ลิขสิทธิ์ ดนตรี

ก็อบมาเก็บไว้ใช้ดูน่ะครับ ยังไม่ได้เรียบเรียง

URL กรมทรัพย์สินทางปัญญาครับ

http://www.ipthailand.org/ipthailand/index.php

แผนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
แผนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ลิขสิทธิ์เพลง เกิดขึ้นอัตโนมัติ ตั้งแต่สร้างสรรค์แล้วครับ
ไม่ต้องไปจด

แต่ที่ไปจดๆกัน เพื่อให้มีที่อยู่ในการติดต่อ
คนที่สนใจงานของเราจะ
สามารถติดต่อซื้อ-ขาย-เช่า ลิขสิทธิ์ได้โดยสะดวกครับ

เมื่อก่อนไม่รู้ว่าใครบอกผมมาว่าถ้าทำเพลงเสร็จแล้วอยากจะทำหลักฐานไว้ว่าเราเป็นคนท?ำตั้งแต่เมื่อไหร่
พอทำเพลงเสร็จให้ไรท์เพลงใส่ cd หรือว่าเขียนเนื้อเพลงใส่กระดาษแล้วใส่ซองจดหมายแล้วจ่ายหน้าถึงตัว
เองแล้วก็ไปส่งไปรษณีย์ ทีนี้พอเราได้รับจดหมายก็ไม่ต้องเปิดเก็บมันเอาไว้แบบนั้นแหละเพื่อที่จะได้เป็นหลัก?ฐาน
ยืนยันว่า เราเป็นคนทำ ไม่รู้ว่าเท็จจริงประการใดใครทราบบอกด้วยนะครับว่าวิธีแบบนี้มันใช้ได้หรือปล่าว
ให้ลิขสิทธิ์เกิดขึ้น
ให้ทำการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนครับ
เอาแบบให้มีพยานและหลักฐานอ้างอิงได้ชัดเจน

อีกทางหนึ่ง ทางสมาคมดนตรีมีบริการรับแจ้งรายละเอียดเพลงด้วยครับ

ฟฟฟฟ

มานับแต่วันที่ได้สร้างสรรค์งานนั้นแล้วครับ (เรียกว่าได้รับลิขสิทธิ์ตาม automatic system)

พอทำการโฆษณา (publication to public) ก็จะได้รับในเงื่อนไขของการโฆษณางาน(เป็นการวางล๊อกไว้สองชั้นกันเหนียวน่ะเอง ชั้นแรกได้โดยการสร้างสรรค์งาน
ชั้นที่สองยังได้จากการนำงานมาโฆษณาอีก)

ขออนุญาตเอานิยามมาลงไว้จะได้มิงงครับ

“เผยแพร่ต่อสาธารณชน” (Communication to public) หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน
โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
(ลง youtube หรือ hi5 ก็ด้วย)

“การโฆษณา” (Publication to public) หมายความว่า การนำสำเนาจำลองของงานไม่ว่าในรูปหรือลักษณะอย่างใดที่ทำขึ้นโดยความยินยอมของผู้สร้?างสรรค์ออกจำหน่าย (ขาย แจก ให้ )
โดยสำเนาจำลองนั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมากพอสมควรตามสภาพของงานนั้น (การให้ดาวโหลดก็ถือเป็นการนำสำเนาจำลองงานออกจำหน่ายครับ
ไม่ว่าจะให้ดาวโหลดไปฟังฟรีแบบในห้องฟังเพลง หรือจะขายแบบ e download ก็ตาม : ) ดังนั้นเลยถือเป็นการได้โฆษณางานด้วย แหล่มเลย )

ุถ้าจะัปั๊มแผ่นขาย ก็ต้องไปจด และขอเลขระหัสสำหรับอนุญาตปั๊มซีดีนะครับ

ฝฝฝฝฝฝฝฝฝฝ

คืออยากรู้ว่าการที่เราจะโดนฟ้องในเรื่องของการที่เพลงเราไปเหมือนกับเพลงคนอื่น หรือเราไป copy เพลงคนอื่นมาทำ

มันมีกำหนดกฎเกณท์กันว่ายังไงบ้างครับ เกี่ยวกับโน๊ตต้องเหมือนกันได้แค่กี่ตัวหรือยังไง

พอดีทำเพลงประกอบหนังโฆษณา ลูกค้าอยากได้แบบเพลงเพลงนึงที่กำลังดัง โดยใช้แนวทางของเมโลดี้เพลงนั้นในการวางเนื้อเพลง แต่ดนตรีไม่เหมือน แล้วพอจับเนื้อที่เค้าเขียนไว้ให้ว่าต้องมีอะไรในเนื้อเพลง ทำออกมาจริงๆร้องออกมาจริงๆก็ไม่เหมือนมากแล้วด้วยวิธีร้องที่จะร้องเป็นลักษณะกึ่งร?้องกึ่งพูดเพราะถ้าร้องตามเมโลดี้เค้ามันจะโกงโน๊ตสุดๆฟังไม่เป็นภาษาไทย ส่วนตัวผมกับทีมงานก็ฟังแล้วว่าไม่น่าจะมีปัญหาเพราะมันเหมือนฟังรู้ว่าเจตนาเอามาจา?กเพลงอะไร แต่โน๊ตและส่วนร้องน่าจะแค่ 50-50

แต่ลูกค้าก็ห่วงเรื่องของลิขสิทธิ์ ซึ่งเค้าอยากทราบรายละเอียดที่สามารถทำให้เค้าสบายใจได้

โน๊ตในทำนอง เหมือนต้นฉบับ ติดต่อกันได้ ไม่เกิน 7 ตัวครับ
ตัวที่8 ต้องบิดเป็นโน๊ตอื่นไม่ให้เหมือนต้นฉบับ
///////////////////
คำว่า “จดลิขสิทธิ์” (ลิขสิทธิ์ = copyright) เนี่ย ไ่ม่ต้องไปจดครับ งานเพลง งานวรรณกรรม ทุกชิ้นเมื่อสร้างขึ้นมา ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

เมื่อเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น เจ้าของลิขสิทธิ์ไปได้ยินเพลงที่ซ้ำกับเพลงตัวเอง หรือเหมือนกันในสาระสำคัญจนมองได้ว่าเป็นการลอกเลียนแบบ เจ้าของลิขสิทธิ์ถึงจะเริ่มไปดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ กล่าวโทษว่าอีกฝ่ายละเมิดลิขสิทธิ์เพลงตัวเอง คราวนี้ศาลก็จะให้ต่างฝ่ายเสนอหลักฐานมาพิสูจน์ ว่าสรุปแล้วนี่เป็นการลอกเลียนแบบหรือเปล่า

หรือถ้าเป็นลักษณะละเมิดลิขสิืทธิ์โดยการเอาเพลงของคุณไปปั๊มซีดีขายโดยที่คุณไม่ได้? “ให้สิทธิ์” กับเขาในการนำไปทำซ้ำและเผยแพร่ อันนี้ก็พิสูจน์ง่ายหน่อย คือคนที่ปั๊มซีดี ก็จะไม่มีหนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าเขาได้รับอนุญาตจากตัวเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ อันนี้ก็ว่ากันไป

เพราะฉะนั้นถ้าเพลงมีเนื้อเพลงอยู่แค่นั้น เสียงดนตรีส่วนใหญ่ unpitched แล้วถูกลอกเลียน idea ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะพิสูจน์ยังไงให้ศาลเชื่อว่าเพลงอีกเพลงหนึ่ง “เหมือนกันในสาระสำคัญ” กับเพลงของคุณ ซึ่งอาจจะยากง่าย หรือควรพิสูจน์ในประเด็นไหนศาลถึงจะเห็นว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือ อันนี้ก็สุดแท้แต่จะคิดครับ

เฉพาะ “สิทธิบัตร” (patent) เท่านั้นครับที่ต้องไปจด … สิทธิบัตรใช้กับ “สิ่งประดิษฐ์” หรือ “ผลงานการออกแบบของที่เป็นชิ้นๆ” (สิทธิบัตรการออกแบบ) สำหรับเพลง วรรณกรรม ซอฟต์แวร์ (ซอฟต์แวร์ถือเป็นวรรณกรรมอย่างหนึ่ง) ไม่ถือเป็นสิทธิบัตรครับ

///////

ส่วนที่ไปจดๆลิขสิทธิ์กันที่กรม
เป็นแค่การลงทะเบียนว่างานชิ้นนั้นๆ จะติดต่อขอซื้อ-เช่าลิขสิทธิ์ได้กับเรา ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ต้องการติดต่อกับเรา
ไม่ใช่การบอกว่า เรา เ็ป็นเจ้าของนะ

///////

ไม่ใช่หนังสือแสดงว่าเราเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
แต่ถ้าใครต้องการใช้งานชิ้นนี้
เค้าจะมาติดต่อขอใช้ กับเราครับ เพราะมีที่ติดต่อกับเราในฐานข้อมูลของกรมฯ

สมมุติว่า พี่ต้อ ป๋า อีฉัตร แต่ละคนทำเพลงไว้
เจ้าของลิขสิทธิ์คือคนทำแต่ละคน
แต่ไม่ค่อยมีเวลา พี่ต้อติดงาน ป๋าติดเด็ก อีฉัตรติดผู้ชาย
ผมก็อาสา จัดการลิขสิทธิ์ให้ แลกค่าตอบแทนเล็กๆน้อยๆ ซึ่งทุกคนก็โอเค
ทำเอกสาร ทำสัญญากันไว้
ผมก็ถือหนังสือมอบอำนาจไปจดแจ้งกับกรมฯ เป็นชื่อผม ที่อยู่ผม

คราวนี้ใครจะใช้เพลงไม่บังเอิญ ของพี่ต้อ เพลงพบไม้งามยามขวานบิ่น ของป๋า เพลงคนข้างหลัง ของอีฉัตร
ก็จะมาติดต่อขอซื้อ ขอเช่ากับผม
พอได้ตังค์มา ถ้าผมไม่อม ก็จะแบ่งให้เจ้าของเพลงตามสัดส่วน

ต่อมาป๋าแกจับได้ว่า ผมไปกิ๊กกับเด็กแก แกโมโห ก็เลยยกเลิกสัญญากับผม
เอาเพลงของแกไปดูแลเอง ผมก็ไม่ทำอะไร ไม่ไปแจ้งกรมฯ ก็ไม่ผิดกฎหมาย

ทีนี้มีคนจะใช้เพลงของป๋า ก็ยังมาติดต่อผมเหมือนเดิม (เพราะข้อมูลไม่เปลี่ยน)
ผมก็บอกเค้าว่า ผมไม่ได้ทำให้ป๋าแล้ว และติดต่อป๋าไม่ได้ ก็แค่นั้น
เอาผิดผมไม่ได้

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
การแจ้งข้อมูลกับกรมฯ ช่วยอำนวยความสะดวก ในการขาย-เช่างานของเรา
แต่ไม่ทำก็ได้ไม่ผิด
เปลี่ยนมือคนดูแลได้ ข้อมูลไม่ทันสมัยก็ได้ ไม่ผิด
แต่เราจะเสียโอกาส

ย้ำอีกครั้ง คนถือหนังสือการรับแจ้งข้อมูล อาจจะไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์

ถ้าไม่เชื่อ ไปถามกรมฯเอาเองได้เลย

=======

ที่ผมเคยทราบมา อย่างที่เมืองไทย กฎหมายลิขสิทธิ์ยังไม่ครอบคลุมถึง “ความคิด” จริง ๆ

เหมือนพิมพ์เขียว(แบบก่อสร้าง) ก็จะได้รับการคุ้มครองเฉพาะตัว “กระดาษ” (ไข หรือ
พิมพ์เขียว)ว่า…ห้ามก๊อปปี้นะ แต่แนวความคิดที่อยู่ข้างหลังพิมพ์เขียวอันนั้นยังคุ้มครอง
ไม่ได้

พวกหนังสือเพลงเค้ามีหนังสือสัญญาตกลงกันกับค่ายเทปครับ

เป็นข้อตกลงแบบ win-win ครับ
ค่ายเทปจะไม่เอาค่าลิขสิทธิ์จากการพิมพ์หนังสือคอร์ดครับ แต่เค้าจะทำเป็นรายๆ ไปนะครับ
อย่างของพวก the guitar นี่ผมเห็นเค้ามีสัญญาทุกอย่างเรียบร้อยครับ

ตอบคุณ palawat
ถ้ามองในแง่ผมเป็นศิลปินและเจ้าของค่ายเทป…
ผมว่าส่วนนี้ไม่ได้ทำให้ผมเสียหาย…ผมไม่สนใจหรอกครับ
แล้วถ้ามานั่งเก็บสตังค์ตรงนี้…ผมว่าไม่คุ้มค่าจัดการเท่าไรแล้วก็ไม่เหมาะกับสังคมไทยหรอกครับ
ถ้าผมเป็นศิลปิน มีคนมาแกะเพลงผมเล่น ผมจะดีใจซะมากกว่าครับ…

ยกเว้น….
ถ้าในอนาคตเกิดมีการทำโน้ตแบบ official ออกมา จากตัวค่าย หรือจากตัวศิลปินเองโดยตรงแบบพวกฝรั่งมันทำกัน
กรณีนั้นสิ ถึงอาจจะมีปัญหา…คือถ้าเราไปทำทับไลน์กับเค้า…เค้าก็จะเสียผลประโยชน์
ยังงี้อาจจะมีปัญหาได้ แต่ผมว่าค่ายเทปยังไม่มองตลาดตรงนี้หรอกครับ ยิ่งถ้าเราแกะเอง สอนเอง
ไม่ได้เอาไปขายอะไร มันจะเป็นอะไรไปครับ
สมมุติว่าเราดันไปทำขาย แล้วขายดิบขายดีรำรวยขึ้นมา..อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่งครับ

http://webboard.mthai.com/5/2008-02-18/369958.html