วิธีทำ SEO เบื้องต้น [1/2]

seo

วิธีทำ SEO เบื้องต้น [1/2]

Google ได้ออก เอกสาร เกี่ยวกับการทำ SEO หรือ search engine optimization
มาสำหรับผู้เริ่มต้นนะครับ ผมแปลมาอีกที ซึ่งใครสนใจระดับลึกกว่านี้สามารถติดต่อรับการอบรมได้ที่ iSchool ครับ

และสำหรับผู้ที่สนใจทำเว็บที่พิถีพิถันในเรื่องการทำ
SEO แบบเป็นธรรมชาติ (สายขาว ยั่งยืน) สามารถติดต่อได้ที่ TiGERiDEA
รวมถึงโปรเจ็คเว็บด่วนของทีมงานที่กำลังเร่งทำอยู่ vaivaiweb

Google’s Search Engine Optimization
Starter Guide v.1.1
11 พย. 2008

การทำ SEO ของเว็บไซท์ส่วนใหญ่ก็จะต้องมีการดัดแปลงโครงสร้างของเว็บอยู่บ้าง ซึ่งมักเป็นไปในทางที่ทำให้
เว็บของเราดีขึ้นในแง่ user experience อยู่จริง แต่ถ้ามีความพิถีพิถันในการทำ optimize ในหลายๆส่วนผลทีได้จะกลับมาอย่างมหาศาลเลยครับ อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง google ได้เน้นในการค้นหาเว็บที่มีคอนเท้นท์ดีและถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆครับ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางความนิยมในการเขียนบล็อคพอดีที่ว่า ” Content is the king ”

สำหรับการ optimize จะส่งผลให้เกิด ranking ที่ดีในบริเวณของ organic search ซึ่งไม่เกี่ยวกับ paid search ตามรูป

search aria
search area

อย่างไรก็ตามถึงแม้เราจะคุ้นเคยกับคำว่า search engine ว่าหาได้ทุกอย่างแต่ผมก็อยากจะให้ในขั้นแรกของการทำเว็บนั้น ได้ถูกกลั่นกรองและตัดสินใจก่อนว่า เว็บไซท์ของเรานำเสนออะไร อะไรที่เป็นสิ่งที่ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซท์ของเราต้องการและได้รับประโยชน์จากการเข้ามาชมเว็บไซท์ของเรา ถ้าเราไม่ใส่ใจในการวิเคราะห์เว็บไซท์ตัวเองแล้ว ก็เป็นการยากที่การ optimization จะให้ผลที่เราต้องการได้

ทางทีมงาน google ได้มีตัวอย่าง ที่จะอธิบายการนำเสนอเว็บไซท์ดังนี้ครับ

? Website/business name: “Brandon’s Baseball Cards”
? Domain name: brandonsbaseballcards.com
? Focus: Online-only baseball card sales, price guides, articles, and news content
? Size: Small, ~250 pages

สร้าง Title ของเว็บที่โดดเด่นไม่ซ้ำใคร(unique) และตรงไปตรงมา

Title tag จะบอกทั้ง ผู้ใช้งานเว็บและ search engine ว่าเว็บนี้กล่าวถึงอะไรเราต้องระบุให้ผู้ที่ดูเข้าใจได้ทันทีเราสามารถกำหนด Title tag นี้ได้ในทุกๆหน้าของเว็บไซท์เรา โดยระบุถึงจุดประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นได้และถ้าหน้าเว็บนี้ถูกเซิร์ทเจอใน google ตัวtitle tag นี้จะปรากฏหัวบรรทัดแรกของผลการค้นหาครับอย่างไรก็ตาม ต้องหลีกเลี่ยงการใส่ title ที่ไม่สำพันธ์กับข้อมูลในหน้านั้นๆ และอย่าใช้คำประเภท” new page 1″หลีกเลี่ยง การใช้คำบรรยาย title อันเดียวในทุกๆหน้าทั้งเว็บ และอย่าใส่ title ยาวเกินไปเพราะ googleจะตัดออกเวลาโชว์อยู่ดี และอย่าใช้คำที่ไม่เกี่ยวข้องกับ keyword ปริมาณมากๆใส่เข้าไปด้วย (ปกติ title tag จะปรากฎที่หัวของ windows browser อยู่แล้ว)

การใส่ “description” meta tag

ในขณะที่ tiltle เป็นเพียงวลีสั้นๆที่กล่าวถึงชื่อเรื่องและเนื้อหาในหน้าเว็บdescription ของหน้าเว็บนั้นๆ เป็นตัวช่วยให้ google สามารถสรุปได้ว่าทั้งหมดทั้งหน้านั้นว่าพูดถึงอะไรโดยอาจกล่าวสั้นสองสามประโยคหรือหนึ่งย่อหน้าสั้นๆ ตัว description นี้มีความสำคัญเพราะว่า googleจะหาคำที่เป็น keyword ที่อยู่ใน description นี้มาโชว์เป็นตัวในผลการ search ด้วยเช่นกันอย่างไรก็ตามการใส่ description ก็ต้องใส่อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ก็อปปี้ keyword มาวางซ้ำๆกันในแต่ละ pageซึ่ง google มีวิธีใส่ description อย่างละเอียดที่นี่ description ที่ต่างกันในแต่ละหน้าจะทำให้ผู้เซิร์ทสามารถเซิร์ท ค้นพบหน้าได้หลายหน้าในเว็บดีกว่า (เช่นคำสั่ง site: operator) แต่ในกรณีที่เว็บมีจำนวนหน้าเยอะมากเป็นหมื่นๆหน้าก็ควรใช้การ generate description โดยอัตโนมัติให้สัมพันธ์กับเนื้อหาในหน้านั้นๆ

ปรับปรุงโครงสร้างของ URL

การสร้าง categories ที่ดีให้กับเว็บไซท์ไม่เพียงแต่ทำให้การจัดการในเว็บง่ายขึ้นเท่านั้น มันยังช่วยให้ search engine สามารถค้นข้อมูลได้ดีขึ้นอีกด้วย ส่วน URL ที่ยาวและประกอบด้วยตัวอักษรที่ไม่มีความหมายนั้นก็ให้ผลที่ตรงข้าม

ตัวอย่าง URL ที่ไม่ดีและไม่มีความหมาย
ตัวอย่าง URL ที่ไม่ดีและไม่มีความหมาย

Google จะทำการ Highlight URL ที่เป็น categories ชัดเจนให้อีกด้วย เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่ค้นหา

URL จะถูกเน้นตามคำที่ user search
URL จะถูกเน้นตามคำที่ user search

ดังนั้นการสร้าง URL ที่ดี (ซึ่งผู้ที่ใช้ wordpress มักจะได้เปรียบในเรื่องนี้) จะต้องใช้คำที่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหา และไม่มีความลึกของ URLที่มากเกินไป (เช่น”…/dir1/dir2/dir3/dir4/dir5/dir6/ page.html” นอกจากนั้นก็ต้องหลีกเลี่ยงการเข้าถึง content จากหลาย URL เช่น “domain.com/ page.htm” and “sub.domain.com/page.htm” ,หลีกเลี่ยงการปนกันระหว่าง URL ประเภท www. และประเภท non-www. versions ภายในโครงสร้างของ internal linking สุดท้ายก็คือหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรเป็น ตัวใหญ่ (capital) เพราะผู้ใช้ส่วนมากจะชินกับการใช้ตัวเล็กปกติมากกว่าครับ ตัวอย่าง URL ที่ดีก็คือ URLของ iSchool.in.th นี่เอง ลองดูแต่ละหน้านะครับ http://www.ischool.in.th/courses/ หรือ http://www.ischool.in.th/register/ หรือ http://www.ischool.in.th/courses/sound-and-music/music-making/

ตอนต่อไป วิธีทำ SEO เบื้องต้น [2/2]