คุยกับ พี่เล้ง CEO แห่ง MFEC

พี่เล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร  CEO แห่ง MFEC
พี่เล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร CEO แห่ง MFEC

พี่เล้ง ( ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ) จบสวนกุหลาบรุ่น 105 และ วิศวฯจุฬาฯ รุ่น 70 ห่างจากผมประมาณ 9 ปี เป็น CEO และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ซึ่งบมจ.เอ็ม เอฟ อี ซี เป็นบริษัทให้คำปรึกษา พัฒนา และวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ ชื่อ บมจ.เอ็มเอฟอีซี อาจจะไม่เป็นที่คุ้นหูของผู้คนทั่วไป แต่ถ้าในแวดวงไอทีโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่นั้นถือว่าเป็นบริษัทไอทีสัญชาติไทยระดับแถวหน้า โดยที่มีฐานลูกค้าอยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอส, ดีแทค รวมทั้งสถาบันการเงินอีกหลายแห่งครับ

ก่อนหน้าที่พี่เล้งจะต้องบริษัท MFEC ก็เคยทำธุรกิจกับเพื่อนๆมาก่อน แต่ยังไม่ Break Though จึงตั้งบริษัทขึ้นมาเอง และในขณะนั้นช่วงต้นปี 2541 เกิดฟองสบู่แตกพอดี พี่เล้งจึงมองหาธุรกิจที่น่าจะไปได้ดีและยังเหลืออีกไม่มาก นั่นคือธุรกิจ Telecom นั่นเอง พี่เล้งตัดสินใจทำ Service Package และได้ดีลกับ AIS จากนั้นจึงเติบโตแบบก้าวกระโดดมาพร้อมๆกับ AIS จากพนักงาน 40 คน สู่ 850 คน และทั้งหมดล้วนเป็นวิศวกรชั้นนำของเมืองไทย ( เพื่อนๆที่จบเกียรตินิยมของผมหลายคนไปอยู่ที่นี่ )

สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ IT

การบริหาร Star

เพื่อนๆผมหลายคนที่ทำงานที่นั่น พี่เล้งจำได้ทุกคน นั่นเป็นเพราะว่า พนักงานที่เป็น”ดาว”ประจำบริษัท คือมีฝีมือดีมากๆนั้นจะใช้การบริหารจาก Culture ของบริษัทไม่ค่อยเหมาะ แต่ต้องบริหารด้วยเจ้าของบริษัทหรือ CEO นั่นเอง พนักงานเหล่านั้นจะรู้สึกว่าตนเองพิเศษและไม่งอแงในขณะที่พนักงานปกติก็จะไม่รู้ว่าพนักงานเหล่านี้ได้อะไรมากกว่าตนเองหรือไม่นั่นเอง ( ปัจจุบันบริษัทได้พยายามแก้ปัญหาวิศวกรฝีมือดีถูก Head Hunter ดึงตัวไป ดูรายละเอียดที่นี่ )

ธุรกิจต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน

คนไทยชอบทำธุรกิจแนวตั้ง หมายความว่ามีอะไรก็ชอบทำด้วยตนเองหมด เช่นบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ก็ทำทั้งตัวถัง ล้อ อุปกรณ์ต่างๆ แทนที่จะเน้นไปที่อย่างเดียว เช่น ไฟท้ายรถ ดังนั้นบริษัท IT ถ้าต้องการเติบโตและมี Repeat Order ซึ่งก็คือผลกำไร ควรพิจารณาระดับในการทำงานเป็นส่วนๆย่อยให้ชำนาญไปนั่นคือธุรกิจแนวนอนนั่นเอง และลองมองความยืนยาวของธุรกิจ หากประสบความสำเร็จไปแล้วเมื่อถึง 70% ของความคาดหวังให้ลองกลับมาคิดค้นพิจารณา Business อื่นต่อไป

มองหาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่น่าจะ Growth แล้วไปด้วยกัน

สืบเนื่องจากแนวทางการทำธุรกิจแบบแนวนอนดังนั้นถ้าเราสามารถหาอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตได้และเราสามารถเกาะไปได้ในฐานะ Service หนึ่งในนั้น ( แบบ MFEC กับ AIS ในช่วงแรก ซึ่งทำให้พี่เล้งมีแนวคิดหลักๆไปในทางนี้ ) จะทำให้ธุรกิจเติบโตและประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ถึงแม้ปัจจุบันจะมาองหาได้ยากเล็กน้อยแต่ก็มีตลาดต่างประเทศด้วยเช่นกัน สำหรับ MFEC เมื่อตลาด TELECOM เริ่มคงที่ในขณะนี้จึงเริ่มมาจับตลาด banking เนื่องจากในตลาดแบงก์กิ้งจะมีการลงทุนด้านไอทีมากขึ้น เพราะข้อบังคับจากการที่มีกฏกติกาใหม่จากแบงก์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบาเซิล II และวิธีการลงบัญชีแบบใหม่ IAS39

ข้อคิดเรื่องคน

คนที่ทำงานได้ดีจะมีสองแบบ ต้องผสมผสานกัน

แบบที่ 1 เป็นผู้ที่ว่องไว คิดตลอด และเซิร์ทหาข้อมูลตลอดเมื่อสงสัย คนพวกนี้สมองจะมีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถทำงานได้รวดเร็วและหาทางออกได้เสมอ ส่วนข้อเสียก็คือสมาธินั้นยังด้อยและยากที่จะคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนตกผลึกได้

แบบที่ 2 คนชอบอ่านหนังสือ พวกนี้จะมีความคิดลึกซึ้งแต่ไม่เร็วเท่าใดนัก ในการคิดสรุปกลยุทธ์ต่างๆ จะทำได้ดีมากเพราะคิดจนหาทางออกและรูปแบบได้รอบด้านหลายมิติ ถ้ามีผู้บริหารซักคนที่เป็นลักษณะนี้ ต้องให้เค้าลองคิดดูครับ ( รู้สึก TiGERiDEA จะไม่มีแฮะ 😛 )

การบริหารเปลี่ยนจาก ทุนนิยม มาเป็น สังคมนิยม

พี่เล้งได้ให้สัมภาษณ์ไว้ที่นี่

เมื่อก่อนใช้หลักการบริหารงานแบบทุนนิยม เน้นที่กำไร-ขาดทุนเป็นอันดับหนึ่ง เราต้องมีการเติบโตสูง วัดกันที่ผลประกอบการ ซึ่งก็ได้ผลดี เรามีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่ก็เลยรู้สึกว่า พนักงานทำงานกันจนไม่มีเวลาส่วนตัว ไม่มีเวลาให้ครอบครัว เพื่อน หรือว่าคนรัก เค้าขาดคำที่เรียกว่า ส่วนตัว ออกไป และอีกอย่างในเรื่องของสุขภาพร่างกายที่ไม่พร้อมนักกับการทำงานแต่ละวัน เนื่องจากว่าทำงานหนักมาก จนไม่มีเวลาพักผ่อน หรือว่าออกกำลังกาย และที่สำคัญคือ เวลาที่เรารับพนักงานเข้ามาทำงาน จะมีแต่คนเก่งๆทั้งนั้น แล้วโดยธรรมชาติของคนเก่งจะไม่ค่อยมีน้ำใจ จะนึกถึงแต่ตัวเองก่อนเป็นหลัก ไม่ค่อยสนใจสิ่งรอบข้าง และคนรอบข้าง

เราก็เริ่มมานั่งคิดว่า เราควรเปลี่ยนแนวทางการบริหารงานทุนนิยม เปลี่ยนมาเป็นสังคมนิยมจะดีกว่า เราเริ่มมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว เน้นการบริหารงานเป็นสังคมมากขึ้น จะทำอย่างไรให้พนักงานที่เข้ามาทำงาน นอกจากเป็นคนเก่งแล้ว เค้าต้องเป็นคนดีด้วย ไม่มุ่งเน้นที่ผลประโยชน์ของตัวเองอย่างเดียว แต่ว่ามุ่งเน้นที่ทีมงาน บริษัท และสังคมด้วย นี่เป็นโจทย์หลักของเรา

มองดู Environment ว่าคนที่ทำด้วยกันมีความคล้ายกันเกินไปหรือไม่

การที่คนที่มีความคิดคล้ายกัน หรือเรียนมาแบบเดียวกันมาทำงานด้วยกันจะทำให้ไม่เห็นข้อบกพร่องของการทำงานหรือการคิดแผนธุรกิจต่างๆ การเดินไปพร้อมกันในระนาบเดียวกันก็จะทำให้ไม่มีใครเห็นว่ามีคนใดคนหนึ่ง กำลังหัวแตกอยู่หรือไม่

ถ้าบริษัทมีหลายคน ต้องพิจารณา value และความสามารถแต่ละคน

เมื่อพิจารณาแล้วจึงจัดให้อยู่ถูกงาน ผู้บริหารควรจะใช้เวลาในการคิดให้มากที่สุดและต้องกระจายงานใช้แรงงานประเภทหาลูกค้า,ทำเอกสาร,ตามเงินหรือแม้แต่ส่งของ ออกไปให้ได้ พี่เล้งเล่าว่านอกจากเลขาแล้วพี่เล้งยังมีพนักงานช่วยเช็คอีเมล์ให้อีกด้วยซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้ถึง 2 ชัวโมงต่อวัน

คนเราสามารถทำงานหนักในขณะที่ความสามารถพร้อมได้ 8 ปีเท่านั้น คืออายุ 30- 38

สภาพแวดล้อมในตอนอายุ 30 ปกติจะเป็นเวลาทองของการทำงานและเติบโตเนื่องจากคนหลายคนมีความพร้อมด้านความรู้ความสามารถในเชิงกว้าง แต่อย่างไรก็ตามต้องวางแผนไว้ชัดเจนด้วยเพราะเราจะไม่สามารถทำงานอย่างงี้ได้ตลอดไป ทุกๆคนจะต้องทำงานน้อยลงในขณะที่ต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้น ในช่วง 8 ปีเป็นเวลาทองแห่งการทำงานหนักให้เต็มที่และพยายามให้ธุรกิจ stable ในปีที่เรามีอายุใกล้ 40 จากนั้นขึ้นอยู่กับ Value ของเราว่าสร้างมาเพียงพอแค่ไหนที่จะอยู่ต่อไปอย่างสบายและทำงานน้อยลงเรื่อยๆ ถ้าเป็นในแง่บริษัทใหญ่ก็คือต้องมีคนรับช่วงใช้แรงงานต่อจากเราให้ได้

คำแนะนำในการตั้งบริษัทของมือใหม่

อ้างอิงจาก wiseknow.com

1.อย่าลงทุนเปิดบริษัทกับเพื่อน ยิ่งหุ้นกันเกิน 3 คนยิ่งอย่าทำ เพราะช่วงวัยทำงานจะเห็นเงินเป็นเรื่องสำคัญ และเงินจะทำให้เสียเพื่อน นอกจากนั้นทุกคนจะชิงกันเป็นผู้นำเพราะเชื่อว่าสมองเท่ากัน ซึ่งบริษัทจะเติบโตได้ต้องมีผู้นำที่ตัดสินใจเด็ดขาด ( ข้อนี้ถือว่า TiGERiDEA โชคดีที่เราไม่มีปัญหานี้กันเท่าไหร่ แสดงว่ามีข้อยกเว้นครับ )

2.ไม่ควรพึ่งหรือยึดติดกับคนเก่ง บริษัทไม่ควรอยู่ได้เพราะคนคนเดียว สิ่งที่สำคัญในการบริหารงาน คือ ผู้นำ ซึ่งหลายๆ แห่งไม่ใช่ ?นักไอที? แต่เป็นคนที่สามารถทำให้ทุกคนในบริษัททำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะธรรมชาติของมนุษย์เวลามาทำงานร่วมกันจะทำงานน้อยกว่าศักยภาพจริง

3.อยากหวังพึ่งโชคชะตาปล่อยไปตามยถากรรม ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคม เมื่อบริษัทมีเป้าหมายมีแผนงานแล้วต้องมุ่งไปให้ได้ ถ้าเจอปัญหาแล้วค่อยแก้ไข

มุมมองแวดวงธุรกิจ IT

พี่เล้งตั้งข้อสังเกตว่า ในตระกูลที่รวยติดอันดับต้นๆของเมืองไทยนั้น ไม่มีตระกูลไหนทำธุรกิจ IT เพราะประเทศไทยยังมีวัฒนธรรมที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมแรงงานมากกว่า ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆมีตระกูลดังๆอยู่กันครบเช่นพรประภากับอุตสาหกรรมรถยนต์ เจียรวนนท์กับอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ บริษัท IT ในไทยจำนวน 800 กว่าบริษัทนั้น มีเพียง 20 บริษัทใหญ่เท่านั้นที่สามารถเติบโตได้ดีและน่าจะอยู่ยาวจากโมเดลธุรกิจที่ดี ธุรกิจ IT นั้นยังไม่ใหญ่พอที่จะรวมตัวสร้าง Bargaining Power ได้เหมือนกับธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยธุรกิจ IT ในไทยนั้นมี Drive จาก Vender ต่างชาติแทบทั้งสิ้นเช่น IBM SUN Oracle การที่ตัวใหญ่ไม่รวมกลุ่มกันทำให้ต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนเช่นกัน (อินเดีย เวียดนาม) พี่เล้งตั้งเป้าหมายว่าตนเองจะต้องถึงจุดที่สามารถตั้งกลุ่ม IT ที่มีพลังของไทยให้ได้ โดยขั้นแรกจะพยายามเข้าไปอยู่ใน Top 100 ของตลาดหลักทรัพย์ของธุรกิจบริการในไทยให้ได้ก่อน เมื่อเข้าไปได้ต่างชาติที่ต้องการเข้ามาจะต้องคำนึงถึง MFEC ก่อนที่ตนเองจะบุกตลาดไทย

MFEC นั้นเคยทำงานรัฐบาลมาพักหนึ่งแต่ไม่ค่อยถูกใจเนื่องจากการทำงานราชการใช้ Connection เป็นหลัก ( เช่นกรณีงานขาดทุนจากการทำ SSO ให้กรมสรรพากร ) จึงหันมาจับงานเอกชนแทน โดยพี่เล้งต้องการต้องการเซ็ตเทรนด์ใหม่ให้กับสังคมไทยไปในทิศทางที่ถูกต้องเช่นเดียวกับประเทศอย่างสิงคโปร์ อเมริกา ฟินแลนด์ ที่เจาะตลาดเอกชนเนื่องจากบริษัทภาคเอกชนเหล่านี้จะพิจารณาเรื่องของคุณาภาพสินค้าและบริการมากกว่าเรื่องของคอนเนกชั่น เมื่อเอ็มเอฟอีซีสามารถทำตลาดนี้ได้เป็นอย่างดี ย่อมได้รับความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น จนทำให้องค์กรต่างๆ หันมาให้บริการของเอ็มเอฟอีซีในที่สุด

ลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เอ็มเอฟอีซีผ่านการเป็นสมาชิกของ TRACE ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่วัดผลด้านจริยธรรมความโปร่งใส เน้นเรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชั่นของสหรัฐอเมริกา

หรือบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมจาก adslthailand.com

เอ็มเอฟอีซีต้องการเป็นบริษัทคนรุ่นใหม่ที่ทำธุรกิจแบบใหม่ ทำธุรกิจแบบโปร่งใส และต้อง การสังคมมาสนับสนุนคัลเจอร์ตรงนี้ เพราะไม่เช่นนั้นถ้าผมพัฒนาคนคุณภาพ คนมีความสามารถ แต่การทำตลาดราชการในประเทศไทยเขาไม่ได้วัดกันที่ความสามารถ ผมก็จบ

เหมือนกับว่าคำตอบของเอ็มเอฟอีซีไม่ตรงโจทย์ ถ้าเราลงทุนด้วยการจ้างล็อบบี้ยิสต์ 2-3 คนวิ่งเพื่อให้ได้งานอาจจะง่ายกว่า เร็วกว่า

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาครัฐทุกอย่างมันเดินช้ากว่าที่โปรเจ็กต์จะคลอดออกมา และอีกอย่างคือการทำโปรเจ็กต์ภาครัฐต้องยอมรับว่าต้องใช้เรื่องคอนเน็กชั่นด้วย ปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่นไม่ได้เป็นปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะว่ามันเป็นธรรมเนียมอย่างนี้ ถ้าจะเข้าประมูลภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นไอที ก่อสร้างอะไรเหล่านี้ก็รู้กันว่าต้องมีใต้โต๊ะ จะไปโทษพ่อค้าว่าทำอย่างนี้ไม่ถูกต้อง เพราะว่าในสังคมราชการเป็นแบบนี้

แนวคิดเรื่อง Open Source ในไทย

Opensource ถือว่าน่าสนใจสำหรับประเทศไทยในอนาคต มีหลายอย่างที่คนไทยน่าจะสามารถทำได้โดยการเพิ่ม Value บริการที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างของคนไทยเข้าไป ปัจจุบันตลาดได้ขยายตัวไปทั่วโลกแล้วถ้ามี Model Business ที่ดีก็น่าจะไปได้ เพียงแต่การเอามาใช้เพื่อสร้าง Enterprise ใหญ่โตนั้นยังต้อง Define Value ให้ชัดเจนขึ้น

ความคิดเห็น พี่เล้งและผู้บริหารระดับสูงด้านเทคนิคต่อ ไทเกอร์ไอเดีย และ ไอ สคูล

สำหรับ ไทเกอร์ไอเดียเนื่องจากส่วนผสมของผมและคุณเม่นซึ่งเป็น ครีเอทีพในคราบวิศวะนั้นค่อนข้างโดดเด่นและมีคนลักษณะนี้ไม่มาก ดังนั้นการทำธุรกิจด้าน UI และ Widget Design ร่วมกับบริษัทอย่าง MFEC (หรือว่าบริษัทอื่นๆที่กำลังโตด้าน Service ) ถือว่าน่าสนใจ แต่ MFEC ถามว่า ถ้าเป็นไปได้ทั้ง 5 คนเข้ามาทั่งทำงานที่นี่เลยได้หรือไม่ 😛 ซึ่งเราต้องไปคิดกันต่อถึง Model Business (MFEC ใจร้อนจริงๆ!) ในส่วนของบริษัทขนาดใหญ่นั้นอยากได้คนมา Cut Project ออกไปอยู่แล้ว แต่ไม่ต้องการบริหารหรือให้ Direction คนของบริษัทนั้นด้วยครับ

ส่วน iSchool เป็นธุรกิจที่ดีอยู่แล้วและก็จะได้กำไรอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามต้องทำ Repeat Order ให้ได้หรือใช้เทคโนโลยีอื่นๆมาจับด้วยความถนัดของ TiGERiDEA เช่นการเรียนและประเมินผลทางไกลเป็นต้น