ปัญหา 3G ในเมืองไทย เหตุใดไม่เกิดซะที : คุยกับ @supinya

การประชุม focus group ที่กทช ภาพโดย @markpeak
การประชุม focus group ที่กทช ภาพโดย @markpeak

ภาพในบล็อกนี้จากคุณ MK
โพสน่าสนใจ 3G กับประวัติโทรคมนาคมในไทย

วันก่อนมีหลายท่านมาประชุม focus group ที่ กทช. ผมกะจะมาช่วงบ่ายแต่พอมาถึงก็เลิกซะแล้ว คุณจ๋งกลับบอกว่า “ดีแล้วที่ไม่มา” 😛 เพราะวันนี้ส่วนใหญ่เป็นการคุยกันเรื่อง WiMax ทั้งๆที่เป็นเทคโนโลยีที่น่าจะตกยุคในไม่ช้าแต่ทุกๆฝ่ายก็ยังยื้อสรุปไม่ได้อยู่ดี

คุณ Mk สรุปไว้ใน blognone ได้ดีครับ แต่ไปๆมาผมได้นั่งคุย กับคุณ สุภิญญา กลางณรงค์ ได้ความรู้เต็มๆยิ่งกว่าเข้าร่วม focus group เสียอีก จึงสรุปปัญหา 3G ในเมืองไทยสำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจไว้ได้ดังนี้ครับ

ปัญหาทางด้านความไม่สอดคล้องทางกฎหมาย

พรบ เก่ามี 2 องค์กรจัดสรร แต่รัฐธรรมนูญใหม่ระบุให้มี 1 เท่านั้น

แต่เดิมการจัดสรรกิจกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานซึ่งมีองค์กรที่ผูกขาดในประเทศไทยเพียง 2 องค์กรเท่านั้นนั่นคือ TOT ( ได้รับค่าสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก AIS ) และ CAT ( ได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก DTAC และ TRUE) ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเน้นการตรวจสอบโดยหน่วยงานอิสระของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 และทำให้เกิด พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 อันนำมาซึ่ง การกำเนิดขององค์กรอิสระที่ชื่อว่า กทช (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ส่วน กสช.นั้นมีปัญหาเรื่องการคัดสรรทำให้ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ( เกิดกรณี NGOs ฟ้องร้องในเรื่องดังกล่าวเนื่องจากมีตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ในสังกัดของฝ่ายความมั่นคงเข้าร่วมเป็นกรรมการ ทำให้อาจไม่เป็นองค์กรอิสระที่แท้จริง ) ส่วนระบบสัมปทานคลื่นความถี่นั้นได้เปลี่ยนมาเป็นระบบ “ใบอนุญาต”แทน

ส่วนคำว่า องค์กรอิสระ นั้นจะต้องสามารถเลี้่ยงตัวเองได้ไม่พึ่งรัฐบาล ในกรณีนี้ กทช. เองได้รับเงินจากค่าธรรมเนียมการจัดสรรคลื่นความถี่จากเอกชนอยู่แล้วครับ ( ในปี ปี 2551 กทช มีรายได้ปีละ 3,774,860,527 บาท ) และคณะกรรมการที่อยู่ภายในจะต้องคัดสรรค์อย่างดีไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคลื่นความถี่ในไทย รัฐและทหารเป็นเจ้าของสัมปทานอยู่แทบทั้งหมด ดังนั้นจึง“ไม่ควร”มีตัวแทนจากรัฐและทหารเข้ามานั่งเป็นกรรมการด้วยเช่นกัน

ต่อมาเกิดรัฐประหารและกำเนิดรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นได้ระบุว่าให้เหลือองค์กรที่ดูแลจัดสรรเพียงหน่วยงานเดียว ทำให้ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ข้างต้นนั้นขัดกับ รธน. 50 อยู่ในขณะนี้ที่ระบุว่าต้องมี 2 หน่วยงาน นอกจากนี้ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรีบเร่งสร้าง กสทช.ขึ้นมาใหม่ แต่ก็ติดปัญหาทั้งในเรื่องที่ กสช.ยังไม่ได้ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้

ความเหมือนกันของ รธน 2540 และ รธน 2550 คือการกำหนดให้ความถี่วิทยุเป็นสมบัติของชาติ และต้องใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด

ส่วนข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ฉบับปี 2540 กำหนดให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม แต่ไม่ได้ระบุจำนวนองค์กรที่ชัดเจน ส่วนฉบับปี 2550 ระบุให้มีองค์กรอิสระเพียง 1 องค์กรเท่านั้น นอกจากนี้ยังให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดการใช้สื่อเพื่อสาธารณะ และให้ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของสื่อได้เพียง 1 ประเภทเท่านั้น …

สำหรับองค์กรอิสระใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คาดกันว่า อาจจะให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) รวมเป็นหน่วยงานเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า กสทช. นั้น แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะจัดตั้งได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถจัดตั้ง กสช. ได้ นอกจากนี้ยังกระทบต่อการจัดสรรคลื่นวิทยุด้วย เพราะ กทช. ไม่สามารถจัดสรรคลื่นให้ผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์ได้ มิฉะนั้นจะผิดกฎหมาย

อ่านต่อได้ที่ กสทช. สูญญากาศธุรกิจโทรคมนาคมไทย

นอกจากนี้ความพยายามในการตั้ง กสทช ยังติดปัญหาตามที่คุณสุภิญญาได้ tweet มา และคุณ MK ได้รวบรวมไว้เช่นกัน ดังนี้

กระทรวงกลาโหมได้มีการยื่นหนังสือให้ กรรมาธิการชั้นสส. เพิ่มสัดส่วนของผู้แทนความมั่นคงใน กม. แต่ไม่สำเร็จ แต่ในที่สุดมาเปลี่ยนได้ในขั้นวุฒิสภา ประเด็นสำคัญที่วุฒิสภาเปลี่ยนร่าง พรบ.กสทช.คือ 1. เพิ่มจำนวนที่นั่งจาก 11 เป็น 15 2. เพิ่มที่นั่งตัวแทนจากฝ่ายความมั่นคง 3.เพิ่มอายุเป็น 35-70 ประเด็นขัดแย้งจึงกลับมาอยู่เดิมว่า ภาครัฐและกลุ่มทุนที่เป็นเจ้าของสื่อ ควรเข้ามานั่งเป็นกรรมการองค์กรอิสระ หรือ กสทช. เพื่อปฏิรูปสื่อหรือไม่

หลายคนก็อาจงงว่าการเพิ่มตัวแทนฝ่ายความมั่นคงกับราชการมันมีผลประโยชน์ทับซ้อนตรงไหน คำตอบง่ายๆก็คือ Free TV 5,7,9,11 ของเรานั้นเป็นของรัฐและฝ่ายความมั่นคงทั้งนั้นครับ ดังนั้นตามหลักการจึงไม่น่าจะเข้าร่วมกับองค์กรอิสระเพราะจะทำให้องค์กรเกิดความไม่อิสระขึ้นมาทันที ล่าสุดเพิ่งมีกรณีเกิดการต่อต้านขึ้นมาครับ

ช่วงความถี่ 2.3GHZ ในไทย จะเห็นด้านขวาคือทางฝ่ายความมั่นคงใช้อยู่ ไม่มีใครเข้าไปแตะต้องส่วนด้านซ้ายๆ TOT รับหมด
ช่วงความถี่ 2.3GHZ ในไทย จะเห็นด้านขวาคือทางฝ่ายความมั่นคงใช้อยู่ ไม่มีใครเข้าไปแตะต้องส่วนด้านซ้ายๆ TOT รับหมด

ปัญหาที่ 2 Regulator หรือผู้จัดสรรเดิมมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างมากกับกฏหมายใหม่

รูปแบบเดิมกับกฏหมายใหม่ยังขัดแย้งกันอยู่ เดิม TOT กับ CAT เป็น regulator ต่อมาเมื่อเกิด องค์กรอิสระอย่าง กทช.ทำหน้าที่นี่แทน TOT กับ CAT จึงกลายเป็น Competitor เหมือนๆกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ดังนั้นหากผู้ให้บริการภาคเอกชนเช่น TRUE และ DTAC ไม่สนใจเทคโนโลยีปัจจุบัน ( ซึ่งยังต้องจ่ายเปอร์เซ็นให้ TOT,CAT อยู่) แต่กลับหันไปใช้ 3G หมด TOT กับ CAT จะขาดรายได้ “แทบจะทั้งหมด” และอาจถึงขั้น “ประกอบกิจการต่อไปได้ยาก” ก็เป็นได้ ซึ่งเดิม TOT ได้เปอร์เซ็นจาก AIS และ CAT ได้เปอร์เซ็นจาก DTAC กับ TRUE อย่างมหาศาล ( พิจารณา องค์กรอย่าง TOT มีพนักงาน 30,000 คนซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายรายเดือนมหาศาลแต่ได้เงินเพียงพอจากการหักจากเอกชนที่ใช้ความถี่ แต่ TRUE มีพนักงานเพียง 3,000 คน ถ้าเทียบกันแล้วแม้ว่าช่วงแรกๆ TRUE จะโดนคอมเม้นท์เรื่อง Performance เยอะแต่ศักยภาพก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่ากันมาก )

ส่วนแบ่งตลาดบริการโทรศัพท์พื้นฐานของ TRUE & TOT ในเขต กรุงเทพฯและปริมณฑล
ส่วนแบ่งตลาดบริการโทรศัพท์พื้นฐานของ TRUE & TOT ในเขต กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มาของภาพจาก เว็บไซต์กทช

ถ้าคุณเป็นผู้บริหาร TOT และ CAT คุณจะยอมปล่อยให้องค์กรของคุณไม่มีรายได้หรือ ? ลองอ่าน TOT/CAT ค้าน พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ กลัวรายได้หายนับแสนล้าน

ความถี่ช่วงนี้ สามารถใช้ได้ทั้ง Broadcasting และ Telecom ปัจจุบันถูกครอบครองโดย อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์
ความถี่ช่วง 2.5 GHz นี้ สามารถใช้ได้ทั้ง Broadcasting และ Telecom ปัจจุบันถูกครอบครองโดย อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์ หากต้องการใช้ประโยชน์ต้องรอลุ้น กสทช

ปัญหาของสเป็ค 3G เอง

3G เป็นเทคโนโลยีที่มีความลักลั่นระหว่างการเป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคม (ซึ่ง กทช ดูแลอยู่แล้ว ) และวิทยุโทรทัศน์ ( ซึ่งยังไม่มีองค์กรดูแลชัดเจน ) เนื่องจากความเร็วและการกระจายสัญญาณแบบไร้สายทำให้สามารถ Stream รายการในรูปแบบโทรทัศน์ได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าแจกคลื่นความถี่ 3G ไปให้คนอื่น อาจมีปัญหาฟ้องร้องกลับมาจาก TOT ว่าทำโดยไม่ผ่านองค์กรอิสระจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ได้ จึงต้องรอ พรบ.กสทช.ข้างต้นผ่านให้ได้ …

สัมภาษณ์คุณสุภิญญา กลางณรงค์

เป็นการสัมภาษณ์สไตล์ Blogger แบบส่วนตัว น่าสนใจมากครับ ผมขอฝากให้ทุกท่านเชิญรับชมที่ Blog ของจ๋ง 🙂 และผู้ที่สนใจสามารถ follow ได้ที่ @supinya และเว็บส่วนตัวของคุณ สุภิญญา

คุณสุภิญญา ในห้องประชุมที่ กทช.
คุณสุภิญญา ในห้องประชุมที่ กทช. ภาพโดย @warong