แนวคิดการจัดตั้ง คชอ.ภาคประชาชน ( กำลังตั้งชื่อ )

วันที่ 28 ตค ที่ผ่านมา มีการประชุมภาคประชาชนที่ตึก SM Tower ครับ

ดูรูปเต็มๆได้ที่ facebook

บรรยากาศที่ห้องประชุม
บรรยากาศที่ห้องประชุม
@iwhale เปิดด้วยการ present แนวคิด ตาม slide ด้านล่างครับ
@iwhale เปิดด้วยการ present แนวคิด ตาม slide ด้านล่างครับ

สมาชิกเสนอ3 สิ่งที่เป็นเป้าหมาย

– พื้นที่ที่จะเกิด อย่าเกิด
– พื้นที่ที่เกิดแล้วต้องช่วย
– พื้นที่ที่หายแล้ว ต้องฟื้นฟู

– ต้องหาวิธีเชื่อมภาคประชาชนให้ได้

รายละเอียดที่ทีมงานเสนอเพิ่ม

– การช่วยเหลือช่วงวิกฤติ หนุนให้ชุมชนช่วยชุมชน ,หนุนให้ชุมชนที่ประสบภัยมีระบบช่วยตัวเอง มีคณะทำงานแบ่งเป็นทีมประสานงาน ทีมสำรวจความเสียหาย ทีมจัดการอาหารทีมจัดและกระจายของบริจาค ทีมการเงิน ทีมรักษาความปลอดภัยและความสะอาด ฯลฯ

– การฟื้นฟูเบื้องต้น ตั้งค่ายฟื้นฟูหลังน้ำท่วม หนุนให้ชุมชน เครือข่าย นักศึกษา ผู้มีจิจอาสา ไปช่วยลงแรงซ่อมโรงเรียน ศาสนสถาน พื้นที่ส่วนกลางชุมชน รวมทั้งบ้านที่มีปัญหาจากน้ำท่วม โดยให้ความสำคัยกับการนัดการประบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน และชุมชนที่เดือดร้อนต้องมาลงแรงด้วย

– แผนเตรียมความหร้อมรับมือภัยพิบัติ สนับสนนุนให้ชุมชนมีความรู้ในการจัดทำแผนป้องกันภัยพิบัติโดยชุมชน เกิดกลไห เกิดแผน เกิดการฝึกซ้อมเป็นระยะ และสร้างกระบวรการเชื่อโยงอื่นๆ

ประเด็นเสนอสำคัญๆต่างๆ

@iwhale

Present Thaiflood และแนวคิดการจัดตั้ง คชอ.ภาคประชาชน

ทีมคนไทยใจดี

– facebook เครือข่ายระดมได้ดี ทีมสามารถระดมได้เร็วมาก
– เสนอ : หมู่บ้านเองควร-มีศูนย์ที่จัดการแก้ไขปัญหาดี น่าจะใช้งบ 4-50000 ต่อหมู่บ้าน
– คนไทยมีน้ำใจ แต่ขาดจัดการ

– ควรมีกองประสานงาน สื่อ จัดการอาสาได้ สิ่งของ ปักหมุดพื้นที่ได้เร็ว
– สื่อระดมได้มากแต่กระจุกความช่วยเหลือ

ทีมงานเสนอ

– สำนักนายกฯ ควรออกกฎห้ามให้ข้าราชการ นายกฯ PR ตัวเอง เพราะทำให้อาสาไม่พอใจ
– ควรRegister คนไม่มีทะเบียน ( แต่คนไม่มีทะเบียนนั้นมีรายชื่ออยู่ที่อนามัยอยู่แล้ว)

ดร สมิทธ

ดร.สมิทธ เสนอต้นเหตที่แท้จริงของน้ำท่วมให้ไปคิด
ดร.สมิทธ เสนอต้นเหตที่แท้จริงของน้ำท่วมให้ไปคิด

– ภาครัฐสามารถทำนายน้ำท่วมได้เสมออย่างน้อย 5-7 วันเพราะลงทุนไปแล้วมหาศาล ทุกอย่างของภาครัฐ มีอยู่แล้ว
– แต่ข้อมูลจริงๆ ประชาชนไม่ได้รู้ เตือนภัยกันเอง ดังนั้นการแก้ไขถ้าไม่รู้สาเหตที่แท้จริงก็จะแก้ไขกันไปตลอด

ทีมงาน

– ขอบเขตของน้ำ ไปตรงไหน
– จำเป็นที่จะต้อง identify ต้องมีแผนที่สถานการณ์
– การกระจายความช่วยเหลือศุนย์ความช่วยเหลือควรมีการกระจายศูนย์
– thaiflood จะดึงข้อมูลตรงนั้นมาได้

@1500miles

@1500miles present การทำงานที่แนวหน้า
@1500miles present การทำงานที่แนวหน้า

-พาราเพรนใช้ surway พื้นที่ได้ดี โดยไปตามเสาไฟฟ้า
-ผลการสำรวจพบว่ามีเขื่อนที่กั้นเป็นระยะๆ
-การลุยคือเอาเรือขึ้นรถแล้ววิ่งลุยน้ำไป
-ถุงยังชีพนั้นก็ไปเอาจากทหาร และทำจนเป็นทีมแต่ก็เหนื่อยมาก
– ล่าสุดทีมกลายเป็น 70 คน
– รถพังแทบทุกคัน เพราะอาสาชอบลุย
– พอสื่อมาพี่น้องชาวไทยก็มาจอดคาและก็เริ่มเอาของมาวางกองพะเนิน ไม่รู้จะเข้าอย่างไร
– turnkey “ภาครัฐไม่รู้จะยกเครื่องได้อย่างไร แต่อาสาควรถึงเวลายกเครื่องและทำเป็นอาชีพได้แล้วเพราะมีประสิทธิภาพสูงกว่าจริงๆ”
-ต่างคนต่างทำแบบรวมกันจะดีที่สุด

คุณปรีดา

– นำข้อมูลจาก call center เข้าระบบ admin และระบุพิกัดเป้าหมายได้เลย ( จาก AIS DTAC )
– ปัจจุบันมีการระบุข้อมูลอยู่แล้ว และอัพเดทตลอด
– ปัญหา Source ข้อมูลไม่ดี เช่น “หิวข้าวมากเลย ช่วยสุรินทร์ด่วน” ดังนั้นเวลาคนแจ้งควรบอกพิกัดให้ชัดเจนเช่น
โรงเรียน ตำบล

ทีมงาน

ความช่วยเหลือควรแบ่งเป็น 2 ระดับ
– ไม่ต้องพึ่งพิงภาครัฐ (งูเข้าบ้าน)
– ต้องพึ่งพิง (โรคระบาด)

@fringer

– โปรแกรม frontline SMS รายงานได้ดีใน ตปท
– จัดการประเด็นความซ้ำซ้อน เห็นแผนที่ ประสบภัย ระหว่างการฟื้นฟู, มีกลุ่มอะไรเข้าไปแล้ว
– จะทำอย่างไรให้ลักษณะข้อมูลที่ feed ผ่านมีความเป็นระบบระเบียบและเอาไปจัดการได้ดีขึ้น (ควรมีคนจัดระเบียบ)

@9jax

ประเด็นเรื่องการ verifiy อาสาสมัคร

@ipattt

การทำระบบบัญชีนั้นสำคัญต่ออนาคตของอาสาสมัคร จึงรับดูส่วนนี้และได้ปรึกษาทีม #TWT4TH ถึงระบบการทำบัญชีกลาง

สรุปการประชุมครั้งที่ 1

– ตั้ง Warroom เป็นที่ประชุมและมีที่พักในตัว เพิ่มประสิทธิภาพ
– สสส. นำเรื่องบางส่วนเข้าที่ประชุม คชอ.วันที่ 29 ตค
– นัดอีกครั้งวันที่ 1 พย. 2553

VDO บรรยากาศ

รายชื่อสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม

1. เกื้อเมธา ฤหษ์พรพิพัฒน์ มูลนิธิโลกสีเขียว
2. สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน
3.นิศานาถ โยธาสมุทร กรุงไทยเาสา บมจ ธ.กรุงไทย
4.พงศ์พัฒน์ เกิดอินทร์ twitter for thailand
5.รัฐภูมิ อยู่พร้อม มูลนิธิ 1500miles
6.สหพล ดิเรกวัฒนสาร 1500miles
7.กนกวรรณ เนติกุล 1500miles
8. สิปปกร เยาวมาตย์ 1500miles
9. ปนัดดา แดงฟู 1500miles
10. สมลักษณ์ หุตานุวัตร เครือข่ายประชาชนช่วยน้ำท่วม 53
11. ชิดชนก ณานคุปรัตน์ FB กลุ่มประเทศไทยกลับมาสดใสดีกว่าเดิม
12. อิสรา สุคงคารัตนกุล FB ชุมชนคนใจดี
13. ตฤณ ตัณฑเศรษฐี มูลนิธิโอเพ่นแคร์
14.อัญชัญ แก้มเชย บางกอกฟอรั่ม
15.ปรเมศวร์ มินศิริ Thaiflood
16.พัชร เกิดศิริ Thaiflood
17. ปรีดา ลิ้มนนทกุล
18. พ ต ท ชุมพล บุญประยูล เลาขาธิการสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย
19. พ ต ท รักศิลป รัตนวหราหะ สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย
20. รวมพร เกิดลาภผล สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย
21. ธติมา หมีปาน สมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย
22. พิเชษ ยิ่งเกียรติกุบ แผนงาน ICT สสส.
23. กษิดิศ ขันธรัตน์ สมาคมหมออนามัย
24. ปรีดา คงแป้น มูลนิธิชุมชนไท
25. สุปรีดา อดุลยานนท์ สสส.
26. รศ ดร วิลาสิินี อดุลยานนท์ สสส.
27. เข็มเพชร เลนะพันธ์ สสส.
28. ปวีณา พุฒิพันธุ์ สสส.
29. ภรณี ภู่ประเสริฐ สสส.
30. อดิศร ส่งเสริม สสส.

Note ประชุทโดย ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์

รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดประชุมนี้ เนื่องจาก สสส.
ได้รับการประสานจากภาคีเครือข่ายที่ได้ทำง
านช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอยู่แล้ว

โดยหารือเบื้องต้นจนได้แนวคิดเบื้องต้นของการประสาน
การดำเนินงานเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในภาคประชาชน
และได้รับเชิญให้ไปนำเสนอในการประชุมการดำเนินงานของศูนย์ปร
ะสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย (คอช) ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น
เมื่อเช้าวันนี้ ดังนี้
การประสานงานเครือข่ายรับภัยน้ำท่วม

1. ประสานคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาชน
หนุนเสริมกลุ่มคน หรือเครือข่ายที่ทำงานอยู่แล้ว
เพื่อเชื่อมประสานและทวีพลังโดยคำนึงถึงภารกิจที่ต้องจัดการ เช่น
– ทีมประสานงาน
– เครือข่ายปฏิบัติการ
– เครือข่ายรับบริจาคและจัดการสิ่งของช่วยเหลือ
– ทีมวิชาการ และข้อมูล
– เครือข่ายสื่อสาร
– ตัวแทนจากผู้ประสบภัย
– เครือข่ายประกอบการภาคเอกชน ฯ
2. การทำงานจะต่อเนื่องจากที่มีการทำงานกันมาก่อน
แต่จะประสานและทวีพลังจากการประสานแกนกลาง
– เริ่มจากเล็กและขยายตัวไป
และจัดระบบเครือข่ายใยแมงมุมที่เปิด
– ใช้ช่องทางสื่อสารต่างๆ ในการหาคนอาสาเข้ากระบวนการ
3. จะรองรับพันธกิจช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพผู้ประสบภัยน้ำท่วม
แล้วจะมีกระบวนการจัดการความรู้และการจัดการเครือข่ายเพื่อพัฒนา
โครงสร้างอาสาสมัครจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน
อย่างเป็นระบบต่อไป
เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เพิ่มทวีมากขึ้นในประเทศไทยและในโลก
4. ประมวลและพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย
ต่อการพัฒนาระบบจัดการภัยพิบัติของภาครัฐ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

งานเบื้องต้น
1.การระดมอาสาสมัครประชาชนที่เข้ามาช่วยฝ่ายราชการในก
ารประสานงาน คชอ.และกลไกรัฐที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนงาน
และเติมมิติของภาคประชาชนในงานบริการ
ทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ต่างๆ
รวมทั้งเป็นช่องทางในการสื่อสารแลกเปลี่ยนจากภาคส่วนต่างๆ
2.เพิ่มการระดมทุนและทรัพยากรในส่วนที่มีความต้องการสงและขาดแค
ลน เช่น ประสานอาชีวศึกษา ภาคธุรกิจ ผู้มีจิตสาธารณะทั่วไป
3. จัดกำลังอาสาสมัครเพิ่มในการส่งของให้ถึงผู้ประสบภัย
4. เร่งจัดการความรู้และสื่อสารความรู้ที่จำเป็นสำหรับ
การพึ่งตนเองของผู้ประสบภัย ในช่องทางสื่อต่างๆ เช่น
ส้วมประยุกต์รูปแบบต่างๆ การดูแลการเจ็บป่วยเบื้องต้น
สายด่วนสุขภาพจิต สายด่วนเจ็บป่วยฉุกเฉิน ฯ
5. เตรียมอาสาสมัครและสนับสนุนการฟื้นฟู เช่น
จัดค่ายฟื้นฟู พัฒนาชุมชนภัยพิบัติ รถน้ำในการชะล้าง
นักศึกษาอาชีวะในการซ่อมแซมเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า
อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านราคาถูกฯ

ประเด็นที่ควรดำเนินการในระยะต่อไป
? เชื่อมประสาน
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของแต่ละเครือข่ายว่าใครทำอะไรที่ไหน
วางแผนร่วมในเรื่องเร่งด่วนเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนแต่เกื้อกูลกัน
และการวางแผนงานในระยะยาว

? ควรมีการจัดการเพื่อการสื่อสารที่ทั่วถึงยิ่งขึ้น
ควรมีแผนที่สถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ผ่านทางเวปไซค์ต่างๆ
ตัวอย่างข้อมูลที่ต้องการใช้งาน เช่น ขอบเขตของน้ำอยู่ที่ไหน
แต่ละที่มีประชากรเท่าไร มีความต้องการอะไร
พื้นที่เร่งด่วนอยู่ที่ไหน ควรมีการร่วมมือระหว่างเครือข่ายสื่อ
มีการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กับสื่อ การทำ frontline SMS
และการจัดระบบข้อมูลที่ผ่าน social media เช่น ใน twitter และ
facebook

? เครือข่ายอาสาช่วยผู้ประสบภัยพิบัติภาคประชาชน
เป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการก่อตั้ง
เป็นเครือข่ายทางสังคมในการจัดการปัญหาทั้งภัยพิบัติ
ที่มีการบริหารจัดการโดยประชาชนเพื่อประชาชนอย่างมีส่วน
ร่วมตั้งแต่การร่วมออกแบบ ร่วมกำหนด ร่วมคิด ร่วมช่วยเหลือ
ก้าวข้ามสี พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

? ควรใช้บทเรียนจากสึนามิในการเยียวยาฟื้นฟูปัญหาเหตุการณ์ในครั้งนี้
ควรมีการจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือกระจายตามพื้นที่
ซึ่งทีมหมออนามัยรับจะช่วยประสาน อสม.
ที่กระจายอยู่ทุกพื้นที่ให้ร่วมเป็นเครือข่ายจัดการในภาคประชาช
น ร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ
เสนอให้สำนักนายกฯออกระเบียบห้ามข้าราชการ
และนักการเมืองหาเสียงประชาสัมพันธ์ตัวเอง
น่าจะให้ความช่วยเหลือไปยังกลุ่มคนที่ไม่มีทะเบียนด้วย
เนื่องจากความช่วยเหลือมักเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่อยู่ในรายชื่อ
คนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเท่านั้น
ส่วนคนที่ไม่มีชื่อไม่มีสิทธิรับถุงยังชีพหรือของอื่นๆ
ในส่วนนี้ทางหมออนามัยแจ้งว่า
สถานีอนามัยจะมีชื่อประชาชนในพื้นที่จริงทั้งมีและไม่มีทะเบียน
น่าจะมีการทำบัญชีเงินบริจาค มีการกำกับควบคุมที่โปร่งใส
สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริจาค
โดยจะมีการทำบัญชีขึ้นเวปไซด์
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปกป้องคนทำงานอีกด้วย
น่าจะมีการตั้ง war room วิชาการและพื้นที่

ประชุมเรื่องข้อมูลเชื่อมกับข้อมูลปลายทางสแกนดูว่าใครเป็นผู้นำ
ข้ามพ้นหน่วยงานราชการกับการเมือง
เจาะลงไปที่การป้องกันและการแก้ไขในระดับพื้นที่โดยตรง
? ถึงเวลาที่ต้องคิดเรื่องการยกเครื่องอาสาสมัคร ปรับเป็นมืออาชีพ
ถึงเวลาต้องรวมกันสร้างรูปแบบ ต้องมี masterplan ระบบ logistic
ทำให้เต็มประสิทธิภาพ
? สถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ยืดเยื้อ
จึงจำเป็นต้องมีการสับเปลี่ยนกำลังในพื้นที่
ต้องมีการสื่อสารหาอาสาสมัครลงพื้นที่เพิ่มเติม

ที่ประชุมมีมติร่วมกันในการดำเนินการช่วงเร่งด่วนดังนี้
ที่ประชุมตกลงร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายอาสาช่วยผู้ประสบภัย
พิบัติภาคประชาชน

โดยเริ่มจากเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุมนี้ก่อน
และเป็นวงเปิดอาจขยายวงออกไปในกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมาย
ร่วมกัน โดยจะมีสถานที่ประสานงานกลางเฉพาะกิจ
โดยเบื้องต้น สสส. จะสนับสนุนการจัดตั้ง War room
ภาคประชาชนนี้ สำหรับสถานที่ที่ใช้ในการประชุม
อาจเป็นโรงแรมที่ใช้งานได้ดีมีห้องพักห้องประชุมส่วนกลาง
ที่ราคาไม่แพงนัก เดินทางสะดวกใกล้รถไฟฟ้า
เป็นที่ที่ทุกเครือข่ายสามารถใช้ในการประชุมได้ตลอดเวลา
ทั้งกลางวันและกลางคืน
มีคณะประสานงานเชื่อมประสานส่งต่อข้อมูลให้กับเครือข่าย
ต่างๆ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้คุณปรเมศวร์ มินศิริ
เป็นผู้ประสานเครือข่ายในระยะต้น
พัฒนาข้อมูลในเวปไซต์ pm.go.th/flood
และ Thaiflood.com ให้มีข้อมูลเป็นปัจจุบัน
เป็นศูนย์กลางข้อมูลสถานการณ์อุทกภัยของภาคีเครือข่าย
และประชาชนทั่วไป
เชิญคุณปรีดา คงแป้น เข้าร่วมประชุมคอช. พรุ่งนี้เวลา
9.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนที่เกิดขึ้น
กรณีศึกษาเชิงลึกต่างๆ
และอาจขอความร่วมมือจากสื่อให้เสนอข่าวเชิงลึกบ้าง
อย่างน้อยอาจเสนอผ่านสื่อรัฐในที่ประชุมพรุ่งนี้
อย่างไรก็ตามข้อมูลส่วนใหญ่ขอให้อยู่ในเวปไซต์ thaiflood
ในวันที่ 30 ตุลาคม 2553 มูลนิธิ 1500 ไมล์
เชิญภาคีเครือข่ายร่วมปล่อยขบวนคาราวานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าเริ่มงานตั้งแต่เวลา 18.00 น. กำหนดปล่อยขบวนเวลา 22.00 น.
นัดประชุมเครือข่ายครั้งหน้าในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน2553 เวลา 18.00 น.ที่ ทีวีไทย