ติดตามข่าวและกระแสโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ช่วงนี้

ข่าวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในช่วงนี้ทำให้เกิดการถกเถียงกันในวงกว้างถึงวงการนิวเคลียร์ ไว้ผมจะรวบรวมประเด็นมาเป็นระยะๆครับ ปัญหาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมีผลประโยชน์และการเสียประโยชน์อย่างมหาศาลนั้นเราต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เนื่องจากผู้ต่อต้านก็จะอ้าง Worst case ตลอด (เช่น NGO บางกลุ่มบอกว่าถ้ามีโรงไฟฟ้าแล้วจะเป็นมะเร็งทั้งหมู่บ้าน ) และผู้สนับสนุนก็จะพูดแต่ข้อดีโดยไม่รวมถึงวิธีการจัดการกากนิวเคลียร์ที่ซับซ้อนและอุปสรรคด้านการพัฒนาบุคลากรฯลฯครับ

สำหรับคำถามด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เราควรตั้งก็คือ

1. ปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คราวนี้เกิดปัญหาจากแผ่นดินไหวและซึนามิที่รุนแรงที่สุดในญี่ปุ่น ไม่ได้เกิดปัญหาขึ้นด้วยตัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของมันเอง ดังนั้นการตั้งคำถามเชิงพัฒนาควรเป็นประเด็นการแก้ไขหรือป้องกันปัญหาจากแผ่นดินไหวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือในเชิงความแข็งแรงโครงสร้างด้านพลังงานของไทยเช่นเรื่องรอยเลื่อนกับเขื่อนไทย และท่อ City Gas ก๊าซของ ปตท.ซึ่งเดินอยู่ในเขตเมืองและเป็นสาเหตของการระเบิดในเมืองอันดับแรกๆของญี่ปุ่นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

2. ความรุนแรงของปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากแผ่นดินไหว ควรมองที่ข้อเท็จจริงและติดตามผลที่จะเกิดขึ้น อย่านำข้อเท็จจริงในอดีตมาบวกกับปัญหาปัจจุบัน สื่อที่เราดูอยู่มีแนวโน้มนำเสนอเป็นอย่างไร ? ข่าวนิวเคลียร์ดูมีความสำคัญเกินกว่าปัญหาหลักนั่นคือมีผู้สูญหายหลายหมื่นคนหรือไม่ ?

3. เราไม่ไว้ใจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือไม่ไว้ใจคนไทย ? และเราไว้ใจคนเวียดนามหรือไม่เพราะเวียดนามยังคงเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง และโรงไฟฟ้าเวียดนามห่างไทยเพียง 900 กิโลเมตร ซ้ำยังอยู่ใกล้เขตแผ่นดินไหว ” Ring of fire ” มากกว่าเรา ( อินโดนีเชีย ยังคงเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เช่นกัน )

4. เนื่องจากพลังงาน ลม และแสงอาทิตย์ ยังไม่มีความเป็นไปได้ในการสร้างพลังงานไฟฟ้าแบบจำนวนมาก ดังนั้นหากเรามีความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้นในอนาคต และก๊าชธรรมชาติกำลังหมดลง คุณมีข้อเสนออย่างไร ? แนวทางของข้อเสนอจะเป็นการประหยัดพลังงาน หรือการใช้พลังงานในการสร้างไฟฟ้า ก็ได้ครับ ( ต้นทุนค่าไฟต่อหน่วยของพลังแสงอาทิตย์10-11 บ./หน่วย, พลังงานลม 6บ/หน่วย, ถ่านหิน2.94 บ/หน่วย, นิวเคลียร์ตำ่กว่าหรือเท่ากับถ่านหิน ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลโดยประมาณ ยังไม่แน่ใจว่ารวมต้นทุนการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือไม่ )

5. สำหรับผู้ที่สนับสนุนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ควรศึกษาเรื่องการกำจัดกากนิวเคลียร์และต้นทุนเพิ่มเติมนอกจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวด้วย (ส่วนใหญ่คนสนับสนุนจะไม่ได้รับผิดชอบ) และศึกษาเรื่องการจัดการกองทุนและค่าชดเชยทดแทนของชุมชนที่อยู่รอบๆบริเวณของโรงไฟฟ้าด้วยเช่นกัน ความเดือดร้อนของชุมชน”ส่วนหนึ่ง”อาจแก้ได้ด้วยเศรษฐศาสตร์ ( ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นสมมติถ้าโรงงานที่อยู่ติดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ค่าไฟฟรีทำให้ต้นทุนการผลิตได้เปรียบมาก ใครๆก็อยากไปอยู่ แต่โรงงานก็ต้องจ่ายเงินให้พนักงานแพง เป็นต้น )

ผมเองจะติดตามผ่านบล็อกวิทยาศาสตร์ jusci.net ครับ เขียนได้ดีและอัพเดททีเดียว

ญี่ปุ่นประกาศยกระดับอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นระดับ 5 ในขณะที่สถานการณ์คลี่คลาย
สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาดีขึ้นแล้ว?
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด!?!? ฟุกุชิมาจะเป็น Chernobyl รอบสองหรือไม่?
ระเบิดบริเวณเตาที่สาม
ระเบิดบริเวณเตาที่สอง
ไฟไหม้เตาที่สี่
ปัญหาใหม่ของโรงงานไฟฟ้าฟุกุชิมา: ระดับน้ำหล่อเย็นแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเผย “เราเคยค้านการสร้างเตาปฏิกรณ์ Mark 1 มาตั้งแต่ต้น

ล่าสุด กรณีอุบัติเหตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ใน wikipedia

บล็อกของ @MrVop

การ์ตูน ชุด การรับมือกับสึนามิ (UNESCO-ICO)
เมืองไทยควรมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไหม (เชิงประชดนิดหน่อย :P)

บล็อกให้ความรู้ของ กฟผ เกี่ยวกับนิวเคลียร์ ข้อมูลจัดว่าดีเลยแต่ให้ข้อเสียน้อยไปหน่อย

รวมความรู้เกี่ยวกับนิวเคลียร์
คำถามที่พบบ่อย (แนะนำ)

ทำไมคนญี่ปุ่นใช้นิวเคลียร์

ถึงแม้ว่าญึ่ปุ่นจะเผชิญกับระเบิดนิวเคลียร์อันร้ายแรงและทำให้ประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยความน่ากลัวของนิวเคลียร์ แต่ความมุ่งมั่นที่จะแข่งขันกับโลกตะวันตกทำให้เกิดองค์กรศึกษาที่เรื่องพลังงานนิวเคลียร์อย่างมากมาย และรัฐบาลก็กำหนดเป็นนโยบายระดับชาติ ประชาชนเข้าใจและมีความรู้ ญี่ปุ่นมีพื้นที่น้อย ประชาชนหนาแน่นมากอันดับต้นๆของโลก แต่สามารถสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถึง 17 ที่นั้นไม่ธรรมดา แน่นอนว่าจากผลกระทบในครั้งนี้จะทำให้ญี่ปุ่นมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมต่อไป
นิวเคลียร์ : โรงไฟฟ้าทางเลือก’ญี่ปุ่น’ กฎเหล็กโปร่งใส-ประชาชนยินยอม
ภาพรวม Nuclear ในญี่ปุ่น
กรณีศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หมู่บ้านคาริวะ นีกาตะ ชาวบ้านเห็นว่าโรงไฟฟ้าจำเป็น
โครงการพลังงานนิวเคลียร์ก็ยังมีแนวโน้มอนาคตที่สดใสในหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะแถบเอเชีย

กรณีศึกษาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เคยเกิดอุบัติเหต

Chernobyl disaster ระดับ7
ประวัติ Chernobyl Nuclear Power Plant
Three Mile Island accident ระดับ 5
USA ให้ตรวจสอบเหตระเบิดที่ญี่ปุ่น และทำแผนให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยขึ้น
สาเหตของอุบัติเหตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา มีรูปประกอบเข้าใจง่าย (แต่ไม่แนะนำให้อ่านความเห็น)

อธิบายปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา ด้วยวีดีโอรูปแบบ ตดและอึ เจ๋งจริงๆครับ คำว่า สารกัมมันตรังสี คือ อึ ส่วนกัมมันตภาพรังสีคือ ตด นั่นเองครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วไปและสำนักข่าวไม่ค่อยเข้าใจ ใช้ผิดเป็นประจำ 😀 ขอบคุณ @rathwjj ที่นำมาแชร์ครับ

forum ที่คุยกันเรื่องนิวเคลียร์และน่าสนใจ

http://www.politics.ie/environment/155638
http://boards.straightdope.com/sdmb/showthread.php?t=600660

ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านนิวเคลียร์

ความรู้ทั่วไปเรื่องแร่ยูเรเนี่ยม
อุบัติเหตุทางรังสีที่เกิดขึ้นที่สมุทรปราการ.pdf

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมา เป็นโรงไฟฟ้าระบบเก่าซึ่งปัจจุบันมีอายุสี่สิบปีและมีโครงการจะปลดระวาง ยืนหยัดผ่านร้อนผ่านหนาวและแผ่นดินไหวมานับไม่ถ้วน ความแข็งแรงของโครงสร้างนั้นแม้จะผ่านแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญึ่ปุ่นที่ 9 ริกเตอร์ก็ยังไม่เกิดอุบัติเหตในทันที สาเหตหลักๆเกิดจากซึนามิทำให้น้ำท่วมระบบปั๊มน้ำขัดข้อง และการประกาศภาวะฉุกเฉินของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นิวเคลียร์ญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี 1970
fukushima-reactor