ่ง

แต่ในทางกลับกัน ผมเห็นเด็กที่มาเรียน iSchool หลายคนอายุเพียงสิบขวบสามารถทำ flash ได้และมีเว็บบล็อกเป็นของตัวเอง มีน้อง ม.5 คนนึงติดต่อเพื่อนด้วย Hi5 กับ Facebook ตลอดเวลาจนไม่รู้วิธีใช้ hotmail ซะแล้ว ! ( เค้าถามวิธีส่งเมล์กับแนบไฟล์จากผม พอผมถามว่าเวลาสมัคร Hi5 ไม่ได้ใช้ email สมัครหรอ น้องเค้าก็บอกว่าไม่ได้ใช้เพราะแฟนสมัครอีเมล์ให้ ) เด็กๆหลายคนรู้วิธีทำ jailbreak iPhone, รู้เว็บไซต์ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี, รู้แม้กระทั่งวิธีทำ SEO ส่วนเด็กๆที่เขียนบล็อกจริงจังอย่างน้อง flamekung นั้นมีความคิดอ่านที่เป็นผู้ใหญ่อย่างมากแม้ว่าจะอยู่เพียง ม.4 และวิธีเขียนจดหมายเพื่อขอความช่วยเหลือต่างๆนั้นก็ไม่ใช่ความคิดของผมสมัย ม.4 จะทำได้ รวมทั้งหลายๆคนมีสำนึกเรื่องลิขสิทธิ์โดยเขียนขออนญาตนำข้อความไปเผยแพร่ต่ออีกด้วย ( โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยเคยให้น้องเฟรมเป็นตัวแทนโรงเรียนในการติดต่อไทเกอร์ไอเดียให้ช่วยเหลือปรับปรุงด้านเว็บไซต์ แต่ทางไทเกอร์บอกว่าเราจะสอนน้องเฟรมให้กลับไปปรับปรุงเว็บโรงเรียนให้ฟรีแทน )

คนยุคเว็บ 2.0

ทีนี้กลับมาเรื่องของนั่นคือยุคเว็บ 2.0 ( User Created Content ) และการระเบิดของทะเลข้อมูลด้วยฝีมือการสนับสนุนทั้งจากเทคโนโลยี webboard และค่อยๆก้าวมาถึง CMS ที่คนทั่วไปก็สามารถ publish ข้อมูลได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรหรือเฉพาะผู้ที่ทำเว็บเป็นอีกต่อไป ตลอดจนความสามารถในการ Search และการแบ่งระดับชั้นเว็บจาก google ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการระเบิดของเว็บ .com ในปี 2001 ซึ่งเป็นช่วงปีที่รุ่นผมจบพอดี ดังข้อมูลจาก wikipedia

Characterize the differences between Web 1.0 and Web 2.0.
“move from personal websites to blogs and blog site aggregation, from publishing to participation, from web content as the outcome of large up-front investment to an ongoing and interactive process, and from content management systems to links based on tagging (folksonomy)”

เมื่อเป็นอย่างนี้ตัวตนของเราในโลก online ถ้าไม่ได้โบกไม้โบกมือส่งสัญญาณให้คนอื่นได้รับรู้ ก็จะเปรียบเสมือนเราได้จมอยู่ในก้นของทะเลแห่งข้อมูลนั่นเอง ดังนั้นในประเด็นด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลเราจึงจำเป็นต้องประกาศให้คนอื่นรู้ว่าเรามีตัวตนมิเช่นนั้นเมื่อเวลาถูกปองร้ายโดยคนไม่กี่คน สังคมจะไม่รู้ว่าเราเป็นศัตรูกับใครหรือมีความสัมพันธ์อย่างไรกับใคร เราจึงมีสิทธิ์ที่จะถูกทำร้ายเงียบๆอยู่ใต้ทะเลนั่นเองครับ ( ถ้าเปรียบเทียบกับโลกแห่งความเป็นจริงก็คือ คนที่ถูกปองร้ายถ้าทำตัวให้เป็นข่าวก่อนก็จะปลอดภัยขึ้น ) ส่วนเรื่องความดีงามหรือความสามารถของตัวเรานั้น ถ้ามั่นใจในตัวเองก็ต้องประกาศในโลกอินเตอร์เน็ทเลยครับ มันเป็นการสร้างแบรนด์ของเราว่าเราเป็นคนแบบไหนเชียวชาญด้านใด ส่วนคนจะพบหรือไม่พบนั้นอีกเรื่องหนึ่งเพราะมันเป็นสิทธิในการแวะดูของเขา เรานั้นไม่ได้ยัดเยียดให้เขารู้ ซึ่งแนวคิดนี้จะกลับกันกับการพูดโอ้อวดตัวเองกับคนอื่นที่กำลังฟังเราครับ

ประเด็นด้านการกลัวการถูกขโมยไอเดียหรือความรู้

ในด้านนี้ใครมีความคิดว่าตัวเองมีความรู้อยู่คนเดียวก็เหมือนตัวเองมีอีโก้สูง เปรียบเหมือนกับการปิดโอกาสตัวเองจากการโผล่พ้นน้ำทะเลและขัดขวางตัวเองจากการใด้รับการยอมรับทางสังคมเช่นกัน เราต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่า ในยุคแห่งข้อมูลนั้น ถ้าเรามีไอเดียใหม่ๆล่ะก็มันควรจะมีคนคิดขึ้นมาแล้วแน่นอน หรือไม่ก็พรุ่งนี้ก็มีคนคิดได้แล้วเพราะการสังเคราะห์ข้อมูลนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก สำคัญที่เราต้องรีบประกาศเพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่าเรื่องนี้เราคิดได้ก่อนต่างหาก และสำคัญที่การ Implementation สิ่งนั้นถึงจะเกิดขึ้นได้ครับ ดังสุนทรพจน์ของคุณ Guy Kawasaki ที่กล่าวที่ Babson College ในข้อ 7 และ 8 ว่า

7. อย่าวิตกจริต

ถ้าคุณมีไอเดีย แบ่งปันให้คนอื่นรู้ หารือกับคนอื่น ถามว่าคนอื่นคิดยังไง อย่าเก็บมันไว้คนเดียว สร้างพันธมิตรและแนวร่วม ออกใบอนุญาตให้คนอื่นเอาไปใช้

ทำทั้งหมดนี้เพราะอย่างที่ผมพูดไปแล้วว่า กุญแจไม่ได้อยู่ที่ความพิเศษของไอเดีย แต่อยู่ที่ความสามารถของคุณที่จะทำให้มันเป็นจริง

ถ้าคุณมีไอเดียดี ตั้งสมมติฐานได้เลยว่ามีคนอีกห้าคนที่กำลังทำเรื่องเดียวกันนี้อยู่ ถ้าคุณมีไอเดียสุดยอด ก็ตั้งสมมติฐานได้เลยว่ามีคนอีกสิบคนกำลังทำเรื่องนี้อยู่เช่นกัน

ผมไม่เคยพบผู้ประกอบการคนไหนที่วิตกจริต ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จล้วนแบ่งปันไอเดียของพวกเขา แบ่งปันหุ้นของพวกเขา แบ่งปันความฝันของพวกเขา และเปลือยจิตวิญญาณของพวกเขา

8. เน้นที่การลงมือปฎฺิบัติ

ในช่วงสิบห้าปีแรกของอาชีพของผม ผมคิดว่ากุญแจของการเป็นผู้ประกอบการคือคุณภาพของไอเดีย แต่ผมคิดผิด ไอเดียดีๆนั้นป็นเรื่องง่าย แม้แต่ไอเดียสุดยอดก็ง่ายเหมือนกัน

ไอเดียไม่ใช่กุญแจของการเป็นผู้ประกอบการ การลงมือปฏิบัติต่างหากที่เป็นกุญแจ และยิ่งไปกว่านั้น กุญแจของการลงมือปฎฺิบัติคือการสร้างทีมที่ดี

ทุกคนสามารถนั่งคิดไอเดียดีๆได้ทั้งวัน ผมจะให้ไอเดียที่มีค่าหลายพันล้านเหรียญกับคุณตรงนี้เลย ? สร้างระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเร็ว มีขนาดเล็ก ใช้ง่าย และไม่มีบั๊ก โอเคครับ เอามันไปใช้ได้เลย

มาหาผมนะถ้าคุณทำได้และต้องการเงินทุน

ประเด็นด้านการศึกษาและความนับถือในความรู้

การเขียนบล็อกนั้นแน่นอนว่าจะต้องทำให้ผู้เขียนมีความรู้มากขึ้นเรื่อยๆครับ เพราะเราต้องหาข้อมูลอ้างอิงเรื่องเรื่องที่เราเขียน และระหว่างทางก็ได้ความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา รวมทั้งทำให้วุฒิภาวะในการตอบคำถามของเราถูกพัฒนาขึ้นด้วยเช่นกัน และเราก็ยังมีแนวทางชัดเจนต่อเรื่องที่เรากำลังศึกษาด้วย นอกจากนี้เรายังมีโอกาสที่จะได้ได้รับการยอมรับในเรื่องที่เรากำลังพูด เพราะว่าเราได้ประกาศมันไปสู่สาธารณชนแล้วนั่นเองด้วยความรับผิดชอบของตัวเราเอง ถ้าบทความนั้นๆไม่ได้รับการโต้เถียงจริงจังจะเปรียบเสมือนบทความของเราได้รับการยอมรับโดยนัยและมีน้ำหนักมากกว่าบทความที่ไม่ได้ published สู่สาธารณชนแน่นอน

ประเด็นด้านการรบกวนเวลาจริงบนโลก

สำหรับเรื่องนี้ก็ต่างจิตต่างใจครับ ผมเองมีสังคมมากมายบนอินเตอร์เน็ท จำนวนคนที่รู้จักผมในโลกอินเตอร์เน็ทกับบนโลกจริงนั้นมีพอๆกันเพราะผมชอบเข้าสังคมเช่นกัน แต่ถ้าเรามีประโยชน์หรือเป็นผู้รู้จริงด้านใดด้านหนึ่งในโลกอินเตอร์เน็ท ไม่ช้าไม่นานมันก็จะสนับสนุนโลกจริงครับ ปัจจุบันมีกลไกหลายอย่างที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆในโลกอินเตอร์เน็ทได้ปรากฏตัวออกมาจริงๆมากขึ้นเช่น Nectec ได้จัดสัมมนาและเชิญผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณเม่น ( มีชื่อด้าน WordPress ) คุณบัง ( Joomla ! ) และคุณสุกรี ( Drupal และ twitter ) คุณมาร์ค แห่ง Blognone รวมทั้งผู้มีชื่อเสียงด้านเบื้องหลังของโลกการทำดนตรี ( ป๋าติด แห่ง patid.com ) ก็เป็นผู้ที่มีคนรู้จักมากขึ้นเช่นกัน และถ้าเปรียบว่าเวลาคือเงิน การตั้งใจเขียนบล็อกๆเช่นบล็อกของผมนั้นสนับสนุนธุรกิจของบริษัทและโรงเรียนอย่างมาก แม้แต่โพสเรื่อง วงดนตรีงานแต่งงาน ก็ยังมีัคนติดต่อมาเป็นประจำทุกวันเช่นกันครับ ในความเป็นจริงแม้ว่าเราจะเสียเวลากับโลกออนไลน์ไปหลายส่วน แต่ทุกๆวันก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ทำให้เราประหยัดเวลาและสร้างชื่อในโลกออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

Web 2.0 in 5 minutes

Information R/evolution

( อย่าเพ่งมาก มึนหัวนิดหน่อยครับ 😛 )

ด้านล่างผมแนบจดหมายหว่านล้อมให้รุ่นพี่คนหนึ่งที่ทำงานด้านพลังงานมาเขียนบล็อก

energythai.com

คุณ xxx ครับ

ลองดูที่บล็อก energythai.com ก่อน ผมเขียนด้วยเหมือนกันกันครับลองดู http://www.energythai.com/2009/mechanical-hybrid/ สำหรับ blog ส่วนตัวของผมตอนนี้มีชื่อเสียงพอสมควร ลองเซิร์ท “พัชร” ดูจะอยู่อันดับ 3 ถ้าเซิร์ท “ธุรกิจทำเว็บ” จะอยู่อันดับต้นๆเช่นกัน และเซิร์ท “เล่นดนตรี งานแต่งงาน” ก็จะติดอันดับด้วยครับ 🙂

ความสำคัญของการเขียนบล็อกคือ เมือบล็อกดังเราจะเป็นที่รู้จักดีและจะมีงานต่อยอดมาได้เรื่อยๆอาจได้รับเชิญไปสัมมนา และประชุมจากกระทรวงทบวงกรมต่างๆ และจะเริ่มมีอิทธิพล ถ้ามีใครมาทำอะไรไม่ดีกับเราเค้าต้องระวังตัวไว้ครับ (ลองเซิร์ทชื่อบริษัท “image consultant and services” ใน google.co.th) จะพบโพสผมเช่นกัน) สำหรับผมเองนั้น การเขียนบล็อกคือการทำ marketing ที่ดีครับ ลูกค้าที่มาจากบล็อกของผมจะเป็นลูกค้าที่มีความเข้าใจแล้วทั้งสิ้นเพราะส่วนใหญ่จะรู้จักวิธีคิดของผมแล้ว หรือเว็บไซต์ ischool.in.th ที่มีนักเรียนมาเรื่อยๆทุกอย่างมาจากการเขียนบล็อกเพียวๆทั้งที่ตอนแรก iSchool ตั้งขึ้นมานั้นไม่มีป้ายชื่อโรงเรียนด้วยซ้ำ แต่เป็นเพราะคีย์เวิร์ด “เรียน mac ” กับ ” เรียน กราฟฟิค”และ “เรียน ดนตรีสำหรับเด็ก” ที่ขึ้นอันดับแรกๆนั่นเอง

ในด้านการพัฒนาตนเอง การเขียนบล็อกเพื่อ publish สู่โลกกว้างก็เหมือนการทำวิจัยเล็กๆ เราต้องหาข้อมูลอ้างอิงต่างๆ และการหาข้อมูลทำให้เราเจออะไรอีกมากมาย มีความรู้สะสมขึ้นเรื่อยๆยิ่งให้ ยิ่งได้ ลองคิดดูว่าถ้าเราเขียนครบ 50 เรื่องด้านนึงจะมีความรู้มากขนาดไหน ไม่ต้องกังวลหรือหวงวิชาครับ โลกได้เปลี่ยนยุคไปแล้ว

สำหรับคอนเซ็ปการเขียนบล็อกร่วมกันในทิศทางเดียวกัน หรือช่วยกันเขียนบล็อกนั้นในไทยมีที่ประสบความสำเร็จเยอะครับอย่างเช่น http://www.blognone.com/ ซึ่งเป็นข่าว IT แบบอ่านง่ายให้เกียรตินั้นมีผู้ subscribe ติดตามถึงมากกว่า 7000 คน มีคนเขียนข่าวอยู่ 10 กว่าคน หรือว่าจะเป็น http://www.usably.net/ ก็มีนักเขียนหลายคนเช่นกันครับ

เว็บ energythai.com นั้น value ของชื่อบล็อกนั้นสำคัญมากๆ เพราะเราจด domain ชื่อนี้มาได้ยากมากครับและผู้ที่เห็นชื่อจะคิดว่าเป็นบล็อกใหญ่ระดับประเทศแน่นอน เจ้าของเก่าอาจทำหลุดไว้พอดีแล้วเราโชคดีมากที่เสียบแทนได้ ไม่งั้นอาจต้องซื้อชื่อด้วยเงินระดับมากกว่าสี่แสนบาท

ในเบื้องต้นอยากให้คุณ xxxคิด username ตัวเองก่อน และผมจะ config ให้อีกทีครับแล้วเดี๋ยวผมจะบอกวิธีให้

สำหรับการเขียนบล็อกให้ถูกต้องและติด google นั้นผมอธิบายไว้ในโพสนี้
https://ipattt.com/2009/เขียนบล็อก-wordpress-เบื้องต้น/

ขอบคุณคร้าบบบบ หวังว่าจะสนใจนะครับ ^^