การเลือกซื้อกล้อง DSLR

การเลือกซื้อกล้อง เพื่อ เรียนถ่ายรูป

dslr

ผมเป็นอีกคนนึงที่ศึกษาเรื่องกล้องเพราะชอบถ่ายรูปมานานตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย
ตอนนี้ก็ประมาณสิบสี่ปีแล้ว ตอนแรกก็ยอมรับว่าพอเรามีกล้อง เพื่อนๆก็จะชอบ
เข้ามาดูรูปกันบ่อยๆ เป็นธรรมดาที่เด็กๆจะโชว์ออฟได้ พอผ่านมาระยะนึง
ก็เรียกว่าชอบถ่ายรูปชนิดที่ว่าไปไหนเห็นโลกแคบแค่ viewfinder ตลอด เวลาเดินก็ชอบแหงนหน้ามองฟ้า
ผมยอมรับว่า ผมชอบถ่ายรูปเพื่อนๆให้สวยๆเพื่อให้เพื่อนๆมีปฎิกิริยาที่ดีกับเรา
ผมได้เป็นตากล้องคณะก็เลยถ่ายฟรีตลอดเพราะเบิกค่าฟิลม์ได้ เป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาพอสมควร
ช่วงก่อนจบผมอยากถ่ายเพื่อนๆรับปริญญาให้สวยๆเลยพยายามเอาเงินที่เก็บมาทั้งหมดจนซื้อ
70-200 F2.8 L จนได้ครับ (ใช้กับ eos50) เป็นมือสองราคา 35,000
ถ่ายจนเปลี่ยนยุคเข้าสู่ ดิจิตอลและได้รู้ว่า การเกิดช่างภาพใหม่ๆนั้นง่ายกว่าแต่ก่อนอยู่มาก
เพราะการถ่ายจะเห็นผลจากจอทันที ไม่เกิด gap ของการเรียนรู้แบบสมัยก่อน

พอเรียนจบก็ได้มีโอกาสจับงานถ่ายรูปโฆษณาสเกลแบบถ่ายบิลล์บอร์ดที่อยู่ข้างๆทางด่วนกับ TiGERiDEA
ได้จับกล้อง medium format ที่มี digital back ความละเอียดมากกว่า 45M ราคาก็หลายล้านบาท
การถ่ายต้องเช่าสตูดิโอ มีเวลาจำกัด และก็เคยถ่ายงานจิวเวลรี่มาโครซึ่งถือว่าเป็นงานที่ยากที่สุดแล้ว
ปัจจุบันถ้าเป็นงานที่รับเงินผมก็ควบคุมตากล้องคนอื่นไปแทน รับหน้าที่เป็น Director ให้
เพียงแต่ว่าถ้าเป็นการถ่ายในฐานะมือสมัครเล่นที่เน้นทำให้เพื่อนๆมีความสุข
ผมก็ยังไม่หยุดครับ แต่ผมได้คืนสู่สามัญแล้วด้วยการใช้กล้องที่ตัวเล็กๆ แต่ก็ยังต้องเป็น SLR ครับ
ผมเคยไปเที่ยวโดยพกแค่ 400D กับ เลนส์ 50mm f1.8 เท่านั้น และผมเองก็ไม่ต้องการกล้องใหญ่ๆ
กับเลนส์ใหญ่ๆอีกแล้วด้วยเหตผลที่ว่ามัน เอิกเกริก และทำให้เพื่อนๆไม่ค่อยรู้สึกผ่อนคลายเวลาเราจะถ่าย
และผมถือว่า เหตการณ์ที่น่าจดจำเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้ากล้องตัวใหญ่เราจะรู้สึกไม่ practical
เวลาพกในชีวิตประจำวันทำให้โอกาสที่จะพกกล้องลดลงครับ อีกอย่างกล้อง 400D กับ 50mm
นี่ขนาดเล็กมากกว่าคอมแพ็ครุ่นใหญ่บางตัวนะครับ
แต่รูปออกมาคนละเรื่องเลย ซึ่งทำให้ต้องอุทานทุกคนเป็นอย่างดี
คติผมเวลาไปเที่ยวก็คือ กล้องต้องไม่อยู่ในกระเป๋ากล้องครับ คล้องแขนไว้ตลอด
ส่วนกระเป๋าเก็บไว้ที่รถเลนส์อีกตัวเก็บในกระเป๋ากางเกง

การแนะนำคนเล่นกล้องซื้อกล้องนั้น ต้องแบ่งเป็น สามจำพวกครับ
1. ระดับมืออาชีพ ส่วนใหญ่จะแนะนำ
กันที่ความเหมาะสมกับงานที่ใช้ รวมทั้งสภาพสังคมของช่างภาพคนนั้นว่าจะหยิบยืมอะไรได้
ถ้าเพื่อนๆของช่างภาพใช้ยี่ห้อไหนกันเยอะก็มักจะซื้อยี่ห้อนั้นเพราะอุปกรณ์สามารถใช้ทดแทนกันได้
-ช่างภาพภาคสนาม-ข่าว มักนิยมใช้ Canon เพราะสมัยก่อนเลนส์ Canon เร็วที่สุดแล้วและก็ยังใช้ติดมาจนถึงทุกวันย้ายค่ายไม่ได้เพราะอุปกรณ์ตัวเองมีเยอะ ยกเว้นช่างภาพรุ่นใหม่ๆอาจจะมี Nikon บ้างเพราะว่าเลนส์รุ่นใหม่ก็เร็ว (แต่แพง) Canon สามารถบันทึกภาพที่ยากๆและต้องต่อสู้กันกับช่างกล้องคนอื่นได้ดีครับ และยังมีการบริหารพลังงานที่น่าประทับใจมากด้วย
-ช่างภาพภาคสนาม- สารคดี ถ้าเป็นแนวถ่ายวิวมือเก๋าบางคนยังใช้ Leica บางคนก็ Pentax อย่างเช่น บก นิตยสารถ่ายรูปชื่อดังอันนี้ขึ้นอยู่กับสไตล์ของภาพและอุปกรณ์ที่เคยใช้มาด้วยเช่นกัน
-ช่างภาพสตูดิโอ แล้วแต่คนครับ ส่วนใหญ่จะใช้แต่ละยี่ห้อเท่าๆกันเน้นที่ Dynamics เยอะๆและ ความละเอียดสูง เช่น fujifilmตระกูลโปร หรือบางคนใช้ Nikon เพราะเคยใช้ตระกูล manual ชึ่งสมัยก่อนดังมากมาก่อน

อย่างไรก็ตาม Canon ถือว่าศูนย์บริการดีที่สุดแล้วในไทยครับ ผมคาดว่าโปรต้องคิดในส่วนนี้ด้วย

2. ระดับมือสมัครเล่นซีเรียส พวกนี้ถ้าแนะนำก็ไม่ Canon ก็ Nikon ครับเพราะเจ้าอื่นกล้องระดับกลางยังไม่
Mature ด้าน D-SLR กันเท่าไหร่ บางเจ้าก็ว่า Lens ดีมากๆอย่างเช่น Pentax แต่กล้องตัวที่ดีก็แพงไป
หรืออย่าง Sony เลนส์ที่เป็น คาร์ลไซท์ก็มีน้อยและก็แพงหูฉี่เหมือนกัน
ส่วน Nikon ผมว่ามาแรงช่วงนี้ครับเพราะคาร์แร็คเตอร์กล้องมีการปรับสีที่ฉีกจาก Canon ชัดเจนมาก
รุ่นใหม่ๆที่ออกมาไม่เกินสองปี เวลาถ่ายคนผิวจะเป็นสีชมพูสวยงามทีเดียวครับ(บุคลิกของ film fuji) ในขณะที่
Canon สีผิวถ้าปรับ saturate จะยังเป็นสีออกเหลืองๆอยู่ ตากล้องรุ่นน้องๆผมเลยย้ายค่ายกันเป็นแถว
แต่คนที่เป็นแฟนค่ายไหนก็จะมีตัวที่สามารถเกทับอีกค่ายให้เพื่อนๆได้พูดถึงเสมอครับ
มือสมัครเล่นซีเรียสผมแนะนำให้เล่นเลนส์ที่มี F2.8 อยู่แล้วเพราะให้ภาพที่ดูสวยแบบ Pop ได้ง่ายดี
แต่ถ้าเป็นผมตอนนี้จะชอบเลนส์ Fix ที่สุดครับเพราะให้ภาพที่คุณภาพดีที่สุด บางคนอาจจะติงว่า
จัดองค์ประกอบยาก แต่เนื่องจากประสบการณ์ของเราทำให้คาดการถึงเหตการณ์และตำแหน่งยืนได้ก่อนเสมอ
ในหลายๆคนที่เป็นมือใหม่มักจะชื่นชมเลนส์ครอบจักรวาล(ช่วงกว้างมาก)กลับให้ภาพที่ธรรมดาเอามากๆแทน

ผมเลือกภาพที่ สวย-ไม่จำเป็นต้องเป็นธรรมชาติ เป็น Priority หลักครับ ดังนั้นยึดหลักถ่ายเยอะๆ ด้วยอุปกรณ์ทีมีข้อจำกัด (lens fix)จะทำให้มีโอกาสได้ภาพที่ดีที่สุดจำนวนหนึ่งถึงแม้จะน้อย ในขณะที่การถ่ายเยอะด้วยอุปกรณ์ที่สะดวกแต่คุณภาพภาพไม่ดีเราจะได้ภาพที่ใช้ได้เยอะ แต่จะไม่มีภาพที่ดีที่สุดเลยนะครับ

3. มือใหม่อยากเรียนถ่ายภาพและใช้ SLR ผมจะต้องให้ชั่งน้ำหนักก่อนว่าเราให้ความสำคัญกับ
ขนาดกล้อง vs คุณภาพ แค่ไหน และมีโอกาสต้องถ่ายภาพแนวช่างภาพข่าวบ้างหรือไม่
จากนั้นลองหลับตาว่าลึกๆแล้ว เราคิดว่ากล้องยี่ห้อไหนระหว่าง Nikon กับ Canon ที่เท่กว่ากัน
แล้วก็มัดมือชกเลือกเลย แนะนำออฟชั่นให้แค่ 4 รุ่นที่เหมาะและ
เลือกได้เลย ทุกคนรู้อยู่แล้วล่ะครับว่าถ้าไม่มีอคติใดๆ สี่รุ่นนี้ควรเลือกที่สุดแล้ว

ขนาดใหญ่ไม่เป็นไร ขอสมรรถนะดี
Canon EOS 50D กับ Nikon D90

ขนาดเล็ก plactical คุณภาพถ้าถ่าย Raw ก็ reference ได้
Canon 450D กับ Nikon D80

อย่าไปคิดมากเรื่องคุณภาพของภาพครับ เพราะภาพที่สวยที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
ไม่ใช่ภาพที่ต้องใช้สีเที่ยงตรงหรือ dynamics ดีเสมอไปแต่อย่างใด ไม่ต้องคิดมาเรื่องระบบ
วัดแสงด้วยเพราะคุณไม่ใช่ช่างภาพข่าวที่อาจมีโอกาสถ่ายรูปได้เพียงครั้งเดียว วัดแสงผิดก็แค่ถ่ายใหม่นะ
แต่สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบกันชัดเจน คือพวก Imagestabilizer กับโทนสีของภาพต่างหากที่ต้องพิจารณาว่าชอบหรือไม่ครับ

ปัจุบันผมใช้ 450D กับเลนส์คิท และมี 85mm F1.8 อยู่ครับ เอาไว้แลก 10-22mm กับเพื่อน
ส่วน flash มี 550EX ตัวเก่าแต่ไม่เคยใช้เลยเพราะพยายามหลีกเลี่ยงการใช้แฟลช
สำหรับมือใหมื Canon เลนส์ที่จำเป็นต้องซื้อโดยไม่มีเหตผลที่จะเถียงเลยคือ 50mm F1.8II ครับ ราคาแค่ สามพันเท่านั้น
แต่เป็นเลนส์ตัวเดียวของคุณที่จะทำให้ภาพ ฉีกหนีจากบรรดากล้อง Compact ของเหล่าเพื่อนๆได้ทันที
และในอนาคตก็ยังยากที่กล้องคอมแพ็คจะถ่ายภาพแบบนี้ได้ เสร็จแล้วค่อยคิดว่า
จะซื้อเลนส์อะไรต่ออีกทีละกัน

แนะนำรีวิวของไทย 450D ที่น่าสนใจอยู่ใน Blog นี้ครับ มีภาพประกอบและอธิบายเป็นกลางๆ

ริวิว 450D