Font ฟอนต์ : เมื่อเว็บรัฐบาลถูกถามเรื่อง ลิขสิทธิ์

ฟอนต์ :เว็บรัฐบาลถูกแจ้งสอบถามเรื่องลิขสิทธิ์ Font

สืบเนื่องจากเมื่อช่วงสองสามเดือนก่อนทางไทเกอร์ไอเดีย (คุณเม่น) ได้ไปช่วยออกแบบเว็บไซต์ factreport.go.th ให้กับทีมเทพ Drupal นำโดยคุณเก่ง ปัจจุบัน factreport นั้น pagerank 6

เว็บไซต์ factreport
เว็บไซต์ factreport

ปรากฎว่าทางรัฐบาลได้รับแจ้งให้ตรวจสอบลิขสิทธิ์ของ font ที่ใช้ในการออกแบบด้วยว่ามีการซื้อลิขสิทธิ์มาถูกต้องหรือไม่และทางรัฐบาลจึงสอบถามมาทางบริษัทผู้จัดทำเว็บและคุณเก่งก็สอบถามมายังคุณเม่นซึ่งเป็นผู้ออกแบบอีกทีครับ

ทางไทเกอร์ไอเดียจึงส่งจดหมายไปยังผู้แจ้งต้นเรื่อง ว่าฟ้อนท์ชื่อ ” ชัดเจน” ซื้อลิขสิทธิ์มาจากบริษัทคัดสรรดีมากตั้งแต่ปี 2006 เพื่อให้บริษัท แจ้งรัฐบาลว่าทางเราออกแบบโดยมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามจดหมายด้านล่างครับ

เรียนทีมงาน DB

พอดีทาง DB ได้ส่งหนังสือไปทางหน่วยงานรัฐในเว็บ factreport.go.th ว่าใช้ฟอนท์ DB อยู่ ทางรัฐบาลเลยอยากให้ผมทำหนังสือไปให้เค้าเพื่อยืนยันว่า เราซื้อฟอนท์ DB มาถูกกฎหมายครับ

ดังนั้นผมเลยอยากถามว่าพอมีแบบฟอร์มให้ผมดูบ้างหรือไม่ เนื่องจากผมต้องทำหนังสือยืนยันว่าเรามีลิขสิทธ์ิ

ผมชื่อพัชรจากบริษัท ไทเกอร์ ไอเดีย ซึ่งซื้อฟอนท์มาจาก DB เมื่อปี 2006 โดยมีลิขสิทธิ์ดังนี้ครับ ( ตอนนั้นคุณ @imenn เป็นคนติดต่อซื้อ )

1. DBSodaX-v3.0
2. Unicode DBX Vol1
3. Unicode DBX Vol2

ทางทีมงาน DB ก็ตอบกลับมาอย่างรวดเร็วและดำเนินการให้อย่างเรียบร้อย ขอบคุณครับ 🙂

จากการตรวจสอบที่เกิดขึ้น ทาง DB เข้าใจว่าอาจทำให้เกิดความไม่สะดวกกับไทเกอร์ ไอเดีย
ทาง DB จึงเร่งออกจดหมายรับรอง และใบแสดงสิทธิ์การใช้งานมายังท่าน โดยแนบมากับเมลล์นี้

ในโอกาสต่อไป หาก DB มีการตรวจสอบไปยังลูกค้าอื่นของท่านอีก
ก็สามารถนำใบแสดงสิทธิ์ (Font License.pdf) ยืนยันกับลูกค้าได้
พร้อมทั้งการแจ้งข้อมูลลูกค้านั้นให้ DB ทราบด้วย

ทาง DB ต้องขออภัยมาอีกครั้ง เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีผู้ละเมิดฟอนต์ DB กันอย่างต่อเนื่อง
จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบการใช้ฟอนต์เช่นกัน

รายละเอียดเอกสารชุดที่ 1

ใบสำคัญแสดงสิทธิ์การใช้ฟอนต์ลิขสิทธิ์ของ DB ใบสำคัญนี้ บริษัท ดีบี ดีไซน์ จำกัด มอบไว้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า บริษัท ไทเกอร์ ไอเดีย จำกัด ได้ซื้อสิทธิ์ในการใช้ฟอนต์ลิขสิทธิ์ของ DB ชุดDB Soda(PS & Unicode Fonts)จำนวน 1 ชุดตามรายละเอียดในใบเสร็จรับเงินเลขที่ 49-048 ลงวันที่ 15 มี.ค.49 ได้ซื้อสิทธิ์ในการใช้ฟอนต์ลิขสิทธิ์ของ DB ชุดที่ 1 (PS & Unicode Fonts) จำนวน 1 ชุดตามรายละเอียดในใบเสร็จรับเงินเลขที่49-128 ลงวันที่ 4 ส.ค.49 ได้ซื้อสิทธิ์ในการใช้ฟอนต์ลิขสิทธิ์ของ DB ชุดที่2.(PS & Unicode Fonts)จำนวน 1 ชุดตามรายละเอียดในใบเสร็จรับเงินเลขที่ 49-170 ลงวันที่ 10 ต.ค.49 สำหรับคอมพิวเตอร์จำนวนไม่เกิน 4 เครื่องโปรดเก็บใบสำคัญนี้ไว้ เพื่อแสดงสิทธิ์การใช้งานอย่างถูกต้อง

รายละเอียดเอกสารชุดที่ 2

สัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ดีบี (DB) ระหว่างบริษัท ดีบี ดีไซน์ จำกัด และ บริษัท ไทเกอร์ ไอเดีย จำกัด ชื่อฟอนต์ที่อนุญาตชุดพิเศษ DB Soda Xชุดที่ 1 ประกอบด้วยฟอนต์ DB Erawan X, DB FongNam X, DB Narai X, DB PatPong X, DB Pradit X, DB Private X, DB SiamSquare X, DB SiamSquareText X, DB Silom X,DB Sathorn X, DB Surawong X, DB Template X, DB ThaiText Xชุดที่ 2 ประกอบด้วยฟอนต์ DB Diet X, DB JariyaTham X, DB KhaoSan X, DB Lim X, DB NamSmai X, DB Sharp X, DB SiKrok X, DB Steel X, DB Stick X, DB ThongLor X, DB ToonHua X, DB Wittayu X

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท ดีบี ดีไซน์ จำกัดข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์นี้

(1) อนุญาตให้ใช้งานเฉพาะองค์กร สำหรับคอมพิวเตอร์พีซีและแมคอินทอช รวมกันไม่เกิน 4 เครื่อง ประกอบด้วยฟอนต์ 2 แบบ- Unicode Fonts ใช้งานได้ในโปรแกรม Adobe CS2-CS3 ที่รันบนเครื่อง MacOSX และ WinXP- PostScript Fonts ใช้งานได้ในโปรแกรม Adobe Illustrator9-10, PageMaker ที่รันบนเครื่อง Mac เท่านั้น

(2) อนุญาตให้ใช้สำหรับออกแบบงานสื่อประชาสัมพันธ์ทุกประเภทที่จัดทำโดยหน่วยงานภายในเท่านั้น(ยกเว้นการนำไปใช้จัดทำนิตยสาร, วารสารที่มีรอบการจำหน่ายต่อเนื่องเป็นประจำ หรือใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำ Identity กล่าวคือ ชื่อ, ตราสัญลักษณ์, โลโก้, คำขวัญ, ข้อความ, สโลแกนต่าง ๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสม่ำเสมอ ซึ่งรวมไปถึงการเจาะจงเลือกโปรแกรมฟอนต์ภาษาไทย DB รุ่นใดรุ่นหนึ่ง ไปใช้เพื่อเป็น มาตรฐานสม่ำเสมอในหลายสื่อหลายโอกาส ต้องชำระค่าลิขสิทธิ์เพิ่ม)

(3) ห้ามเผยแพร่ต่อให้บุคคล / Agency / Supplier ภายนอกโดยเด็ดขาด หากมีการระบุให้ supplier ใช้ฟอนต์ DB, Supplier มีหน้าที่ซื้อลิขสิทธิ์ฟอนต์นั้นเอง

(4) ได้รับสิทธิ์การใช้ฟอนต์โดยไม่จำกัดเวลา ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

และ DB ได้ออกเอกสารให้รัฐบาลตามนี้ ทั้งหมดทาง DB ดำเนินการให้เร็วมากใช้เวลาไม่ถึงสองวันครับ 🙂

13 กรกฎาคม 2552

เรื่อง รับรองสิทธิ์การใช้Œฟอนต์ลิขสิทธิ์ DB ในเว็บไซต์ factreport.go.th

เรียน คณะกรรมการรวบรวม และประมวลเหตุการณ์ ความไม‹สงบจากการชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2552 และเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่อง (คบช.)

อ้Œางถึง หนังสือแจŒ้งการใชŒ้ฟอนต์ลิขสิทธิ์ DB ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2552

ตามที่บริษัท ดีบี ดีไซน์ จํากัด ผู้Œเป็šนเจ้Œาของลิขสิทธิ์ฟอนต์ DB ได้Œส่‹งหนังสือลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 เรื่อง แจŒ้งการใช้Œฟอนต์ลิขสิทธิ์ DB Wittayu ในเว็บไซต์ factreport.go.th ไปยังท่‹านนั้น บริษัทฯ ขอเรียนใหŒ้ทราบว‹่าขณะนี้บริษัทฯ ไดŒ้รับการประสานงานจากบริษัท ไทเกอร์ ไอเดีย จํากัด ว‹่าเปšนผูŒจัดทําและเลือกใช้Œฟอนต์ DB Wittayu ในเว็บดังกล่‹าวทางบริษัท ดีบี ดีไซน์ จํากัด จึงออกหนังสือฉบับนี้มาเพื่อรับรองว‹่า บริษัท ไทเกอร์ ไอเดีย จํากัด เป็šนผู็Œที่ซื้อลิขสิทธิ์ฟอนต์ DB ที่ไดŒ้ใช้Œในเว็บไซต์ไปแลŒ้วอย‹างถูกต้Œองตามกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทฯ ตŒ้องขออภัยผูŒ้เกี่ยวขŒ้องทุกท่‹านสําหรับความไม่‹สะดวกในการตรวจสอบสิทธิ์การใชŒงานที่เกิดขึ้น และขอขอบคุณเปš็นอย่‹างสูงที่ท‹่านใหŒความร‹่วมมือในการแจŒ้งขŒอมูลใหŒ้บริษัทฯ ทราบมา ณ โอกาสนี้

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ทำเว็บใหญ่ๆ ต้องใส่ใจลิขสิทธิ์ฟอนต์

เพื่อนๆบางคนอาจมีความรู้สึกว่า ฟอนต์ต้องซื้อด้วยหรือ ? แน่นอนครับว่าสิ่งที่ต้องคิดมาและลงทุนในการพัฒนาก็ต้องได้รับผลตอบแทนเช่นกัน การใช้ฟ้อนต์เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงถึงการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างรุนแรงโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากำลังละเมิดอยู่ซึ่งหนักกว่าวงการเพลงหลายเท่ามากครับ ทีนี้ลองมาดูกันว่าฟ้อนต์มีอะไรยากนักหรอ ?

จากบทความต่างๆใน http://f0nt.com/readme/ ของ @iannnnn
จะพบความยากในการทำฟ้อนต์หลายอย่างเช่น ลองดู Hinting / Kerning ซึ่งเป็นเรื่องยากมากๆ ของ Font ครับ

โดยคุณ Mk ได้เคยเขียนไว้ว่า Hinting นั้นเป็นทักษะของเทพ ทีเดียว

ส่วนเรื่องทักษะของเทพ ส่วนหนึ่งคนทำเรื่องนี้ในไทยที่ชื่อคุณเทพนี่เป็นคนผลักดันเรื่องการแปลภาษาไทยใน opensource ทั้งหลาย เป็นคนยิ่งใหญ่ในวงการทีเดียว ปัจจุบันรู้สึกว่าสุขภาพไม่ได้ เลยอยู่ต่างจังหวัด รับงาน freelance ผ่านคนรู้จักแทนครับ

บทความที่น่าสนใจเรื่อง font ของคุณเทพ ( คุณเม่นส่งมาให้ครับ )

http://thep.blogspot.com/2005/01/kinnari-fine-tuning.html
http://thep.blogspot.com/2007/04/font-tuning.html
http://thep.blogspot.com/2007/04/garuda-refinement.html
http://thep.blogspot.com/2007/05/font-tips-notes.html
http://thep.blogspot.com/2007/05/postscript-hinting.html
http://thep.blogspot.com/2007/05/stem-hinting.html
http://thep.blogspot.com/2007/11/synthetic-font-and-hinting.html
http://thep.blogspot.com/2007/12/cubic-vs-quadratic-splines.html

ในเรื่อง font บน flash ก็มีประเด็นให้ต้องช่วยกันแก้ไขเช่นกัน ดังโพสของ @sugree ใน Blognone
ที่ว่า เดินหน้าแก้ปัญหาภาษาไทยใน Flash Player ซึ่งสุดท้าย คุณสุกรีมาโน้ตข้อความที่แสดงตัวอักษรทั้งหมด

บางครั้งต้องมีการกำหนดและเช็คด้วยประโยค Standard
เช่นประโยคสำหรับเช็ควรรณยุกต์ลอย (ไม่ใช่สระลอยนะ) คือ “นี่ป้าอย่าฟันสนู้ปปี้

สำหรับข่าวครึกโครมเรื่องการไล่ฟ้องด้านฟอนต์ก็จะมี PSL ครับ เพราะฟอนต์ PSL มีการวิจัยในการทำงานมาพอสมควร และฟ้อน กิติธาดาก็เป็นฟอนต์ภาษาไทยที่โดดเด่นทันสมัยทำให้คนชอบเอาไปใช้ใน banner ป้ายชื่อ หรือโครงการคอนโดต่างๆ สำหรับเคสที่ฟ้องแล้วชนะก็มีนะครับ ลองอ่านที่ board f0nt นี้มีคนถูกฟ้องเรื่องใช้ font PSL เป็นเงินระดับแสนบาท แต่ที่สำคัญคือ มีคนน้อยมากที่จะรู้สึกเรื่องลิขสิทธิ์และพูดกันไปต่างๆนาๆว่าแพงอย่างนู้นอย่างนี้ไม่เป็นธรรม ฯลฯ ที่จริงแล้วมันก็แค่ถ้าไม่อยากจ่ายเงินก็อย่าใช้ font ลิขสิทธิ์เท่านั้นเอง ( แต่ในประสบการณ์ของผม font สวยจะช่วยในเรื่องดีไซน์และลดเวลาได้อย่างมากครับ )

สำหรับเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆในการทำเว็บทั้งฟ้อนต์รูปและอื่นๆเป็นที่มาที่บริษัท TiGERiDEA มักจะใส่ลิงก์ไว้ที่ด้านล่างของเว็บลูกค้าที่เราทำครับ เพราะเมื่อมีปัญหาในการเช็คลิขสิทธิ์งาน ทางผู้เช็คสามารถมาดู index ได้ทันทีว่าบริษัทเราเป็นผู้สร้างสรรค์งานโดยใช้ลิขสิทธิ์ของเค้า ผมจึงสนับสนุนให้ใส่ลิงก์ผู้ทำเว็บไว้ที่ footer นะครับ 🙂