NGO กำลังยึดหัวหาด Social Media , Corporate ตามไม่ทัน

Social Media ใช้แสดงจุดยืนส่วนบุคคลได้ง่าย และทำให้ NGO ทำงานง่ายขึ้น

ในช่วงหลังๆ ผมรู้สึกว่า Social Media ทำให้ NGO หลายๆคนเปล่งประกาย ด้วยจุดยืนที่ประกอบไปด้วยคุณความดีที่สังคมรับรู้ได้ง่ายๆหลายๆอย่าง รวมทั้งการประกาศเจตนารมณ์ส่วนบุคคลก็ทำได้ง่ายและมีพลังกว่าสมัยก่อน ในขณะที่ Corporate มีข้อจำกัดในการสนับสนุนพนักงานหรือผู้บริหารที่ตัวบุคคลในการทำ CSR

แรงจูงใจของ Social Media มาจากปัจเจกของแต่ละบุคคล หมายถึงการสะสม Social Profile ของแต่ละคนครับ ดูได้ชัดมากจาก twitter และ Google+ โดยจะเห็นว่าไม่ค่อยมีใครใส่ใจตาม account ขององค์กร ส่วนตัวองค์กรเองก็ไม่มีแรงจูงในในการสะสม Social asset เช่นกัน หลายครั้งการกำหนดเป้าหมายในการสะสม Social Asset ขององค์กรนั้นก็ถูกจับได้ง่ายๆด้วยความประดักประเดิดไม่เป็นธรรมชาติของ Content ที่ปล่อยออกมา ดังนั้น Corporate CSR สุดท้ายแล้วจึงมักไปผ่าน Agency และออกสื่อหลักแบบคลาสสิคด้วยวิธีดั้งเดิมอยู่ครับ ซึ่งในอนาคตมันไม่น่าเพียงพอ พิสูจน์มาแล้วจากการครอบครองสื่อของรัฐบาลที่ผ่านมาก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

The Connection
The Connection

ภาพจาก http://www.praphansarn.com

กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจลงพื้นที่ชุมชน แต่ไม่สามารถ Connect Social online ได้

รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งด้านพลังงาน ที่ผ่านมามุ่งสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นหลัก เนื่องจากการทำงานต้องใช้ลงไปใช้ทรัพยากรของชุมชน และอาจสร้างมลภาวะทำให้ชุมชนนั้นๆเดือดร้อนได้ เพิ่งเริ่มมาโฆษณาออกสื่อทีวีในช่วงหลังและไม่ได้ผลตอบรับด้าน CSR ที่ดีเท่าไหร่นัก ผลก็คือรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ยังคงถูกประท้วงอยู่เสมอและยังถูก Amplified เรื่องราวด้านมลภาวะโดย NGO ที่เข้าไป Connect กับคนในพื้นที่อีกด้วย

เมื่อมามองข้อเท็จจริงจะพบว่า คนที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจและ Corperate ไม่สามารถเป็น One Man show ด้าน Social Media ได้เลย (หลายๆที่บล็อก Social Network ด้วยซ้ำ) ไม่สามารถนำเสนอแนวความคิดของตนเองได้อย่างชัดเจน มีบางคนพยายามที่จะดำเนินโครงการต่างๆด้วยตนเองในการทำ CSR แต่ก็ไม่สามารถทำได้เพราะยังมีความทับซ้อนกับภาพขององค์กรที่ถูกจำกัดการนำเสนอไว้ด้วยนโยบายที่ซับซ้อน โดยนโยบายองค์กรยังคงเป็นการสร้างสัมพันธ์กับประชาชนในพื้นที่และไม่ได้ตระหนักว่า NGO ได้ Connect ข้อมูลต่างๆจากคนในพื้นที่ออกมาสู่โลกกว้างแล้วด้วยพลังส่วนบุคคล

ความคิดเห็นกรณีรัฐบาลและ Social Media

เนื่องจากรัฐบาล”ไม่มีเจ้าของ” คนที่มีอิทธิพลในรัฐบาลจึงทยอยมาใช้ Social Media ได้ง่ายโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะชี้แจงนโยบายส่วนตัวและความคิดเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นเหล่านักการเมืองที่ใช้ Social Media แต่เนื่องจากความไม่มีเจ้าของนี่เอง ทำให้ผู้ที่ใช้ Social Media เหล่านั้นไม่ได้นึกถึงผลประโยชน์ของรัฐบาลเป็นที่ตั้ง แต่นึกถึงผลประโยชน์ของตนเอง (หรือพรรค) ก่อนคนอื่น ถ้ามองกว้างๆผู้ที่เป็นเจ้าของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือนายกรัฐมนตรีนั่นเอง

ดังนั้นหากนายกฯไม่ได้มีความเป็นเจ้าของรัฐบาล และไม่สามารถออกความเห็นให้คนเชื่อได้เด็ดขาด ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีบุคคลอื่นที่มีอิทธิพลมากขึ้นมาทดแทนเช่นกัน ส่วน NGO ก็จะเลือกคัดค้านที่ตัวบุคคลสำคัญแทนการคัดค้านรัฐบาลซึ่ง “ไม่มีเจ้าของ” ครับ

@nuling ตัวอย่าง NGO ที่เปล่งประกายใน Social Network
@nuling ตัวอย่าง NGO ที่เปล่งประกายใน Social Network

NGO ยุคใหม่ อาจเป็นปัจเจกและมีการดำรงค์อยู่อย่างหลากหลายมากขึ้น

เท่าที่ผมได้ทำงานมากับ @iWhale รู้สึกว่าพี่เอ๋อมีบทบาททางสังคมมากขึ้น โดยมีความกำ้กึ่งในด้าน Corporate, Social Influencer, และ NGO อยู่พอสมควร

@iwhale ยังไม่รู้ว่าพี่เค้าเป็นอะไรแน่ แต่ถ้ามีภัยพิบัติส่วนใหญ่ต้องนึกถึงเค้าครับ
@iwhale ยังไม่รู้ว่าพี่เค้าเป็นอะไรแน่ แต่ถ้ามีภัยพิบัติส่วนใหญ่ต้องนึกถึงเค้าครับ

ในครั้งทำงานด้านน้ำท่วม พี่เอ๋อเป็นตัวกลางของ NGO หลากหลายกลุ่มมากๆ และมีการใช้ Technology ใหม่ๆมาผลักดันการทำงานอาสากลุ่มใหม่ๆ การทำงานดังกล่าวทำให้ผมได้เห็นความไม่ทันสมัยของ NGO หลายกลุ่มเช่นเดียวกัน ทำให้เห็นว่า Technology นั้นนอกจากทำให้ NGO ทรงอิทธิพลขึ้น ทำงานง่ายขึ้น แต่กลับทำให้บุคคลธรรมดาสามารถทำกิจกรรมที่ซ้อนทับกับ NGO ได้ง่ายขึ้นมากกว่าแต่ก่อนด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้า NGO ไม่ใช่ตัวจริงที่สร้างคณูปการให้สังคม สุดท้ายก็จะถูกกลืนหายไปในกระแสสังคมอยู่ดีครับ