Thailand Anti-Corruption EXPO 2010 จะส่งผลดีจริงหรือ

Thailand Anti - Corruption Expo 2010
Thailand Anti - Corruption Expo 2010

เมื่ิอวันก่อนได้นั่งคุยนอกรอบกับ CEO หลายท่านที่อยู่ในธุรกิจ IT บางท่านมีองค์กรที่มีพนักงานระดับเกือบพันคน ในช่วงว่างก็มีการเสวนาด้านคอรับชั่น โดยยกประเด็นความปวดหัวที่จะเข้าร่วม Thailand Anti-Corruption ดีหรือไม่ ?

ความเห็นของ CEO คนที่มีพนักงานจำนวนเกือบพันคนนี้บอกว่า การเข้าร่วม Thailand Anti-Corruption จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ แต่อาจทำให้เกิดการสูญเสียรายได้ประมาณ ประมาณ 1200 ล้านบาท เพราะจะต้องตัดลูกค้าบางรายออกจากสารบบไปเลย และสรรพากรก็จะสงสัยและตรวจสอบมากขึ้นเพราะสรรพากรมีเป้าหมายในการเก็บภาษีอยู่ และความจริงไม่สามารถถอนตัวได้ด้วยเพราะบริษัทนี้ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานให้หน่วยงานความมั่นคงมาระยะหนึ่ง หากถอนตัว หน่วยงานความมั่นคงจะเสียสูญไปช่วงหนึ่งเลยทีเดียว (และอาจส่งผลเสียต่อประเทศบ้างไม่มากก็น้อย)

วงเสวนาสรุปได้ว่า การทำโครงการใหญ่ของรัฐฯนั้น (หลักล้าน) เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการคอรัปชั่นได้เลย ดังนั้นการทำงานโดยไม่มีคอรัปชั่น คือการไม่ทำงานกับภาครัฐนั่นเอง แต่เมื่อบริษัทไม่ทำงานกับภาครัฐฯและถอนตัว ก็จะมีบริษัทเหลือจำนวนน้อยลงที่ไปรับงานภาครัฐ เกิดคู่เทียบน้อยลง ทำให้งานราคาแพงและคุณภาพต่ำลง เรียกว่ารัฐเสียหายหนักยิ่งกว่าเดิม และถ้าไม่มีบริษัทมืออาชีพใดทำงานกับรัฐเลย รัฐก็จะเสียหายมากที่สุดจากการที่คนที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐต้องหาบริษัทที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับงาน หรือตั้งบริษัทใหม่มารับงานซะเอง ดังนั้น Thailand Anti-Corruption EXPO อาจส่งผลเสียก็เป็นไปได้ ?!?

การบินไทย ใน Thailand Anti - Corruption Expo 2010
การบินไทย ใน Thailand Anti - Corruption Expo 2010

คอรัปชั่นกับเศรษฐศาสตร์

วิธีที่จะลดคอรัปชั่นมีไอเดียที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันการคอรัปชั่นมี “ราคาตลาด”อยู่ เช่นวงการไอทีประมาณ 25% และวงการก่อสร้างประมาณ 35% หากเอกชนสามารถรวมกันได้ทั้งหมดเพื่อตกลง “กดดันราคาตลาด” ให้ต่ำลง ก็จะทำให้อัตราการคอรัปชั่นนั้นต่ำลงก็เป็นได้ คืออย่าหนีการทำงานกับราชการแต่ต้องรวมกันสู้ ( เสียดายที่ไม่มี สมาคมราคาตลาดคอรัปชั่น 😛 )

ฟังดูอาจแปลกๆนั่นเป็นเพราะปกติเราพยายามแก้คอรัปชั่นด้วยหลักศีลธรรม แต่ต้นตอคอรัปชั่นเกิดจากเศรษฐศาสตร์ การแก้ด้วยเศรษฐศาสตร์นั้นน่าจะตรงจุดกว่า ยกตัวอย่างเช่นคนที่มีศีลธรรมนั้นก็มีศีลธรรม at what cost? ด้วยเช่นกัน คนๆนึงถ้าให้พันนึงไม่เอา ให้ล้านนึงก็อาจจะเอาถ้าคนเหล่านั้นมีครอบครัวต้องเลี้ยงดู หรือมีแม่ที่ป่วยอยู่ (ดูมีศีลธรรมในแง่การเลี้ยงครอบครัวแทน) แต่ถ้าคนนั้นมีเงินเดือนล้านนึง ให้สิบล้านก็ยังไม่น่าจะเอาเพราะไม่คุ้มความเสี่ยง เป็นต้น ( ผู้ว่าแบ๊งค์ชาติได้เงินเดือน 2ล้าน แต่นายกได้เงินเดือนไม่ถึง แสนห้า ทั้งที่ต้องตัดสินผลประโยชน์จำนวนมาก หมายความว่าอย่างไร ? )

อีกประการคือ ผู้ที่ทำงานราชการนั้นไม่มี Risk Awards หรือรางวัลตอบแทนความเสี่ยงจากการรับผิดชอบงาน ดังนั้นการทำงานในปัจจบัน ผู้รับผิดชอบได้ค่าตอบแทนไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่นให้พนักงานเงินเดือนเพียงหมื่นกว่าบาทรับผิดชอบเป็นคณะกรรมการในโครงการหลายล้านบาท ให้ตำรวจเงินเดือนหลักพันบาทพกปืนและต้องทำงานเสี่ยงๆหลายอย่าง ดังนั้นการคอรัปชั่นจึงเป็นเหมือน”ภาษีเสมือน” หรือ Tax ส่วนเสริมในการมาทดแทนสิ่งดังกล่าว เปรียบเทียบทางเศรษฐศาสตร์ตัวอย่างคือ New Zealand เลือกให้เงินเดือนตำรวจสูงๆ ซึ่งก็คือภาษีประชาชนต้องเสียสูงไปให้เงินเดือนตำรวจ กับไทยเลือกให้เงินเดือนตำรวจต่ำ เราเสียภาษีให้ตำรวจต่ำ แต่ต้องจ่ายให้ตำรวจเพื่อจูงใจให้ดำเนินการเรื่องต่างๆให้เราแทน ( เราสามารถลดคอรัปชั่นได้โดยการเปลี่ยนคำว่าคอรับชั่นเป็นคำว่า คอมมิสชั่นเรทแทนภาษีส่วนเพิ่มนี้ )

การพิจารณาข้างต้นนั้น จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อ การคอรัปชั่นเป็นการคอรัปชั่น”ชั้นดี” หมายถึง ผู้มีความสามารถ ทำโครงการที่เป็นผลดีต่อองค์กร แล้วกินตามน้ำ ในส่วนนี้ยังถือว่ามีผลเสียน้อยกว่าการคอรัปชั่นแบบสูญเปล่า นั่นคือโครงการไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่องค์กรเลย (เปลี่ยนเสมือนเขียนโครงการที่ไม่มีประโยชน์ขึ้นมาเพื่อนำเงินคอรัปชั่นไปใช้ มีตัวอย่างในองค์กรด้านการสื่อสารแห่งหนึ่งมีเงินจมกับโครงการที่ไม่ได้ใช้ไปถึง 4พันล้านบาท) ดังนั้นถ้ากลุ่มเอกชนจะช่วยได้ ต้องหลักเลี่ยงประเด็นหลังให้มากที่สุด

การจัดกิจกรรมเสวนาด้านคอรัปชั่นในไทยมีมาก แต่ยากที่จะแก้ไขเพราะยากที่จะนำความจริงมาสู๋สาธารณะ
การจัดกิจกรรมเสวนาด้านคอรัปชั่นในไทยมีมาก แต่ยากที่จะแก้ไขเพราะยากที่จะนำความจริงมาสู๋สาธารณะ

โพสน่าสนใจ

คอร์รััปชันเป็นทางลัดหรือวิถีทางของคนที่ไม่อยากทำงาน จากบล็อกจ๋ง
ความไร้ประสิทธิภาพ กับ การโกงกิน บล็อกเก่าผม