ทำเว็บรัฐบาล ตอนที่ 4 ( recovery.go.th ) ประชุมใหญ่มาก

ทางคณะทำงานนัดแนะเวลาประชุมตอน 9 โมงเช้าเพื่อประชุมด้านการสรุปงานให้กับคณะทำงานและไทเกอร์ไอเดีย ผมไปถึงก็เดินหาห้องประชุมกับคณะทำงาน(ที่เป็นผู้นัดประชุม)อยู่นานสองนานเพราะไม่แน่ใจว่าเค้าประชุมกันที่ไหน (น่าจะปรับระบบคอนเฟิร์มการประชุมสำหรับรัฐบาล) จนกระทั่งเดินกลับมาทีตึกบัญชาการหนึ่งชั้นสามอีกครั้ง พอเข้าไปก็พบกับห้องประชุมขนาดอลังการมีผู้รับผิดชอบระดับปลัดกระทรวง,รัฐมนตรีรวมทั้งตำรวจระดับนายพลและมีท่านเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในที่ประชุม ด้านหลังของผู้ประชุมก็มีทั้งเลขาส่วนตัว ผู้ช่วย และเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องกันอีกมากมายโดยห้องประชุมจัดเป็นอัฐจรรย์เสริมขึ้นไปทางด้านข้างอีกประมาณหกแถว รวมผู้เข้าร่วมประชุมเกือบหนึ่งร้อยคน ทำให้ผมคิดว่า พับ agenda บางข้อเก็บดีกว่า… (ลองจินตนาการคนร้อยคนเลือกโลโก้ของเว็บกันดูสิครับ)

photo-40

ภาพจาก Mac ของผมถ่ายตอนที่คนยังมาไม่เยอะครับ จะเห็นด้านขวามีคนนั่งต่อขึ้นไปอีกหกชั้น

ทางคณะทำงานท่านรองนายกฯนั้นมีมาเข้าห้องประชุมเพียงคนเดียวเท่านั้น แถมนั่งคนละมุมห้องกับผม ผมจึงคาดว่าผมต้องเป็นคนพรีเซ้นท์เป็นแน่จึงได้รีบเตรียมตัวอย่างขมีขมัน จากนั้นเมื่อครบองค์ประชุมท่านเลขาธิการนายกฯได้เปิดประชุม แต่อนิจจาขณะที่ผมกำลังเซ็ทคอมพ์(ท่านเลขาเริ่มเปิดประชุมแล้ว)ก็พบว่าห้องประชุมที่ใหญ่ขนาดนั้นไม่มีสัญญาณ wireless ซะนี่ ผมจึงเรียกผู้ที่น่าจะรับผิดชอบด้านเทคนิค(ดูได้จากการแต่งตัว)เข้ามาช่วย เค้าก็ไปลากสายแลนที่ไม่มีสัญญาณอะไรเลยมาให้อีกชุดนึงแล้วก็เดินหายไป (ช่วงนี้โทรหาคุณเม่นด้วย แต่คุณเม่นคงจะสอนอยู่) เดชะบุญที่มีสํญญาณ truewifi อ่อนๆสองขีดน่าจะมาจากร้านกาแฟด้านนอกทำเนียบซึ่งโหลดเว็บได้ช้ามาก ผมเลยโหลดเตรียมไว้ก่อนทุกหน้า 

จากนั้นก็เป็นช่วงที่ท่านเลขาซักไซ้ไล่เรียงผู้รับผิดชอบทั้งสิบหกโครงการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่หนึ่ง(โครงการ 18 โครงการมูลค่ารวมกว่าแสนล้านบาทที่ต้องใช้ให้หมดภายในหกเดือน)ไปเรื่อยๆอีกประมาณชั่วโมงครึ่ง บรรยากาศในห้องประชุมนั้นมีเพียงการรายงาน ไม่มีการซักถามแต่อย่างใด ทุกคนต่างเตรียมตัวพูดสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบกับงบประมาณระดับหมื่นล้านบาท และท่านเลขาฯก็ระบุให้แจ้งข้อมูลทั้งหมดแก่คณะทำงานด้านเว็บไซท์(โดยยังไม่ได้ระบุว่าจะติดต่ออย่างไร) 

และสุดท้ายท่านเลขาก็แนะนำคณะทำงานเว็บไซท์และให้พรีเซ้นท์เกี่ยวกับเว็บ ทางผมก็เริ่มพรีเซ้นท์ตามที่คุณเม่นได้แนะนำมาเป็นอย่างดี (โดยดึงไมค์ของผู้รับผิดชอบโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดมาใช้เนื่องจากท่านยังไม่ได้ใช้อยู่) ระหว่างพรีเซ้นท์ผมได้มีการซูมเข้าซูมออกตามสไตล์ของ Mac จากการสังเกตปฎิกิิริยาตอบสนองก็พบว่ามีเจ้าหน้าที่หลายคนให้ความสนใจทีเดียว จนจบการพรีเซ้นท์ที่มีหน้าแสดง status ของโปรเจ็คผมก็พบว่าหลายๆคนน่าจะมีความสงสัย function ของเว็บในส่วนของการแสดงความคืบหน้าอยู่บ้าง จนตอนสุดท้ายทางประธานในที่ประชุมบอกว่าท่านรองนายกฯต้องการให้โครงการโปร่งใสถึงที่สุด ถ้าใครมีเอกสารจัดซื้อจัดจ้างที่ทำเสร็จแล้วก็สามารถนำมาขึ้นเว็บไซท์ได้เลย ซึ่งก็เรียกบรรยากาศที่ผมบรรยายได้ยากออกมาจากสมาชิกหลายท่านทีเดียวครับ 😛 ( มีเจ้าหน้าที่หลายคนใช้เครื่องอัดเสียงในที่ประชุมด้วย ความรับผิดชอบในการพูดสูงมาก คิดๆดูน่าจะส่ง quotation เบี้ยประชุมครั้งละสองหมื่นเพิ่มด้วยนะนี่ )

ในช่วงบ่ายมีการประชุมกันอีกรอบหนึ่งกับทีมงาน มีบันทึกการประชุม ดังต่อไปนี้

การประชุมเรื่องการเตรียมงานข้อมูลลงโครงการ

วันที่ 23 มีค 2552 เวลา 14:00
ที่ ห้องประชุม รอง ลธน.บ.

ผู้เข้าร่วมประชุม

ตัวแทนคณะทำงาน รอง รนม

ตัวแทนสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี

ไทเกอร์ไอเดีย

ตัวแทน IT ศลน

ตัวแทนกลุ่มประสานงานการเมือง

ขอข้อมูลทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังต่อไปนี้
………………………..
ส่วนของการแก้ไขข้อมูล

แต่ละโครงการเช็คความถูกต้องในบล็อคของตนเอง
http://www.helpthai.info/demo/progress/

A.ทำการ อัพเดทข้อมูลในช่อง ข้อมูลขอไม่เยอะเกินไป ใส่บล็อคได้
ก.โครงการนี้คืออะไร (What?)

ข.หลักการและเหตุผล (Why?)

ค.กลุ่มเป้าหมายและผู้ได้รับผลประโยชน์ (Who?)

ง.วิธีการดำเนินการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (How?)

จ.กำหนดการดำเนินงาน (When?)

ฉ.ติดต่อผู้รับผิดชอบ (Contact) ขอผู้รับผิดชอบและ เบอร์โทรครับ

B.ความถูกต้องอื่นๆ

ซ.ชื่อโครงการแบบสั้นๆเพื่อให้ประชาชนเรียก ใช้ได้หรือไม่ ขอยาวไม่เกินบล็อคของ http://www.helpthai.info/demo/progress/

ณ. ในกรณี ต้องการแสดงข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่าที่ใส่ในเว็บไซท์ ให้ส่งลิงค์ของเว็บไซท์โครงการมาให้

ในกรณีที่ไม่มีเว็บไซท์ ขอให้ส่งเอกสาร pdf มาให้ทางทีมงานโพสเป็นลิงค์ให้ download

เช่น pdf รายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการและลิงค์ e-auction

ส่วนของการอัพเดทข้อมูล


A. ส่วนของความคืบหน้าโครงการ
(ใส่ในหน้า “ความคืบหน้าโครงการ”)

ก.ความคืบหน้าของการเบิกจ่าย …. %
ข. ทัน หรือ ล่าช้า
ค.ความคืบหน้าของโครงการ …. %
ง.ทัน หรือ ล่าช้า

B, การส่งข่าว ให้ส่งพร้อมรูปถ่ายเช่นเดียวกับ
http://www.helpthai.info/demo/progress/news-2/

C, ขอวาระงาน (สิ่งที่จะเกิด) โครงการ 16 โครงการสำหรับใส่ใน Blog ข่าว

Note การประชุม

ฝ่าย IT เตรียมส่งข่าวให้ทาง TiGERiDEA
ทาง IT คุยกับผู้จัดทำเว็บ ThaiGov ให้เพิ่ม field

สามารถส่งข้อมูลได้ที่ [email protected]

………………………

ภาคผนวก

ขออนุญาติแนบเมล์ของคุณเม่นเมื่อวานนี้ครับ

ตอนนี้ออนไลน์เว็บช่วยชาติเวอร์ชั่นเดโมแล้วนะครับ
ที่ http://www.helpthai.info/demo/

จะเห็นว่ามีหน้าที่จำเป็นสำหรับให้กลุ่มอื่นๆ ดูดังนี้ครับ



http://www.helpthai.info/demo/
หน้าแรก มีวีดีโอ (รอจากทีมรัฐบาล) และข้อความจากนายก
ส่วนล่างคือโครงการเร่งด่วน ผมปรับให้เด่นแค่ 4 โครงการ ที่เหลือเป็นแค่ชื่อ

ผมคิดคำโปรยแต่ละโครงการไว้ให้ด้วย คือการบอกคร่าวๆ ว่าทำอะไร ให้ใคร ใช้เงินเท่าไหร่ (ถ้าสนใจไอเดียนี้ คงต้องเขียนให้ครบทุกโครงการนะครับ เพราะผมเขียนไว้แค่ 4 โครงการ) เมื่อคลิกที่ชื่อโครงการจะไปหน้ารายละเอียดโครงการนะครับ (ขอเรียกว่า Project Landing Page)

http://www.helpthai.info/demo/about/
หน้า about คือให้ข้อมูลสามส่วนหลักนะครับ
1. เนื้อหาที่คณะทำงาน รนม ส่งให้ผม ผมยังทำกราฟไม่เรียบร้อยนะครับ เดี๋ยวพยายามทำกราฟเพิ่มให้ครับ (ผมตั้งชื่อส่วนนี้ว่า วิกฤติและการพลิกฟื้น) ตอนนี้ทุกหน้าเสร็จแล้ว คลิกดูที่หน้าแต่ละหน้าได้ครับ
2. Timeline ผมตั้งว่า “ช่วงเวลาดำเนินการ” ลองใช้ดูนะครับ ระบบจะเหมือนกับของทางโอบามา แต่ของเราซับซ้อนกว่า สามารถคลิกที่ชื่อแต่ละอันเพื่อดูรายละเอียดได้
3. รายชื่อทั้ง 16 โครงการ คลิกแล้วจะไปที่หน้ารายละเอียดโครงการนะครับ


http://www.helpthai.info/demo/impact/
หน้าประชาชนได้อะไร

ผมแบ่งออกเป็น 2 มิตินะครับ

1.  มองประชาชนตามกลุ่ม 9 กลุ่ม ถ้าเอาเมาส์วางเหนือ ชื่อกลุ่ม จะมีรายละเอียดของกลุ่ม พร้อมกับโครงการที่ match กับกลุ่มนั้น เขียนเป็นกราฟให้เรียบร้อย
ในตัวอย่างนี้ ผมทำให้ดูกลุ่มเดียว เพราะไม่แน่ใจว่า ชอบไอเดียนี้หรือเปล่า ถ้าชอบ ผมจะไปทำที่เหลือให้ครบครับ (ผมเอาข้อมูลความคืบหน้าแต่ละกลุ่ม จากไฟล์ที่พี่โสภณให้มาครับ)

2. มองประชาชนตามจังหวัด อันนี้เพิ่มมาจากใน Proposal ้ที่เสนอนะครับ เพราะว่าเราทั้งหมดก็เพิ่งได้ข้อมูลจากผุ้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ทำให้มีงาานเพิ่มเข้ามา ผมเลยสร้างไอเดียใหม่ ขอตั้งชื่อว่า Province Landing Page นะครับ ซึ่งถ้าเห็นด้วย ก็ต้องหาข้อมูลที่เหมาะสมมาใส่ในหน้านี้ครับ (ลองดูของจังหวัดชุมพรที่ http://www.helpthai.info/demo/impact/province/chumphon/ )




http://www.helpthai.info/demo/progress/
ความคืบหน้าโครงการ

เนื่องจากเรามีโครงการมาก การจะดูโครงการเป็นอย่างที่เคยคุย (เช่น Bubble) ลองออกแบบแล้วไม่สวยครับ ผมเลยคิดใหม่เป็น Dashboard ครับ คือมองโครงการรวม แล้วมีเส้นกราฟแสดงความคืบหน้าของแต่ละโครงการ เมื่อคลิกที่โครงการ จะเข้าไปหน้า Project Landing Page  ครับ

ด้านล่างของหน้านี้ เป็น Blog ของโครงการช่วยชาติทั้งหมดนะครับ แบ่งเป็น category ตามโครงการย่อยๆ 16 โครงการ
เนื่องจาก Blog เป้นระบบที่ยืดหยุ่น ดังนั้น หากวันหลังคิด Category ใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา ก็เพิ่มได้เรื่อยๆ นะครับ เช่น อาจจะมี Category ชื่อว่า รายงานงบ, รายชื่อผู้ประมูลโครงการได้, วีดีโอ ฯลฯ

จริงๆ แล้ว Blog ยังมีระบบ Tag อีกด้วย แต่ว่าค่อนข้างอธิบายยากครับ เดี๋ยวลองมีข่าวนำเสนอซัก 10-20 ข่าว ผมจะเอามานำเสนอให้ดูครับ



รายละเอียดโปรเจ็ค เช่น
http://www.helpthai.info/demo/about/projects/cheque/

ผมขอเรียกว่า Project Landing Page นะครับ
อันนี้ผมเรียบเรียงให้ก่อน ทุกโปรเจ็คแล้วนะครับ อยากให้คนที่รับผิดชอบแต่ละโปรเจ็คมาดูแล้วบอกว่าจะแก้คำเป็นอย่างไรนะครับ (ขอเป็นเมล์นะครับ ไม่ขอเป็น Fax ละกันนะครับ)



รายละเอียดจังหวัด เช่น
http://www.helpthai.info/demo/impact/province/chumphon/

ผมขอเรียกว่า Province Landing Page นะครับ
ต้องปรึกษาว่าอยากให้มีหรือเปล่า? และถ้ามี จะมีอะไร?
แล้วขอให้ทุกจังหวัดส่งข้อมูลมานะครับ (เห็นว่าจะมีคนรวบรวมให้ ก็ส่งเมล์มาให้ทางผมต่อได้เลยนะครับ)



ลูกเล่นในทุกหน้า : ระบบ search

ผมติดตั้งระบบ Internal Search ไว้ให้เรียบร้อยแล้วนะครับ ลองพิมพ์ดูได้ครับ มันจะขึ้นหน้าที่เกี่ยวข้องมาให้ เช่นลองพิมพ์คำว่า เช็คช่วยชาติ


หน้าที่เหลือผมคิดว่าไม่เร่งด่วนนักในวันพรุ่งนี้ แต่ก็อยากขอข้อมูลทิ้งไว้ด้วยครับคือ
1. แบ่งปันเรื่องราว มีข้อความที่เรียบเรียงเป็นประโยคแล้วมั้ยครับ ถ้าจะให้ผมคิดจริงๆ ก็ได้ครับ (แต่ว่าตอนต่อราคาครั้งที่แล้ว ตัดราคาของ Copy Writer ไปนะครับ)
2. FAQ ผมเสนอให้ไปแล้วในเมล์ก่อน โพสต์ไว้ที่ http://www.helpthai.info/internal/post/19 ครับ
3. ติดต่อเรา ขอข้อมูลที่อยากให้ลงเว็บด้วยครับ เช่นหน่วยงานที่ให้ติดต่อ เบอร์โทร อีเมล หรือแผนที่ (ถ้าอยากจะลงนะครับ)

ปรากฎว่าคุณเม่นได้ขอความเห็นไปยัง ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของทีมไทเกอร์ ผมขออนุญาตินำคอมเม้นท์ต่อเว็บมาเผยแพร่ด้วยครับ

น้าแรก
– ดูแล้วยังไม่เข้าใจว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร น่าจะมี block
อีกสักอัน (ตรงตำแหน่งสีแดง s1) บอกว่าเว็บนี้เป็นเว็บเกี่ยวกับอะไรด้วย
เช่น “เป็นเว็บไซต์ที่แสดงข้อมูลและความคืบหน้าของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เพือความโปร่งใสและให้ประชาชนมีส่วนรวม…” สั้นๆ สัก 2-3 บรรทัด

e0b88ae0b988e0b8a7e0b8a2e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b4

/about

– ผมว่าสี่เหลี่ยมในช่อง “วิกฤตและการพลิกฟื้น” สีมันจืดๆ ไปหน่อยนะครับ (s2)
e0b88ae0b988e0b8a7e0b8a2e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b42
– ดูแล้วหน้าย่อย 4 อัน มันเหมือนเป็นอีก section นึงของ /about
ดูไม่ค่อยกลืนกัน เป็นไปได้ไหมว่าเราจะแยกหน้า “เกี่ยวกับ”
(ซึ่งประกอบด้วย 4 อันย่อยนี้) และหน้า timeline ออกจากกัน
(หรือไม่อย่างงั้นก็เอา timeline ไปใส่หน้าแรก)
– ตรง timeline ดูแล้วไม่รู้ว่าจะมีไปฝั่งขวาต่อได้
น่าจะมีลูกศรหรือไม่ก็ scrollbar (ถ้าทำได้) (s3)

e0b88ae0b988e0b8a7e0b8a2e0b88ae0b8b2e0b895e0b8b43
– ส่วนสีใน timeline ก็ดูไม่ค่อยออกว่ามันคืออะไร น่าจะมี legend ประกอบ (s3)

/impact

– สวยดีแล้วครับ แต่ตรงกรอบข้อมูลที่ต้อง hover ก่อน
น่าจะขึ้นมาเลยโดยไม่ต้อง hover (เลือกอัน default มาสักอัน)
จะได้รู้ว่ามีกรอบนี้อยู่
– ส่วนของประเทศคงต้องมีจุดบอกตำแหน่งที่ hover ไม่รู้จะทำยากแค่ไหน?
– คลิกเข้าไปในส่วนของแผน/จังหวัดแล้ว มันงงๆ
ว่าตอนนี้เราอยู่ส่วนไหนของเว็บ ผมเสนอว่าน่าจะมี breadcrumb นะครับ

/about/projects/cheque/

– ถ้าเป็นไปได้ กรอบทั้ง 6 อันน่าจะแยกสี และให้ consistent กันทุกโครงการครับ
– เว็บประชาสัมพันธ์แบบนี้ อาจจะต้องเน้นตัวเลขให้เตะตา (เลข 105,000
ล้าน) อะไรแบบนี้ อาจจะใช้สีต่างออกไปก็เป็นได้ครับ

ส่วนอื่นๆ ในเว็บก็คิดว่าไม่ซับซ้อนมาก และไม่มีอะไรต้องคอมเมนต์เท่าไรแล้ว

ผมมีประเด็นอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับดีไซน์อีกดังนี้

– เว็บจะต้องโดนโจมตีแน่ๆ ว่าลอก Obama มา คงต้องหาวิธีป้องกันตัว เช่น
อาจจะต้องเขียนบอกไว้ในเว็บ (และประสานงานกับฝ่ายการเมืองเพื่อให้ข่าว)
เลยว่า inspire by Obama
– ส่วนของ “แบ่งปันเรื่องราว” น่าจะพอช่วยลดแรงต้านได้เช่นกัน
ถ้าสามารถทำระบบที่คัดเอาคอมเมนต์บางส่วนขึ้นมาแสดงบนหน้าเว็บ
(อาจจะเป็นหน้า “แบ่งปันเรื่องราว” เอง หรือไม่ก็หน้าแรก
อารมณ์มันจะคล้ายๆ guestbook) อาจจะเป็นระบบมือก็ได้
แต่สุดท้ายแล้วต้องยอมให้มีคอมเมนต์ที่เป็นลบขึ้นมาบนเว็บด้วย
(ส่วนคอมเมนต์ดีๆ อาจจะต้องขึ้นเป็น features comment เด่นๆ ค้างไว้)
– ส่วนของ SEO ผมคิดว่าน่าจะต้องมานั่งคิด keyword กันว่าจะดักอะไรบ้าง
– เป็นไปได้ไหมครับว่าจะเจรจากับทางฝ่ายนู้น ให้ใช้ Creative Commons
กับเว็บไซต์ โดยอ้างว่า Obama ก็ใช้ 😀
– ส่วนสำคัญของเว็บนี้จะอยู่ที่ progress report ของการใช้จ่าย
(แยกตามหน่วยงานย่อยๆ)
ซึ่งผมค่อยข้างเป็นห่วงว่าสุดท้ายแล้วมันจะไม่มีคนอัพเดต
และกลายมาเป็นผลลบสะท้อนกลับมา
อันนี้ยังคิดไม่ออกว่าควรทำอย่างไรเหมือนกัน?
(สุดท้ายแล้วอาจจะต้องบอกให้ทางนายจ้างหาคนอัพเดต full time มา
อย่างน้อยให้เว็บมีความเคลื่อนไหวทุกวัน)

ปล. ในตอนทานข้าวกลางวัน คณะทำงานท่านหนึ่งที่สนิทกับท่านรองนายกฯอย่างมากได้บอกว่า ทางท่านรองฯชอบคำว่า road to recovery มาก อยากให้โปรโมท quote  นี้ ผมเลยพลันมานึกได้ว่า โลโก้ที่ทั่นเม่นออกแบบไว้มากมายนั้นสงสัยจะต้องทำเป็นรูปถนนเพิ่มด้วยซะแล้วมั้งเนี่ย